ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ธัญญามาศ ทีงาม คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคพิษสุนัขบ้า, วัคซีน, ยางสีสุราข

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม มีผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 387 คน  โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า เพศหญิง ร้อยละ 54.26 มีอายุ 45-54 ปี ร้อยละ 26.87  มีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 72.87 มีความรู้ระดับดี ร้อยละ 51.16 และมีทัศนคติที่ดี  ร้อยละ 56.33 ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 27.91 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 ได้แก่ การไม่ได้เรียนหนังสือ (OR=9.51, 95% CI: 2.42-37.32,  p-value=0.001) การมีงานทำ  (OR=7.08, 95% CI: 3.09-16.23, p-value=<0.001) การไม่มีสัตว์เลี้ยง (OR=2.14, 95% CI: 1.28-3.55, p-value=0.003) การไม่มีวัคซีนพร้อมให้บริการ(OR=9.24, 95% CI: 2.24-38.08, p-value=0.002) และการมีความรู้ระดับไม่ดี (OR=1.81, 95% CI: 1.10-2.98,p-value=0.019)

จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ามีผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไม่ครบตามเกณฑ์  ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องทำความเข้าใจกับผู้สัมผัสโรคถึงผลกระทบข้อดีข้อเสียของการรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า  ควรจัดระบบการติดตามการรับวัคซีนเพื่อป้องกันการลืมนัดของผู้สัมผัสโรค พัฒนาระบบการบริการให้สะดวกต่อการเข้าถึง เพื่อลดปัญหาการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ และควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ถึงปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อย่างละเอียดในทุกด้าน โดยใช้การมีส่วนร่วมและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเหตุผล เพื่อนำไปพัฒนาการดำเนินงานต่อไป

 

 

References

กรมควบคุมโรค. (2561). DDC WATCH จับตาโรคและภัยสุขภาพ ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 กันยายน 2561. ค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561, จาก http://203.157.15.110/boe/viewnews.php?nid=MU5FV1MwMDM1Ng==&gid=Ng==&title=RERDIFdBVENI

ผาณิต แต่งเกลี้ยง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนไม่ครบตามนัดของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า โรงพยาบาลพรหมคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชปฏิบัติชุมชน

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ลานทิพย์ เหราบัตย์, & ณัฐสา บุญเจริญ. (2559). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนจังหวัดระยอง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี, 7(2), 38-50.

วรรณวิมล สุรินทร์ศักดิ์, กาญจนา อ่ำอินทร์, ประวิทย์ คํานึง, & เอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร. (2559). พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสระแก้ว. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(34), 529-535.

วาสนา ตันติรัตนานนท์. (2551). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรกฤษณ์ รักพานิชย์, & เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของเจ้าของสุนัขในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(2), 529-535.

ศศิวิมล ทองพั้ว, & อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อวัคซีนทางเลือกของผู้ปกครอง การศึกษาโดยการสัมภาษณ์ ณ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 9(2), 37-49.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ความรู้โรคพิษสุนัขบ้า. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบบ่อย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สุดา สีบุญเรือง, & ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร. (2554). การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและการดูแลรักษาผู้ป่วยภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า. ค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561, จาก http://www.saovabha.com/ download/vichargarn_rabies.pdf

สุนัย จันทร์ฉาย. (2561). โรคพิษสุนัขบ้าและสถานการณ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2561, จาก https://tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/download/123248/93701/

หทัยกาญจน์ ยางศรี, สงครามชัย ลีทองดี, & จมาภรณ์ ใจภักดี. (2560). รูปแบบการดำเนินงานและการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน เพื่อให้เป็นเขตพื้นที่ปลอดโรค อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(2), 86-95.

อรพิรุฬห์ สการะเศรณี, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ธีระศักดิ์ ชักนำ, ธนวดี จันทร์เทียน, พรรณนาราย สมิตสุวรรณ, นิรันดร จอหอ, และคณะ. (2560). การสำรวจความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติจากการสอบสวนกรณีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดจันทบุรี ปี 2558. Outbreak, Suveillance and Investigation Reports, 10(3), 1-8.

อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, อภิชัย วรรธนะพิศิษฐ์, & รัตติยา อักษรทอง. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการความจำเป็นในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลจากมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์. นครศรีธรรมราช: ดีชัย.

Akai, K., Chompiku, J., & Rattanapan, C. (2015). Rabies preventive behaviors of dog owners in Nakhon Pathom Province of Thailand. Journal of Public Health and Development, 13(1), 17-28.

Devleesschauwer, B., Aryal, A., Sharma, B. K., Ale, A., Declercq, A., Depraz, S., et al. (2016). Epidemiology, impact and control of rabies in Nepal: A systematic review. PLOS Neglected Tropical Diseases, 10(2), e0004461.

Hosmer, D. W. (2000). Applied Logistic Regression (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Lembo T. (2012). The blueprint for rabies prevention and control: A novel operational toolkit for rabies elimination. PLOS Neglected Tropical Diseases, 6(2), e1388.

Sambo, M., Cleaveland, S., Ferguson, H. M., Sikana, L., Simon, C., Urassa, H., et al. (2014). Knowledge, Attitudes and Practices (KAP) about rabies prevention and control: A community survey in Tanzania. PLOS Neglected Tropical Diseases, 8(12), e3310.

World Health Organization. (2018). Zero by 30: The global strategic plan to end human deaths from dog-mediated rabies by 2030. Retrieved from http://www.who.int/rabies/resources/9789241513838/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-14

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ