ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิสในผู้ป่วยเมลิออยโดสิส โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปิยธิดา สุจริตพงษ์
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ
  • เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Matched case-control study เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
การเกิดโรคเมลิออยโดสิสในผู้ป่วยโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ที่รับการรักษาระหว่างวันที่ 1
ต.ค. 2555 ถึง 31 มี.ค. 2557 ใช้แบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบสัมภาษณ์การวิจัยเก็บข้อมูล
กลุ่มผู้ป่วยเมลิออยโดสิส 234 ราย และไม่ใช่ผู้ป่วยเมลิออยโดสิส234 รายหาความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์
ถดถอยพหุโลจิสติกแบบมีเงื่อนไข แสดงผลด้วยค่า Matched adjusted oddsratio (mORadj) ช่วงเชื่อมั่นที่
ร้อยละ 95 และ p-value<0.05
ผลการศึกษาพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ได้แก่ การศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา
(mORadj=3.38; 95%CI=1.72-6.63; p-value<0.001) อาชีพเกษตรกรรม (mORadj=2.34; 95%CI=1.34-
4.06; p-value=0.014) ดื่มน้ำที่ไม่ผ่านการทำลายเชื้อ (mORadj=2.34; 95%CI=1.03-5.30; p-value=
0.042) ไม่ล้างมือก่อนบริโภคอาหาร (mORadj=2.62; 95%CI=1.31-5.23; p-value=0.006) มีโรคประจำตัว
(mORadj=3.21; 95%CI=1.67-6.19; p-value<0.001) มีเบาหวานเป็นโรคร่วม (mORadj=3.86; 95%CI=
1.33-10.78; p-value=0.010) อาศัยในพื้นที่<1 ปี (mORadj=3.15; 95%CI=1.60-6.19; p-value=0.001)
จากการศึกษาพบว่า โรคเมลิออยโดสิสทำให้เกิดอาการทางคลินิกได้หลากหลายแบบ อาการแสดง
และความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ และระดับภูมิคุ้มกันต่อโรค ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เป็น
เวลานาน ร่างกายจึงมีภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ ต่างจากผู้ที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ใหม่ ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเมื่อป่วย
อาการจึงรุนแรงกว่า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ