ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, Application Line, การใช้ YouTube

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังซึงนำไปสู่ การตาบอด ไตวาย หัวใจวาย โรคหลอดสมอง และทำให้ชีวิตในที่สุด ดังนั้นการป้องกันโรคเบาหวานจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานควรมีการป้องกันอย่างเร่งด่วนเพราะพวกเขามีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่ากลุ่มอื่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนอุดม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร อายุ ระหว่าง 35-59 ปี จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน โดยกลุ่มทดลองอยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ กลุ่มเปรียบเทียบอยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนอุดม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานจากผู้วิจัย ประกอบ ด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การใช้ YouTube การใช้ Application line การพัฒนาทักษะการตัดสินใจ การร่วมกันวางแผนการลดระดับน้ำตาลในเลือด การสาธิตอาหารป้องกันโรคเบาหวาน และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย กลุ่มเปรียบเทียบได้รับกิจกรรมจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนอุดม ระยะเวลาจัดกิจกรรม 12 สัปดาห์ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงสถิติพรรณนา และทดสอบความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มด้วย Independent t-test และภายในกลุ่ม ด้วย Paired-t test โดย กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การจัดการตนเอง และ พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ข้อเสนอแนะ ควรนำการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพไปพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังอื่นๆ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง และเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560 จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source= formated/screen_risk.php&cat

ขนิษฐา พิศฉลาด, & ภาวดี วิมลพันธุ์. (2560). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงระยะก่อนเบาหวานในชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 47-59.

พรวิจิตร ปานนาค, สุทธีพร มูลศาสตร์, & เชษฐา แก้วพรม. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลศาสตร์, 24(3), 91-106.

วีณา เที่ยงธรรม. (2554). โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(2), 149-161.

สุภาพ พุทธปัญโญ, นิจฉรา ทูลธรรม, & นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพ พฤติกรรมการลดน้ำหนัก ที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(4), 42-59.

Block, G., Azar, K. M., Romanelli, R. J., Block, T. J., Hopkins, D., Carpenter, H. A., et al. (2015). Diabetes Prevention and Weight Loss with a Fully Automated Behavioral Intervention by Email, Web, and Mobile Phone: A Randomized Controlled Trial Among Persons with Prediabetes. Journal of Medical Internet Research, 17(10), e240.

Fitzpatrick, S. L., Golden, S. H., Stewart, K., Sutherland, J., DeGross, S., Brown, T., et al. (2016). Effect of DECIDE (Decision-making Education for Choices In Diabetes Everyday) program delivery modalities on clinical and behavioral outcomes in Urban African Americans with type 2 diabetes: A randomized trial. Diabetes Care, 39(12), 2149–2157.

Islam, N. S., Zanowiak, J. M., Wyatt, L. C., Kavathe, R., Singh, H., Kwon, S. C., et al. (2014). Diabetes prevention in the New York City Sikh Asian Indian community: A pilot study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 11(5), 5462–5486.

Masters, K. (2013). Edgar Dale’s Pyramid of Learning in medical education: A literature review. Medical Teacher, 35(11), e1584-1593.

Office of Disease Prevention and Health Promotion [ODPHP]. (2020). Health literacy. Retrieved January 16, 2020, from https://health.gov/our-work/health-literacy

Soensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., et al. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12 (1), 80.

World Health Organization [WHO]. (2013). Health literacy: The solid facts. Retrieved January 16, 2018, from http://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0008/190655/e96854.pdf

World Health Organization [WHO]. (2017). Diabetes mellitus. Retrieved August 16, 2019, from https://www.who.int/ health-topics/diabetes#tab=tab_1

World Health Organization [WHO]. (2018). Diabetes: WHO updates fact sheet on Diabetes. Retrieved August 16, 2019, from https://www.who.int/news-room/events/world-diabetes-day/2017

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15