ผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยประยุกต์แนวคิดความรอบรู้กิจกรรมทางกาย คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิมล ปักกุนนัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย, ความรอบรู้กิจกรรมทางกาย,, สมรรถภาพทางกาย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประชากรโลกกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทั้งนี้เนื่องจากว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ของประชากรโลกทั้งหมด ผลตามมาปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ฯลฯ สาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่มาจากผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่ในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอหรือขาดการออกกำลังกาย  อย่างไรก็ดีประเทศไทยก็พบว่าผู้สูงอายุออกกำลังกายเป็นประจำเพียงร้อยละ 33.90 จึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายมากขึ้น การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยประยุกต์แนวคิดความรอบรู้กิจกรรมทางกาย ระยะดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 และ ศูนย์แพทย์ชาตะผดุง อายุระหว่าง 60-69 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 และกลุ่มเปรียบเทียบผู้สูงอายุที่มารับบริการที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์แพทย์ชาตะผดุง กลุ่มละ 30 คน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ 2) การฝึกปฏิบัติการทำกิจกรรมทางกาย 3) การอภิปรายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 4) การสนับสนุนอุปกรณ์ออกกำลังกาย (รองเท้ายางยืด ขวดทราย ไม้ยืดเหยียด ฯลฯ) การรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มใช้สถิติ Paired t-test และ ระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ การมีกิจกรรมทางกาย มากกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) การทดสอบสมรรถภาพทางกาย สูงกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2562, จาก http://www.dop.go.th/th/know/1

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและการนอนหลับ. กรุงเทพฯ: เอ็นซีคอนเซ็ปต์.

กัลยาพร เติมนาค, สุปรียา ตันสกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี, & ณภัทร พานิขการ.(2560). ผลของการใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับการบริหารร่างกายแบบฤๅษีดัดตนในกลุ่มปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนเรื้อรัง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขศึกษา, 40(1), 131-146.

จิรวุฒิ กุจะพันธ, & พัชราวรรณ จันทรเพชร. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกําลังกายดวยกะลายางยืดตอการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของผูสูงอายุ อําเภอโพธิ์ชัย จังหวัดรอยเอ็ด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(3), 119-131.

จิราภรณ์นกแก้ว, ทิพมาส ชิณวงศ์, & เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2560). ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการฝึกโยคะ ต่อดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน. วารสารพยาบาล

สงขลานครินทร์, 37(1), 10-23.

ชนกนันท์ รักษาสนธิ์, มณฑา เก่งการพานิช, ศรัณญา เบญจกุล, & ธราดล เก่งการพานิช. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารสุขศึกษา, 43(1), 130-142.

ทิพรัตน์ ล้อมแพน, & หทัยรัตน์ ราชนาวี. (2560). ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกายด้วยยางยืดในผู้สูอายุ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 148-167.

นริศรา อารีรักษ์, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, & นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์.(2558). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานต่อภาวะสุขภาพ สมรรถภาพทางกาย และความคาดหวังความสามารถตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 66-73.

พรชัย จูลเมตต์, อวยพร ตั้งธงชัย, & นฤมล ปทุมารักษ์. (2018). ผลของการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกกำลังกายด้วยยางยืด และตารางเก้าช่องต่อสมรรถภาพทางกายที่ เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และความผาสุกของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(3), 202-216.

ภัคจุฑานันท์ สมมุ่ง, ศศิธร สกุลกิม, เนตรดาว จิตโสภากุล, จุฑารัตน์ พิมสาร, & อรวรรณ เจริญผล. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกากายด้วยตนเองที่บ้านต่อพฤติกรรมการออกกาลังกายและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตาบลขุนพัดเพ็ง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสุขศึกษา, 42(1), 43-54.

มนทกานต์ ยอดราช, และ ทัศนา ชูวรธนะปกรณ์. (2014). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมคว.ามพร้อม ร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความรู้ และความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(3), 63-75.

มยุรา สร้อยชื่อ, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, & ธราดล เก่งการพานิช. (2560). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแกว่งแขนโดยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุระดับต้นในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(2), 73-83.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2557). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2556. นนทบุรี: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ลภัสรดา ศิริดำรงชัย, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, & กรวรรณ ยอดไม้. (2561). โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 48(2), 161-173.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สมพงษ์ โมราฤทธิ์, กัญจนา เทพา, วิทยา บุญยศ, & เพ็ญประภา ศิวิโรจน์. (2018). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพทางกายต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในภาวะก่อนเปราะบาง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 25(3), 95-108.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กลุ่มโรค NCDs. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/ microsite/categories/5/ncds/2/173/176

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2562). พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2562, จาก http://www.kkpho.go.th/i/

สำนักงานสำรวจสขุภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสขุ. (2559). รายงานการสำรวจสขุภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครงั้ที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สุกฤษฏิ์ ใจจำนงค์, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, & ภรณี วัฒนสมบูรณ์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการใช้รถนั่งคนพิการของผู้ได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 1123-1135.

สุธิศา บุญรัตน, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เกงการพานิช, & ธราดล เกงการพานิช. (2561). ผลของโปรแกรมสงเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยประยุกตใชทฤษฎีแบบแผนความเชื่อดานสุขภาพรวมกับแรงสนับสนุนทางสังคมของโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลบึงบอน อําเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี.วารสารสุขศึกษา, 40(1), 131-146.

อมรรัตน์ เนียมสวรรค์, นงนุช โอบะ, & สมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล. (2555). ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคโดยใช้ดนตรีโปงลางต่อ สมรรถภาพทางกาย และระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 6(2), 62-75.

อัจฉรา ปุราคม. (2558). การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ. นครปฐม: เพชรเกษม พริ้นติ้งกรุ้ป.

Bandura, A. (1977). Self-Efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Pshychological Review, 84, 191-215.

Campelo, A. M., & Katz, L. (2020). Older adults’ perceptions of the usefulness of technologies for engaging in physical activity: Using focus groups to explore physical literacy. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(4), e1144.

Dale, E. (1969). Audio-visual methods in teaching (3rd ed.). New York: Holt, Rinehart & Winston.

Ellerton, H. (2019). What is physical literacy and why is it important for children today? Retrieved January 15, 2019, from https://humankinetics.me/2018/06/27/what-is-physical-literacy/

International Physical Literacy Association. (2015). Canada’s Physical Literacy Consensus Statement. Retrieved January 15, 2019, from http://physicalliteracy.ca/

Jones, G. R., Stathokostas, L., Young, B. W., Wister, A. V., Chau, S., Clark, P., et al. (2018). Development of a physical literacy model for older adults: A consensus process by the collaborative working group on physical literacy for older Canadians. BMC geriatrics, 18(1), 13.

Liao, C. D., Tsauo, J. Y., Lin, L. F., Huang, S. W., Ku, J. W., Chou, L. C., et al. (2017). Effects of elastic resistance exercise on body composition and physical capacity in older women with sarcopenic obesity: A CONSORT-compliant prospective randomized controlled trial. Medicine, 96(23), e7115.

World Health Organization. (2009). Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. Paper presented at 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development} Nairobi, Kenya.

World Health Organization. (2010). Global Recommendations on Physical Activity for Health. Geneva: World Health Organization.

Yamamoto, S., Hotta, K., Ota, E., Mori, R., & Matsunaga, A. (2016). Effects of resistance training on muscle strength, exercise capacity, and mobility in middle-aged and elderly patients with coronary artery disease: A meta-analysis. Journal of Cardiology, 68(2), 125-134.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-26