ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคอ้วน ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ธนากร ก้อนทอง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคอ้วน, การรับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคระบบข้อและกระดูก ตลอดจนโรคมะเร็ง เป็นต้น สาเหตุสำคัญของโรคอ้วนได้แก่ การรับประอาหารที่มีพลังงานสูง และขาดการออกกำลังกาย กระทรวงสาธารณสุขได้ประเมินสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ในปี 2558 พบว่าสาเหตุการตายของผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือดโรคมะเร็งตับ โรคเบาหวาน ตามลำดับ  นอกจากนี้พบว่าปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมีภาวะจากโรคอ้วนหรือดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก./ม2 และแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง  ความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคอ้วน ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 187 คนการรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และต่ำสุด  การศึกษาความสัมพันธ์ตัวแปรใช้ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Pearson Coefficient Correlation

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนอยู่ในระดับสูงร้อยละ 57.80 และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากร้อยละ 94.70 การรับรู้ความรุนแรงของโรคอ้วนส่วนใหญ่ในระดับมากร้อยละ 92.50 การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคอ้วนระดับปานกลางร้อยละ 90.40 การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคอ้วนส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 54.50 และการรับประทานอาหาระดับพอใช้ ร้อยละ 62.60 และการออกกำลังกายปานกลาง ร้อยละ 63.10 จากการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่าการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับประทานอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.155, P-value=0.035 ) การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคอ้วนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรการรับประทานอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.177, P-value=0.015) ส่วนการออกกำลังกายไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ และการรับรู้ด้านสุขภาพ

References

ณัฐชา แก้วโภคา, & อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2560). การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชน แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 12(4), 50-56.

ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง. (2559). การรับรูสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผูใชบริการกลุมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(1), 83-92.

ทิพวรรณ ประสานสอน, & พรเทพ แพรขาว. (2556). ความสัมพันธระหวางการรับรูการเกิดโรคกับพฤติกรรมการปองกันการเกิดโรคในบุคคลกลุมเสี่ยงตอการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 15(2), 36-43.

เบญญทิพย์ พรรณศรี, วิรัติ ปานศิลา, & รณยุทธ์ บุตรแสคม. (2560). บริบทและสภาพปัญหาของกลุ่มอ้วนของคนในชุมชน ตำบลหนองแสง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(2), 108-123.

ปรีชารีฟ ยีหรีม, & รุ้งระวี นาวิเจริญ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 31-42.

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ, & อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากร ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(2), 31-47.

พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ, & ดาว เวียงคํา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกายและการรับรู้อุปสรรคกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1), 7–16.

มธุรส บุญแสน, ทวีศักดิ์ กสิผล, & วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2557). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายของกําลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุงค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 312-319.

วรรณวิมล เมฆวิมล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลยราชภัฏสวนสุนันทา.

วรัญญา มณีรัตน์, จันทกานต์ เหล่าวงษา, กุลชา กุณาฝั้น, สุทธิดา ไพศาล, & ขวัญฤทัย ลืมตื่น. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(พิเศษ), 135-143.

สมบัติ กาวิลเครือ. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 161–173.

สุพัตรา บัวที, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, & ศิริอร สินธุ. (2555). พฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของสตรีวัยกลางคนที่อาศัยอยู่ที่บ้านลาดสระบัว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 30(2), 58-69.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 2. (2560). ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดเพชรบูรณ์ ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561, จาก http://203.157.102.82/ncd2/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. (2560ก). การรายงานจำนวนผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ มาตรฐานของผู้สูงอายุ ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/admin/ transfer_stat.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. (2560ข). การรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดเรื้อเรื้อรังของผู้สูงอายุ ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/admin/transfer_stat.php

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถานะสุขภาพและปัญหาสุขภาพของคนไทย: การสาธารณสุขไทย 2554–2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2552). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2552). การเปลี่ยนแปลงและเตรียมตัวเมื่อเข้าสู่ ยผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560, จาก http://hp.anamai.moph.go.th

World Health Organization. (2017). Obesity and overweight. Retrieved October 25, 2017, from http://www.who.int/ mediacentre/factsheets/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-03