ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลโนนสะอาด

ผู้แต่ง

  • สุธาสินี พิชัยกาล คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • รุจิรา ดวงสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ, เบาหวาน, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบว่ามีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประมาณการณ์ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 422 ล้านคน โรคเบาหวานมีภาวะแรกซ้อนหลายอย่าง ได้แก่ ตาบอด, ไตวาย, หัวใจวาย, โรคหลอดเลือดสมองและการตัดแขนขา เป็นต้น ปี 2015 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานเสียชีวิตจากโรคเบาหวานประมาณ 1.6 ล้านคน ประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน ประมาณ 2.8 ล้านคน เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 73,759 คน มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานคือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงร้อยละ 4.3 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical research.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุระหว่าง 35-70 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโนนสะอาด จำนวนทั้งสิ้น 294 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มมีระดับฮีโมโกลบินมากกว่าร้อยละ 7 และกลุ่มที่มีระดับฮีโมโกลบินน้อยกว่าร้อยละ 7 กลุ่มละจำนวน 147 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ตามเกณฑ์ที่กำหนด วิเคราะห์ด้วยสถิติ พหุถดถอยโลจิสติกส์ (Multiple logistic regression) กำหนดช่วงความเชื่อมั่น 95%CI

ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบด้านความรอบรู้ทางสุขภาพมีความสัมพันธ์กับระดับ ฮีโม โกลบินเอวันซี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค เบาหวาน (OR adj=8.14, 95%CI=4.41-15.00, p-value=<0.001) การรู้เท่าทันสื่อที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน (OR adj=3.78, 95%CI=1.49-9.60, p-value=0.005) การตัดสินใจในการควบคุมเบาหวาน (OR adj=3.78, 95%CI=1.49-9.60, p-value=0.005) และการจัดการตนเองในการควบคุมเบาหวาน (OR adj=5.14, 95%CI=2.40-10.99, p-value=<0.001)  แต่ทักษะการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับระดับฮีโมโกล บินเอวันซีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(OR adj=1.25, 95%CI=0.57- 2.70, p-value=0.570)

ข้อเสนอแนะ ควรมีการเสริมสร้างสุขภาพทั้งด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองโรคเบาหวาน การพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการตัดสินใจและการจัดการตนเองในการควบคุมเบาหวาน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1C) ได้ให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นต่อไป

References

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 256-268.

คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานอัตราป่วยโรคเบาหวาน และอัตราตายโรคเบาหวาน. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2561, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/

นิตยา พันธุเวทย์ , เมตตา คาพิบูลย์, & นุชรี อาบสุวรรณ. (2554). ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2553ปีงบประมาณ 2554. กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ปกาสิต โอวาทกานนท์.(2554). ผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลทรายมูล อ. ทรายมูล จ.ยโสธร. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(4), 339-349.

ปัทมาพร ธรรมผล, นพวรรณ เปียซื่อ, & สุจินดา จารุพัฒน์มารุโอ. (2559). ความแตกฉานด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(3), 176-182.

พัชรียา อัมพุธ, & สิริมา วงษ์พล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร, 30(5), 139-148.

เพรียวพันธุ์ อุสาย, & นิรมล เมืองโสม. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 11-20.

สุจิตรา บุญประสิทธิ์, สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์, & ชมนาด สุ่มเงิน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพ, 32(1), 44-56.

สุรชัย โชคครรชิตไชย, สมชาติ สุจริตรังสี, & วรัญาภรณ์ พุ่มคุ้ม. (2554). การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Akbarinejad, F., Soleymani, M. R., & Shahrzadi, L. (2017). The relationship between media literacy and health literacy among pregnant women in health centers of Isfahan. Journal of Education and Health Promotion, 6, 17.

Bains, S. S., & Egede, L. E. (2011). Associations between health literacy, diabetes knowledge, self-care behaviors, and glycemic control in a low income population with type 2 diabetes. Diabetes Technology & Therapeutics, 13(3), 335–341.

Huang, Y. M., Shiyanbola, O. O., & Smith, P. D. (2018). Association of health literacy and medication self-efficacy with medication adherence and diabetes control. Patient Preference and Adherence, 12, 793–802.

Seo, J., Goodman, M. S., Politi, M., Blanchard, M., & Kaphingst, K. A. (2016). Effect of health literacy on decision-making preferences among medically underserved patients. Medical Decision Making, 36(4), 550–556.

World Health Organization [WHO]. (2012). Health education: Theoretical concepts, effective strategies and core competencies. Retrieved August 16, 2017, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/119953/EMRPUB_2012_EN_1362.pdf

World Health Organization [WHO]. (2013). Health literacy the solid facts. Retrieved August 11, 2018, from http://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0008/190655/ e96854.pdf

World Health Organization [WHO]. (2018). Prevalence of diabetes worldwide. Retrieved December 12, 2017, from http://www.who.int/diabetes/facts/ world figures/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01