ความวิตกกังวลและความเครียดระหว่างรอการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

-

ผู้แต่ง

  • นฤมล ภูธรฤทธิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพรรณี พรหมเทศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักษ์ จันทะราช สำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
  • ชาญณรงค์ อรรคบุตร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, ความเครียด, มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

บทคัดย่อ

การรอส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (Colonoscopy) เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็ง เป็นสถานการณ์ที่ทำให้มีความวิตกกังวลและความเครียดเกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความวิตกกังวลและระดับความเครียดระหว่างรอการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง โดยทำการศึกษาในประชากรที่เข้าร่วมโครงการวิจัยตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง การวิจัยเชิงทดลองระดับชุมชนอำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่น ที่มีผลการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระโดยวิธีอิมมูโนเคมมิคอล (iFOBT) เป็นบวกจำนวน 92 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความวิตกกังวลระหว่างรอการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี (ORadj=8.12; 95% CI=2.46- 26.85; p-value=0.001) และกลุ่มที่มีสถานภาพสมรสโสด/หม้าย/หย่าร้าง (ORadj=49.05; 95% CI= 5.15-467.59; p-value = 0.001) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดระหว่างรอการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี (ORadj=3.7; 95% CI= 1.21-9.41; p-value=0.020) และกลุ่มที่มีระยะเวลาตั้งแต่ทราบผลตรวจ iFOBT เป็นบวก จนกระทั่งส่องกล้องกล้องน้อยกว่า 2 เดือน (ORadj=9.83; 95% CI=3.22-30.01; p-value<0.001)

เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางเพื่อลดความวิตกกังวล ผ่อนคลายความเครียดเช่น การให้คำอธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจอย่างชัดเจน รวมถึงชี้แจงค่าใช้จ่ายให้ทราบ และควรมีการประเมินติดตามความวิตกกังวลและความเครียดของผู้เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการลดความวิตกกังวล และ คลายความเครียด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี กลุ่มที่มีสถานภาพสมรสสมรสโสด/หม้าย/
หย่าร้าง และกลุ่มที่มีระยะเวลาตั้งแต่ทราบผลตรวจ iFOBT เป็นบวก จนกระทั่งส่องกล้องน้อยกว่า 2 เดือน

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2541). การพัฒนาแบบประเมินและการวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จีรวรรณ จบสุบิน. (2551). ความชุกภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกายทิพย์ ศิริวงศ์, พัชนี ศรีสวัสดิ์, & ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ. (2552). การศึกษาความเครียดและเผชิญความเครียดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผ่าตัด. วารสารพยาบาลศิริราช, 3(1), 1-14.

พรทิวา มีสุวรรณ, & ขนิษฐา นาคะ. (2551). การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ความต้องการข้อมูล และความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดหู คอ จมูก ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 26(2), 185-194.

ศุภกาญจน์ โอภาสรัตนากร. (2558). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(2), 158-171.

สมภพ เรืองตระกูล. (2551). ความเครียดและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในโรคมะเร็ง อาการทางจิตเวชและการรักษา. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สุนีย์ จันทร์มหเสถียร, & นันทา เล็กสวัสดิ์. (2549). ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดใน ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่. พยาบาลสาร, 33(2), 184-194.

เอื้องพร พิทักษ์สังข์. (2554). ความวิตกกังวล ความเครียดและความต้องการข้อมูลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดทางตาแบบผู้ป่วยนอก. พยาบาลศิริราช, 4(1), 35-42.

Bessissow, T., Van Keerberghen, C. A., Van Oudenhove, L., Ferrante, M., Vermeire, S., Rutgeerts, P., et al. (2013). Anxiety is associated with impaired tolerance of colonoscopy preparation in inflammatory bowel disease and controls. Journal of Crohn's and Colitis, 7(11). 580-587.

Chen, L. S., Liao, C. S., Chang, S. H., Lai, H. C., & Chen, T. H. (2007). Cost-effectiveness analysis for determining optimal cut-off of immunochemical faecal occult blood test for population-based colorectal cancer screening. Journal of Medical Screening, 14(4), 191-199.

Chung, Y. W., Han, D. S., Yoo, K. S., & Park, C. K. (2007). Patient factors predictive of pain and difficulty during sedation-free colonoscopy: A prospective study in Korea. Digestive and Liver Disease, 39(9), 872-876.

Fabrizio, S., Manuel, Z., & Grazia, G .(2014). Colorectal cancer screening: Tests, strategies, and perspectives. Frontiers in public health, 2, 210.

Grazzini, G., Ciatto, S., Cislaghi, C., Castiglione, G., Falcone, M., Mantellini, P., & Zappa, M. (2008). Cost evaluation in a colorectal cancer screening programme by faecal occult blood test in the District of Florence. Journal of Medical Screening, 15(4), 175-181.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623-1634.

International Agency for Research on Cancer, World Health Organization. (2012). Globocan: Estimated cancer incidence, mortality and prevalence worldwide in 2012. Retrieved August 10, 2016, from http://globocan.iarc.fr/Default.aspx

Lohsiriwat, V., Lohsiriwat, D., Chinswangwatanakul, V., Akaraviputh, T., & Lert-Akyamanee, N. (2007). Comparison of short-term outcomes between laparoscopically-assisted vs. transverse-incision open right hemicolectomy for right-sided colon cancer: A retrospective study. World Journal of Surgical Oncology, 11(5), 49.

Pongnikorn, D., Suwanrungruang, K., & Buasom, R. (2015). Cancer Incidence in Thailand. In W. Imsamran, A. Chaiwerawattana, S. Wiangnon, D. Pongnikorn, K. Suwanrungrung, S. Sangrajrang, et al. (Eds.). Cancer in Thailand: Vol. VIII, 2010–2012. (pp. 5-31). Bangkok: National Cancer Institute Thailand.

Spielberger, D., Gorsuch, L., Lushene, R., Vagg, R., & Jacobs, A. (1983). Manual for the state-trait anxiety inventory. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31