ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ณัฐสิมา ปาทาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้สัมผัสร่วมบ้าน, วัณโรค, การตรวจคัดกรอง

บทคัดย่อ

วัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากการมารับการตรวจคัดกรองวัณโรคอยู่ในระดับต่ำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค และเพื่อศึกษาความชุกการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content Validity) มีค่าดัชนีความเหมาะสม (IOC: item objective congruence) เท่ากับ 0.97 เก็บข้อมูลผู้สัมผัสวัณโรคร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียน Tuberculosis Case Management (TBCM Online) ในช่วงที่ศึกษา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 163 คน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds ratio (AOR), ค่า 95% Confidence interval (95% CI) และค่า p-value

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ ในสมการสุดท้าย คือ จำนวนบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน 4-6 คน (AOR=2.92, 95% CI= 1.03-8.32, p-value=0.044) วิธีการเดินทางมารับบริการโดยรถโดยสารสาธารณะ (AOR=4.56, 95% CI=1.90-10.94, p-value=0.001) การไม่เคยได้รับสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันวัณโรค (AOR= 3.97, 95% CI=1.79-8.78, p-value=0.001) ความชุกการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 73.0 (95% CI=66.12-79.90)

ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการมาตรวจคัดกรองวัณโรคโดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคที่มีสมาชิกอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันมากกว่า 4 คน ต้องมีการติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงแบบเชิงรุกในชุมชน เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมารับบริการโดยสารรถสาธารณะมีความสะดวกในการมารับบริการตรวจคัดกรอง และโรงพยาบาลควรมีการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันวัณโรคให้ทั้งผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่นในขณะเข้ารับบริการและการใช้ชีวิตประจำวัน

 

 

 

 

References

คลินิกโรคทางเดินหายใจโรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานจำนวนผู้ป่วยวัณโรค, 2562
ธีระพงษ์ จ่าพุลี. พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาตตร์]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
ปิยวรรณ สิงห์คำป้อง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้านทิอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคปอดจังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการระบาด]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
พวงรัตน์ กมุทมาศ. ปัจจัยที่มีผลต่อการมาตรวจคัดกรองวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผผู้ป่วยวัณโรคที่มารับการรักษา ณ สถานตรวจโรคปอดกรุงเทพมหานคร. วารสารสำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต1 2541; 2(2): 115-123.
รณยศ สุวรรณกัญญา,พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากผู้ป่วยในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6(3): 66-74
สุทธินี สิทธิหล่อ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าของผู้ป่วยในการรักษาวัณโรคปอดสมหะพบเชื้อรายใหม่จังหวัดแพร่. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 8(2): 10-19
สมพร ขามรัตน์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2558; 22(1): 22-32
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
Gebregergs GB, Alemu WG. Household contact screning adherence among tuberculosis patients in Northern Ethiopia. PLOS ONE 2015; 10(5): 1-8.
Hsieh FY.Sample size tables for logistic regression, Statistics in Medicine, 8, 795802;1989.
Japulee T. Attempts to Prevent Tuberculosis Infection by Household Contacts having a Pulmonary
Tuberculosis Patients in their Family – A Study Undertaken at the Chumpholburi District, Surin
Province. Roi Et, Kalasin, Mahasarakham Hospital Medical Journal 2010; 17(1): 68-77. (in thai)
Khalilzadeh S, Masjedi H, Boloursaz MR, Zahirifard S, Velayati A. Prevalence of Tuberculosis in Close Contacts Smear Positive TB Patients. Tanaffos 2006; 5(1): 59-63.
Lienhardt C, Sillah J, Fielding K, Donkor S, Manneh K, Warndorff D, et al. Risk Factors for Tuberculosis Infection in Sub-Saharan Africa, West Africa. Am J Respir Crit Care Med 2003;168: 448-455.
Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the Health Belief Model. Health Education Quarterly 1988; 15(2), 175-183.
Tornee S, Kaewkungwal J, Fungladda W, Silachamroon U, Akarasewl P, Sunakorn P. Factors associated with the household contact screening adherence of Tuberculosis patients. SOUTHEAST ASIAN J TROP MED PUBLIC HEALTH 2005; 36(2): 331-340.
Tornee S, Kaewkungwal J, Fungladda W, Silachamroon U, Akarasewl P, Sunakorn P. Risk factors for tuberculosis
infection among household contacts in Bangkok, Thailand. SOUTHEAST ASIAN J TROP MED PUBLIC HEALTH 2004; 36(2): 375-383.
World Health Organization. Global Tuberculosis Report 2017. Geneva,Switzerland: Geneva: WHO; 2017

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-25