ประสิทธิผลของมูลวัวแห้งต่อการย่อยสลายขยะใบไม้ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิภาดา ฝากสระ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ฤทธิรงค์ จังโกฎิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การย่อยสลาย, มูลวัวแห้ง, ใบสัก, ใบหูกวาง, ใบยางนา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของมูลวัวแห้งต่อการย่อยสลายขยะใบไม้ โดยศึกษาการย่อยสลายขยะใบไม้ในชุดทดลองที่มีชนิดใบไม้ รูปแบบการใช้มูลวัวแห้ง และอัตราส่วนมูลวัวแห้งต่อขยะใบไม้ที่แตกต่างกัน และศึกษาปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมหลังจากการย่อยเสร็จสมบูรณ์ โดยชนิดของขยะใบไม้ที่ศึกษามี 2 แบบ คือ แบบใบสักชนิดเดียว และแบบผสมใบสัก ใบหูกวางและใบยางนารูปแบบการใช้มูลวัวแห้ง มี 2 รูปแบบ คือ แบบโรยและแบบคลุกเคล้า อัตราส่วนมูลวัวแห้งต่อขยะใบไม้ศึกษา 3 อัตราส่วน คือ 1:1, 1:2 และ 1:3 โดยน้ำหนัก ทำการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม 2562

ผลการศึกษาพบว่า ทุกชุดทดลองที่ใช้มูลวัวแห้งแบบโรยใช้ระยะเวลาการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์ ที่ 50 วัน และทุกชุดทดลองที่ใช้มูลวัวแห้งแบบคลุกเคล้าใช้ระยะเวลาการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์ที่ 49 วัน หลังการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์ปริมาตรชุดทดลองลดลงอยู่ระหว่างร้อยละ 12.21 ถึง 27.21 ผลการศึกษาอัตราส่วนมูลวัวแห้งต่อขยะใบไม้โดยน้ำหนัก ที่อัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 พบว่า ชุดทดลองแบบผสมใบสัก ใบหูกวาง และใบยางนาที่ใช้มูลวัวแห้งแบบโรยในอัตราส่วน 1:3 มีค่าไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงที่สุด คือ ร้อยละ 1.62±0.09 และร้อยละ 0.48±0.07 ตามลำดับ ส่วนชุดทดลองใบสักชนิดเดียวที่ใช้มูลวัวแห้งแบบคลุกเคล้าในอัตราส่วน 1:1 มีค่าโพแทสเซียมสูงที่สุด คือ ร้อยละ 1.59±0.14 โดยทุกชุดการทดลองมีปริมาณไนโตรเจนและโพแทสเซียมสูงกว่าค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตรแต่มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำกว่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ในทุกชุดการทดลอง

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2560. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก http://www.pcd.go.th/file/AW-Pollution-Report 2017.pdf

คณิตา ชะอุ่ม. (2558). การบริหารโครงการธนาคารกิ่งไม้ใบไม้เพื่อชุมชนแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร. (2558). การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2559). ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561, จาก https://www.kku.ac.th/aboutkku/?l=th&topic=0

ลดาวัลย์ วัฒนะจีระ, ครรชิต เงินคำคง, ศุภชัย อยู่ดี, & สุกานดา เสนาะนิติ. (2546). การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้แห้งและขยะอินทรีย์ ด้วยวิธีหมักแบบใช้ออกซิเจน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 71-76.

วัฒนณรงค์ มากพันธ์, เกษมสันติ์ คำบุญมา, & ปิยะ ขวดแก้ว. (2560). ปริมาณธาตุอาหารของปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ จากขยะอินทรีย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(2), 20-28.

Khalib, S. N. B., Zakarya, I. A., & Izhar, T. N. T. (2018). Composting of garden waste using Indigenous Microorganisms (IMO) as organic additive. International Journal of Integrated Engineering, 10(9), 140–145.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ