ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ทำสวนมะลิ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วีราษฎร์ สุวรรณ
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

เกษตรกรปลูกมะลิ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, การป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

เกษตรกรสวนมะลิใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชปริมาณสูงเพื่อป้องกันและควบคุมศัตรูพืชในแปลงมะลิ จึงทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันตนเองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนมะลิ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2555 ด้วยการสังเกตการทำงานและใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในกลุ่มเกษตรกรทำสวนมะลิ ในพื้นที่ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 225 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมส าเร็จรูป STATA V.10.0 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดียว และความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุ แสดงค่า Adjusted odds ratio (ORadj) 95%CI และ p–value ที่ระดับนัยส าคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ร้อยละ 68.4 จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 63.1 อายุเฉลี่ย 49.9 ปี ปลูกมะลิไม่เกิน 2 งาน ร้อยละ 64.9 ใช้เวลาฉีดพ่นสารเคมีไม่เกิน 30 นาที/ครั้ง ร้อยละ 54.2 เกษตรกรมีพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการปฏิบัติงานกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในระดับสูง ร้อยละ 58.7 มีการป้องกันตนเอง ร้อยละ 56.0 โดยสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น เสื้อแขนยาว รองเท้าบูท หมวก และถุงมือยาง/พลาสติก เกษตรกรเคยแพ้พิษสารกำจัดศัตรูพืช หลังการฉีดพ่น ร้อยละ 63.6 มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระดับสูง ร้อยละ 60.9 เมื่อวิเคราะห์เชิงพหุถดถอยแบบลอจิสติค พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การไม่ใช้สารกลุ่มคาร์บาเมท (ORadj=9.78, 95%CI=3.02-31.72) ระดับความรู้เกี่ยวกับสารกำจัดศัตรูพืช (ORadj=9.12, 95%CI=3.20-26.00) พื้นที่หมู่บ้าน (หมู่ที่ 1 ORadj=9.03, 95%CI=3.36-24.22) (หมู่ที่ 28 ORadj=4.01, 95%CI=1.54-10.45) ซึ่งได้รับการอบรมมากกว่าหมู่ที่ 18 การใช้สารเคมีผสมผสานกับสารชีวภาพ (ORadj=8.40, 95%CI=2.08-33.89) การศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น (ORadj=3.64,
95%CI=1.33-9.97) และพื้นที่เพาะปลูกไม่เกิน 2 งาน (ORadj=3.04, 95%CI=1.40-6.57) ผลการศึกษาแสดงปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการสัมผัสสารเคมีของชาวสวนมะลิ มีประโยชน์ในการให้บริการทางด้านอาชีวอนามัยและสร้างความตระหนักของเกษตรกรในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลขณะเตรียมหรือฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและเก็บมะลิในสวน รวมถึงการเฝ้าระวังและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นในการสัมผัสสารเคมีเข้าสู่ร่างกายแบบเรื้อรัง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03