การตรวจน้ำตาลด้วยตนเองต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในกำลังพลทหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 แบบไม่พึ่งพาอินซูลิน โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สมศุภางค์ ชัยปริญญา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ภัทระ แสนไชยสุริยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลลิตภัทร ดีรักษา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง, ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, กำลังพลทหาร

บทคัดย่อ

เบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมาก ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง ต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ในกำลังพลทหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 แบบไม่พึ่งอินซูลิน ที่รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 24 คน เก็บข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ โดยใช้แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) และ HbA1c จากแฟ้มประวัติผู้ป่วย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานปกติ ระยะเวลาทดลอง 24 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย HbA1c และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม ด้วยสถิติ Student's t-tests กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย HbA1c ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพ หลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมบริโภคอาหาร สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และสูงว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) และความดันโลหิตซิสโทลิก ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 แบบไม่พึ่งพาอินซูลิน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแล และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มนี้ ได้อย่างเหมาะสม

References

กรมสุขภาพจิต. (2557). แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด (พิมพ์ครั้งที่ 3). อุบลราชธานี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กัญจน์ณัฏฐ์ เจริญชัย. (2560). ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักบริบาลผู้ป่วยเบาหวาน DM Excellence Care Giver จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 5(1), 133-151.

ฉลอง อภิวงค์. (2554). พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, สมจิตต์วงศ์ สุวรรณศิริ, ธีรพร สถิรอังกูร & ศิริมา ลีละวงศ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานควบคุมไม่ได้. วารสารกองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2(1), 141-158.

พรพิมล อุลิตผล. (2558). การใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้กรอบแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฎีการรับรู้ความสามารถในตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(3), 441-452.

วรนัน คล้ายหงษ์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, & วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(1), 65-75.

วัชฎา เพ็ญศรีสิริกุล. (2555). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรัณยา เพิ่มศิลป์, & รุจิรา ดวงสงค์. (2554). ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข., 11(4), 89-100.

สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, เฮนอค นีกาส, ยุพิน ดรชัย, & เพชร รอดอารีย์. (2556). ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้และไม่ใช้การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในชุมชนชนบท. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(3), 126-137.

แสงอรุณ สุรวงศ์, & ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2560). ผลของการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(1), 104-116.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2548). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Aekplakorn, W., Chariyalertsak, S., Kessomboon, P., Assanangkornchai, S., Taneepanichskul, S., & Putwatana, P. (2018). Prevalence of Diabetes and Relationship with Socioeconomic Status in the Thai Population: National Health Examination Survey, 2004-2014. Journal of Diabetes Research, (1), 1-8.

American Diabetes Association Diabetes Care. (2018). Classification and diagnosis of diabetes: Standards of medical care in diabetes-2018. Diabetes Care, 41(1), 13-27.

Azuamah, Y. C., Imaseun, A. F., Onoseta, O. H., & Onuoha, P. C. (2013). A review of siociological factor associated with diabetes mellitus. The International Journal of Social Sciences, 11(1), 131-137.

Barnett, A. H., Kreniz, A. J., Strojek, K., Sieradzki, J., Azizi, F., Embong, M., et al. (2008). The efficacy of self-moniroring of blood glucose in the management of patients with type 2 diabetes treated with a gliclazide modified release-based regimen: A multicentre, randomized, parallel-group, 6-month evaluation (DINAMIC 1 study). Diabetes Obesity and Metabolism, 10(12), 1239-1247.

Brown, J. B., & Nichols, G. A. (2003). Slow response to loss of glycemic control in type 2 diabetes mellitus. The American Journal of Managed Care, 9(3), 213–217.

Franciosi, M., Lucisano, G., Pellegrini, F., Cantarello, A., Consoli, A., Cuccot, L., et al. (2011). ROSES: role of self-monitoring of blood glucose and intensive education in patients with type 2 diabetes not receiving insulin: A pilot randomized clinical trial. Diabetic Medicine, 28(7), 789-796.

Guerci, B., Drouin, P., Grange, V., Bougneres, P., Fontaine, P., Kertan, V., et al. (2003). Self -monitoring of blood glucose signuficantly improves metabolic control in patients with type 2 diabetes mellitus: The Auto-Surveillance Intervention Active (ASIA) study. Diabetes & Metabolism, 29(6), 587-594.

He, J., Whelton, P. K., Appel, L. J., Charleston, J., & Klag, M. J. (2000). Long-term effects of weight loss and dietary sodium reduction on incidence of hypertension. Hypertension, 35(2), 544-549.

International Diabetes Federation. (2016).Diabetes and cardiovascular disease. Brussels: International Diabetes Federation.

Julienne, K., & Jane, S. (2010). Self-Monitoring of Blood Glucose : Practical Aspects. Journal of Diabetes Science and Technology from basic science to clinical practice, 4(2), 435-439.

Martin, S., Schneider, B., Heinemann, L., Lodwig, V., Kurth, H. J., Kolb, H., et al. (2006). Self-monitoring of blood glucose in type 2 diabetes and long-term outcome: an epidemiological cohort study. Diabetologia, 49(2), 271–278.

Muchmore, D. B., Springer, J., & Miller, M. (1994). Self-monitoring of blood glucose in overweight type 2 diabetic patients. Acta diabetologica, 31(4), 215–219.

Person, S. N., Luzio, S. D., Havey, J. N., Bain, S. C., Cheung, W. Y., Watkins, A., et al. (2019). Effect of structured self-monitoring of blood glucose, with and without additional telecare support, on overall glycemic control in non-insulin treated type 2 diabetes: the SMBG study, a 12-month randomized controlled trial. Diabetic Medicine, 36(5), 578-590.

Sacks, F. M., Svetkey, L. P., Vollmer, W. M., Appel, L. J., Bray, G. A., Harsha, D., et al. (2001). Effects on blood pressure of reduced dietary sodium and the Dietary Approaches to Stop Hypertension (DASH) diet. DASH-Sodium Collaborative Research Group. The New England Journal of Medicine, 344(1), 3-10.

Schwedes, U., Siebolds, M.m & Mertes, G. (2002). Meal-related structured self-monitoring of blood glucose: effect on diabetes control in non-insulin-treated type 2 diabetic patients. Diabetes Care, 25(11), 1928-1932.

Stratton, I. M., Adler, A. I., Neil, H. A., Matthews, D. R., Manley, S. E., Cull, C. A., et al. (2000). Association of glycaemia with macrovascular and microvascular complications of type 2 diabetes (UKPDS 35): A prospective observational study. British Medical Journal, 321(7258), 405–412.

Strowig S. M., & Raskin P. (1998). Improved glycemic control in intensively treated type1 diabetic patients using blood glucose meters with storage capability and computer-assisted analyses. Diabetes Care, 21, 1694–1698.

World Health Organization [WHO]. (2016). Global report on diabetes. Geneva: WHO.

Zhang, Y., Hu, G., Yuan, Z., & Chen, L. (2012). Glycosylated hemoglobin in relationship to cardiovascular outcomes and death in patients with type 2 diabetes: a systematic review and meta-analysis. PLoS One, 7(8), E42551.

Ziegler, O., Kolopp, M., Got, I., Genton, P., Debry, G., & Drouin, P. (1989). Reliability of self-monitoring of blood glucose by CSII-treated patients with type 1 diabetes. Diabetes Care, 12(3), 184–188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-18