พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ภัสราภรณ์ ทองภูธรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวลี โล่วิรกรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้, ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ที่รับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อายุระหว่าง 30-60 ปี และมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 130 mg/dL
3 ครั้ง จำนวน 163 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา แสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้วยสถิติการถดถอยลอจิสติก (Logistic regression)

ผลการศึกษา ข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคลและสภาวะสุขภาพ ที่เป็นปัจจัยนำ พบว่า เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.5 อายุเฉลี่ย เท่ากับ 53.4 ปี (S.D.=7.2) ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เฉลี่ย เท่ากับ 8.4 ปี (S.D.=5.7) มีประวัติครอบครัวมีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 73.6 โดยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เป็นแม่ มีโรคแทรกซ้อน คือ โรคความดันโลหิตสูง ด้านภาวะโภชนาการ โดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) พบว่าเพศหญิงมีภาวะอ้วน ระดับ 1 ร้อยละ 40 และเพศชายมีภาวะอ้วนระดับ 1 ร้อยละ 39.6 และ เมื่อใช้เส้นรอบเอว พบว่า เพศหญิง มีเส้นรอบเอวเกิน ร้อยละ 81.8 เพศชาย ร้อยละ 39.6  ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโรคเบาหวาน พบว่า มีความรู้ในระดับสูง ร้อยละ 75.5 ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารโรคเบาหวาน พบว่า มีทัศนคติระดับดี ร้อยละ 73 พฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย พบว่า ออกกำลังกาย ร้อยละ 52.8 ด้านความเครียด พบว่า ไม่มีภาวะเครียด ด้านการดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
ร้อยละ 74.2 ด้านการใช้ยา พบว่า ส่วนใหญ่รับประทานยาตรงตามแพทย์สั่ง ร้อยละ 95.7 ด้านปัจจัยเอื้อ การให้บริการสุขภาพ ได้แก่ การตรวจรักษา การให้คำปรึกษา พบว่า มีระดับความพึงพอใจในระดับสูง ร้อยละ 67.5 ด้านปัจจัยเสริม การสนับสนุนทางสังคม ได้แก่ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาลกุดจับ ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า มีระดับความพึงพอใจในระดับสูง ร้อยละ 53.4 พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า บริโภคอาหารครบ 3 มื้อ ปริมาณที่บริโภคมากที่สุด คือ มื้อเช้า และมื้อเย็น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ โดยเพศชาย มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงมากกว่าเพศหญิง 3.69 เท่า (ORAdj=3.69, 95% CI=1.15-13.59) การปฏิบัติตัวเมื่อทราบระดับน้ำตาลในเลือด โดยกลุ่มที่รับประทานอาหารตามปกติก่อนมาพบแพทย์ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงกว่ากลุ่มที่ควบคุมอาหารเพิ่มขึ้น 8.03 เท่า (ORAdj=8.03, 95% CI 2.10–30.71) การออกกำลังกาย โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกาย 6.1 เท่า (ORAdj=6.1, 95% CI=1.44–25.92)

 

References

กาญจนา บริสุทธิ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เทศบาลเมืองพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 256-268.

ธรรญญพร วิชัย, & มนพัทธ์ อารัมภ์วิโรจน์. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรค เบาหวานในบ้านคำนางรวย ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2561, จาก http://jes.rtu.ac.th/rtunc2017/pdf/ Poster%20Presentation/ Poster%20กลุ่ม%201%20วิทยาศาสตร์สุขภาพ/PHS_153_full.pdf

เนติมา คูนีย์. (2555). แนวทางเวชปฏิบัติ การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

เบญจา มุกตพันธุ์, สุวลี โล่วิรกรณ์, พิษณุ อุตตมะเวทิน, & รพีพร ภาโนมัย. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของบุคคลวัยแรงงานในชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาบ้านโป่งแห้ง ตำบลวังหินลาด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เพรียวพันธุ์ อุสาย, นิรมล เมืองโสม, & ประยรู โกวิทย์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 11-20.

มนรดา แข็งแรง, นันทัชพร เนลสัน, สมจิตร การะสา, & ปิตินัฎ ราชภักดี. (2560). ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2561, จาก http://jes.rtu.ac.th/ rtunc2017/pdf/ Poster%20Presentation/Poster%20กลุ่ม%201%20วิทยาศาสตร์สุขภาพ/PHS_109_full.pdf

มยุรา อินทรบุตร, & เบญจา มุกตพันธุ์. (2557). การรับรู้และการปฏิบัติด้านการควบคุมอาหารของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร, 22(3), 283-290.

รุจิรา สัมมะสุต. (2557). หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด (พิมพ์ครั้งที่ 4). ปราจีนบุรี: สุพัตราการพิมพ์.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, & นิรมล เมืองโสม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 102-109.

วนิดา ราชมี. (2557). ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วนิดา ส่างหญ้านาง, & นิรมล เมืองโสม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 18(1), 116-124.

วาสนา ธรรมวงศา, & เบญจา มุกตพันธุ์. (2556). การบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลมโหสด นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(1), 30-38.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. (2559). บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์.

ศุภลักษณ์ ฮามพิทักษ์. (2554). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรค เบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีและไม่มีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงแทรกซ้อนที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย.

สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ. (2558). สถิติโรคเบาหวาน. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.idf.org/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2560). ข้อมูลระดับจังหวัดตัวชี้วัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มรายงานมาตรฐาน Service plan สาขาโรคไม่ติดต่อ. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.udo.moph.go.th/wasabi3/Home.php

สุปรียา เสียงดัง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 191-204.

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, นิลุบล นันตา, & จุฑามาศ สุขเกษม. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 93-103.

อนงค์ หาญสกุล. (2555). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแก อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา, 15, 243-252.

อนัญญา ประดิษฐปรีชา, & เบญจา มุกตพันธุ์. (2555). ปัจจัยด้านการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชากร อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัย มข., 12(3), 61-69.

อภิญญา บ้านกลาง, & เบญจา มุกตพันธุ์. (2555). ทัศนคติด้านการป้องกันโรคเบาหวานของพนักงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภาวะก่อนเบาหวานในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 18(2), 38-45.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Howard, A. A., Arnsten, J. H., & Gourevitch, M. N. (2004). Effect of alcohol consumption on diabetes mellitus: A systematic review. Annals of Internal Medicine, 140(3), 211–219.

Kendler, W. H. (1963). Basic psychology. New York: Appleton Century-Crofts.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-14

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ