ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • เกียรติภูมิ ภักดีไทยเทศา โรงพยาบาลอุ้มผาง
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, วัณโรค, ชาวเขา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดตาก มีผู้เข้าร่วมโครงที่เป็นผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ทั้งหมด 77 คน

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีระดับคุณภาพชีวิตดีเพียง ร้อยละ 12.99 เพศชายมีคุณภาพชีวิตดีกว่าเพศหญิงร้อยละ 14.00 คนที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี มีคุณภาพชีวิตดีกว่าคนที่มีอายุมากกว่าหรือเท่า 50 ปี ร้อยละ 20.00 คนที่ได้เรียนหนังสือคุณภาพชีวิตดีกว่าคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 25.00 คนที่มีงานทำมีคุณภาพชีวิตดีกว่าคนที่ไม่มีงานทำ ร้อยละ 20.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ได้แก่ อายุ (OR=7.75, 95%CI=0.92-64.63 ,p-value=0.039) อาชีพ (OR=7.75, 95%CI=0.92-64.63, p-value=0.039) ระยะเวลาในการรักษาวัณโรค (OR=6.44, 95%CI=1.8-33.60,p-value=0.015) และมีผู้กำกับดูแลการกินยาวัณโรคต่อหน้า (DOTS) (OR=8.73, 95%CI=1.05-72.83, p-value=0.035)

ข้อเสนอแนะจากการศึกษา จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดตาก ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ด้านอายุ ผู้ป่วยวัณโรคที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ลูกหลานควรจะดูแลเอาใจใส่การกินยาเนื่องจากคนไข้อ่านหนังสือไม่ออก ขี้ลืม และให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ด้านอาชีพ คนไข้บางส่วนทำงานไม่ได้เนื่องจาก เหนื่อย หอบไม่มีแรงในการทำงาน ส่วนคนไข้ที่ทำงานได้แต่นายจ้างรับเข้าทำงานเนื่องจากกลัวผู้ป่วยจะแพร่เชื้อให้กับเพื่อนร่วมงาน เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขควรทำความเข้าใจเรื่องวัณโรคกับผู้ประกอบการ เพื่อนร่วมงานเข้าใจเพื่อให้ผู้ป่วยและเพื่อนร่วมงานทำงานร่วมกันได้อย่างปลอดภัย ด้านระยะเวลาในการักษาวัณโรค การรับประทานยาวัณโรคในผู้ป่วยที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน มักจะพบอาการข้างเคียงของยาให้ทำผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานยาต่อ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีการแย่ลง เจ้าหน้าควรให้สุขศึกษาอาการข้างเคียงของยาวัณโรค หรือเปลี่ยนยาตัวอื่นที่ผู้ป่วยมีอาการค้างเคียงน้อยที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยรับรับประทานยาได้อย่างต่อเนื่อง ด้านการกำกับดูแลการกินยาวัณโรคต่อหน้า (DOTS) ผู้ป่วยที่ได้รับการกำกับดูแลการกินยาวัณโรคต่อหน้า (DOTS) ควรให้เจ้าหน้าที่หรือ อสม. ในพื้นที่รับผิดชอบหมั่นดูแลการรับประทานยาให้ครบ

 

 

Author Biography

เกียรติภูมิ ภักดีไทยเทศา, โรงพยาบาลอุ้มผาง

นายเกียรติภูมิ ภักดีไทยเทศา 

นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, & วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์. (2558). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี ปี 2554-2556. พุทธชินราชเวชสาร, 31(3), 2-10.

มุทิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, & พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. (2558). เรื่องคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ฉบับพิเศษ, 18-29.

รัชณีกรณ์ ปาทา, & พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2528). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเครือข่ายสุขภาพบัวแดงภักดีสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(1), 5-13.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2557). หลักสูตรการอบรมแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ สำหรับเจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรคและผู้ประสานงานวัณโรคโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เสาวลักษณ์ โพธา, & พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ ในเขตพื้นที่สาธารณสุขที่ 3 จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 20(2), 148-158.

อารดา หายักวงษ์, จุฬาลักษณ์ โกมลตรี, กมล อุดล, & ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2556). ภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอด. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 21(2), 110-120.

Aggarwal, A. N., Gupta, D., Janmeja, A. K., & Jindal, S. K. (2013). Assessment of health-related quality of life in patients with pulmonary tuberculosis under programme conditions. The International Journal of Tuberculosis and Lung Disease, 17(7), 947-953.

Gao, X. F., & Rao, Y. (2015). Quality of life of a migrant population with tuberculosis in West China. The International Journal of Tuberculosis and Lung Disease, 19(2), 223-230.

Lemeshow, S., Hosmer, D., Klar, J., & Lwanga, S. K. (1990). Adequacy of simple size in health studies. England: John Wiley & Sons.

Louw, J., Peltzer, K., Naidoo, P., Matseke, G., Mchunu, G., & Tutshana, B. (2012). Quality of life among tuberculosis (TB), TB retreatment and/or TB-HIV co-infected primary public health care patients in three districts in South Africa. Health and Quality of Life Outcomes, 10, 77.

Kakhki, A. D., & Masjedi, M. R. (2015). Factors associated with health-related quality of life in tuberculosis patients referred to the national research institute of tuberculosis and lung disease in Tehran. The Korean Academy of Tuberculosis and Respiratory Diseases, 78, 309-314.

World Health Organization [WHO]. (2018). WHO global health days 2018. Retrieved March 5, 2019, from http://www.who.int/campaigns/tb-day/2018/event/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01