วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi <p><strong>วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ </strong>โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีการควบคุมคุณภาพโดยทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฯ ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ซึ่งการพิจารณานั้นจะเป็นแบบ Double-blind review อย่างน้อย 2 ท่าน</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p>บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง</p> jrhisasuk101@gmail.com (นิสิต บุญอะรัญ) jrhisasuk101@gmail.com (เสฐียรพงษ์ ศิวินา, เดือนเพ็ญ แก้วประสาร) Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผลลัพธ์ด้านความรู้ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270655 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผลลัพธ์ด้านความรู้ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกย่าง จังหวัดบุรีรัมย์</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย:</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย:</strong> ตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงที่ในเขตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกย่าง จำนวน 86 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มๆ ละ 43 คน กลุ่มทดลองใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว 7 กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบบันทึกการตรวจร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรผลลัพธ์ด้านความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตหลังการทดลองระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% Confidence interval</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคดันโลหิตสูงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคดันโลหิตสูงมากกว่า&nbsp; 6.69 คะแนน (95%CI; 5.41, 7.97) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ(p&lt;.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่า 0.84 คะแนน (95%CI; 0.69, 0.99); หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย Systolic blood pressure น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;.001) โดยมีค่าเฉลี่ย Systolic blood pressure น้อยกว่า 18.27 มิลลิเมตรปรอท (95%CI; 12.15, 24.40) และหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย Diastolic blood pressure น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;.001) โดยมีค่าเฉลี่ย Systolic blood pressure น้อยกว่า 23.07 มิลลิเมตรปรอท (95%CI; 19.04, 27.09)&nbsp;</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> : ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมฯ ส่งผลให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น ส่วน Systolic blood pressure และ Diastolic blood pressure ลดลง</p> วัชระ เสงี่ยมศักดิ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270655 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานและผลลัพธ์การให้บริบาลทางเภสัชกรรม สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270741 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยเบาหวานและประเมินผลลัพธ์การให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยครั้งนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและความจำเป็นในการพัฒนา การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยเบาหวาน และการติดตามประเมินผลลัพธ์ในการพัฒนาการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังพัฒนาด้วย Percentage Differences และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>สถานการณ์และความจำเป็นในการพัฒนา พบว่า ขาดแนวทางปฏิบัติในการให้บริบาลเภสัชกรรมที่เป็นแนวทางเดียวกัน มีการใช้เครื่องมือประเมินปัญหาด้านยาและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่หลากหลาย การขาดการประเมินความรู้และความร่วมมือในการใช้ยา และยังไม่มีการเชื่อมโยงและบูรณาการระบบงานไปถึงระดับชุมชนและครัวเรือน&nbsp;โดยได้ทำการพัฒนาแนวทางการบริบาลเภสัชกรรมขึ้น คือ การติดตามปัญหาและการจัดการปัญหาด้านยา การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การส่งเสริมความรู้ด้านโรคเบาหวานและความร่วมมือในการใช้ยา และติดตามผลลัพธ์การดำเนินงาน ซึ่งหลังพัฒนางานมีการเปลี่ยนแปลงลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ระดับ LDL และดัชนีมวลกาย (22.80%, 15.78%, 21.76% และ 2.11% ตามลำดับ)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> <strong>: </strong>การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานและผลลัพธ์การให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยการประเมิน ติดตามปัญหาด้านยาและจัดการปัญหาด้านยาที่เหมาะสม เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาโดยการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล โดยการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความร่วมมือในการใช้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนแนวทางที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปพัฒนาเป็นแนวทางในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในโรคอื่น ๆ ต่อไป</p> ณัฐวุฒิ แหล่งสนาม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270741 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270742 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>: </strong>&nbsp;เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental) แบบ 2 กลุ่มมีการทดสอบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pre-post test research design)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มารับการรักษาที่โรงพยาบาลโพนทราย จำนวน 64 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 32 ราย และกลุ่มทดลอง 32 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการบริการตามปกติกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองโดยประยุกต์จากแนวคิดการจัดการตนเองของ Kanfer &amp; Gaelick (1988) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเอง 4 ขั้นตอน 12 สัปดาห์ แบบบันทึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล&nbsp; แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-Square test และ Paired t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> <strong>:</strong> กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดและการจัดการความเจ็บป่วยดีกว่าก่อนการ เข้าร่วมโปรแกรมฯและดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) กลุ่มทดลองมีค่าระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>ควรนำโปรแกรมดังกล่าวมาจัดทำเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และสามารถจัดการกับโรคได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง และครอบคลุมกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทุกคน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดได้</p> กรกฎา จันทร์สม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270742 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลโซ่พิสัย อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270790 <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนารูปแบบและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลโซ่พิสัย&nbsp;</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย: </strong>กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 8 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้คลอด จำนวน 5 คน พยาบาลวิชาชีพที่มาเวียนขึ้นปฏิบัติงานที่งานการพยาบาล&nbsp; ผู้คลอด จำนวน 3 คน และทารกแรกเกิดที่มารดาใช้สารเมทแอมเฟตามีนและปัสสาวะได้ผลบวก มาคลอดที่โรงพยาบาลโซ่พิสัย จำนวน 7 คน การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา 2) พัฒนารูปแบบการดูแล 3) ทดลองการใช้รูปแบบ 4) ประเมินผล ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน, แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการประเมินทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนและแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เปรียบเทียบความแตกต่างความรู้เรื่องการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนก่อนและหลังการพัฒนาฯ โดยใช้สถิติ T-test dependent (p&lt;.05)</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์พบว่า ปัญหาการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนทั้งด้านการนโยบาย ระบบงาน บุคลากรพยาบาลและด้านความต้องการใช้รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาใช้สารเมทแอมเฟตามีน 2) รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ (1) ซักประวัติเกี่ยวกับยาและการใช้สารเสพติด (2) มีประวัติเสี่ยง (3) ตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติดและคัดกรอง โดยใช้ Immunochomatography (IMC) (4) ส่งต่อคลินิกยาเสพติด (5) แพทย์ตรวจเฝ้าระวัง (6) ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อเฝ้าระวัง 3) หลังใช้รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนพบว่า ทารกแรกเกิดไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ผู้ปฏิบัติงานมีการปฏิบัติตามรูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนได้ (95.0%) มีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ดังนั้น รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ประเมินภาวะแทรกซ้อนทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนได้ถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับนำรูปแบบไปใช้ในหน่วยงานอื่นที่มีบริบท/สถานการณ์ปัญหาที่คล้ายกัน</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ: </strong>ผลการศึกษาครั้งนี้จะใช้เป็นรูปแบบการพยาบาลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน เพื่อประเมิน เฝ้าระวังและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิด &nbsp;ทำให้เกิดผลลัพธ์การพยาบาลที่มีคุณภาพ</p> วิไลลักษณ์ กองคำ, ฐิศิรักน์ จันทรักษ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270790 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของผู้สูงอายุในโรงเรียน/ชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270990 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในโรงเรียน/ชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong> <strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย : </strong>กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ 6 แห่ง จำนวน 184 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 134 คน (ร้อยละ 72.8) อายุเฉลี่ย 69.18 ± 6.40 ปี (60-87 ปี) &nbsp;โดยนำนวัตกรรมฯ ได้แก่ หลักสูตร ไม่ล้ม ไม่ลืม &nbsp;ไม่ซึมเศร้า กินข้าวแซบ ไปใช้อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งๆละ 3 ชั่วโมง และแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล (Wellness Plan) ไปใช้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 - เดือนมกราคม 2565 ประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมฯ โดยเปรียบเทียบภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ก่อน - หลัง ด้วยสถิติ Paired t-test และ McNemar’s Chi-square</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> ภายหลังการใช้นวัตกรรม พบว่า น้ำหนัก&nbsp; รอบเอว การพลัดตกหกล้ม ความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ระยะเวลาในการทำ TUGT และภาวะเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า (2Q+) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p&gt;.05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิต ปัญหาปวดหัวเข่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยคะแนนสภาพสมอง (AMT) เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.021) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยพฤติกรรมการแปรงฟันก่อนนอนทุกวัน และการนอนหลับได้ 7 - 8 ชั่วโมงต่อคืนเป็นประจำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.038, .013)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถดูแลตนเองได้ เน้นการแก้ไขความเสี่ยงด้านสุขภาพเฉพาะ รายบุคคล และการมีส่วนร่วมของชุมชน ดังนั้น ควรขยายผลไปใช้ในโรงเรียน/ชมรมอื่นๆ หรือกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้มาโรงเรียนผู้สูงอายุ ให้มีความแตกฉานด้านสุขภาพต่อไป</p> ปิยมณฑ์ พฤกษชาติ, สดุดี ภูห้องไสย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/270990 Tue, 07 May 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271063 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินผลลัพธ์รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action&nbsp; research) &nbsp;</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย : </strong>ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นเครือข่ายภาคท้องถิ่น จำนวน 48 คน เครือข่ายภาควิชาการ จำนวน 2 คน และผู้ร่วมร่วมวิจัยจากเครือข่ายภาคประชาชน จำนวน 33 คน การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะการวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะการพัฒนา และระยะการประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบบันทึก และแบบสังเกต ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหา พบว่า พบปัญหาทั้งด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ และด้านการจัดการ ตามลำดับ 2) รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพฯ ประกอบด้วยขั้นตอนการศึกษาบริบทของพื้นที่ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดเวทีประชุมประชาคม การอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ การศึกษาดูงาน การประเมินตนเอง การนิเทศ ติดตาม สนับสนุน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อนและหลังการพัฒนา และ 3) คณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพมีระดับความรู้เกี่ยวกับกองทุนและการบริหารจัดการกองทุน โดยรวมอยู่ในระดับดี การมีส่วนร่วมและคะแนนเฉลี่ยการดำเนินงาน โดยรวม เพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา<strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong></p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ การมีส่วนร่วม และการดำเนินงานโดยรวมเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา</p> นันทิยา ประดิษฐ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271063 Fri, 10 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลทางไกลกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271079 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลทางไกลกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย :</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ชนิด 2 กลุ่มวัดก่อน-หลัง (Two groups pre-post test design)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ส่งต่อไปรับการดูแลต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่งในอำเภอปทุมรัตต์ คัดเลือกโดยวิธีจำเพาะเจาะจง จำนวน 64 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 32 ราย และกลุ่มทดลอง 32 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง กุมภาพันธ์ 2567 เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน 3) แบบบันทึกค่า HbA1C จากเวชระเบียน และ 4) รูปแบบการพยาบาลทางไกล หาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค ได้ .80 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t -test</p> <p><strong>ผลการการวิจัย :</strong> ภายหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.01) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย HbA1C ของกลุ่มทดลอง 6.95(SD.±0.79) mg% พบว่าลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุม 7.30(SD.±1.51) mg% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05) ส่วนในกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย HbA1C</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแน</strong>ะ : รูปแบบการพยาบาลทางไกล สามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่อยู่ในชุมขน ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายได้ ซึ่งควรมีการติดตามผลในระยะยาว รวมถึงควรมีการประเมินผลในมิติอื่นๆ เช่นการวัดความพึงพอใจ ต้นทุนบริการและสมรรถนะของพยาบาลในการให้บริการทางไกล เพื่อพัฒนาระบบบริการพยาบาลให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต</p> นิยม ประโกสันตัง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271079 Sun, 12 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271080 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าฮีมาโตคริตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนและหลังได้รับแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจาง</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลังการทดลอง (Pretest- posttest design) <strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong>: กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมานที่มีคุณสมบัติในการคัดเข้า (Inclusion criteria) จำนวน 22 ราย ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนพฤศจิกายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลดดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และPaired t-test</p> <p><strong>&nbsp;ผลการวิจัย : </strong>หญิงตั้งครรภ์พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะโลหิตจางมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเพิ่มขึ้น 1.63 คะแนน (95%CI: 1.32, 1.94) และหญิงตั้งครรภ์มีค่าเฉลี่ยค่าฮีมาโตคริตมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเพิ่มขึ้น 1.63 คะแนน (95%CI: 1.69, 5.57) &nbsp;</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าแนวทางที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การกินยาเสริมธาตุเหล็ก และเพิ่มความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางได้</p> ชิตชนัญ โพธิ์ชัยหล้า Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271080 Sun, 12 May 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271273 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรที่มีวัณโรคระยะแฝง</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>: </strong>การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสวัณโรคจำนวน 283 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามร่วมกับผลตรวจสุขภาพซึ่งมีผลการตรวจเลือดด้วยวิธี IGRA และผลอ่านเอกซเรย์ทรวงอกโดยรังสีแพทย์ในผู้ที่พบมีการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Odds ratio; OR และ 95%CI) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวัณโรคระยะแฝง</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>ความชุกการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรที่เสี่ยงสูงต่อวัณโรคอยู่ที่ 32.5% สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ได้แก่ ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ (OR=6.66; 95%CI: 1.30-33.96) ประวัติได้รับการตรวจคัดกรอง/สงสัยวัณโรค (OR=3.04; 95%CI: 1.02-9.04) และประสบการณ์การทำงานที่เพิ่มขึ้น (OR = 1.12; 95%CI: 1.03-1.21)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรส่งเสริมให้บุคลากรมีดัชนีมวลกายสมส่วน เข้าถึงการตรวจคัดกรองวัณโรค และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ส่วนบุคลากรที่พบว่ามีการติดเชื้อระยะแฝงควรได้รับการตรวจติดตามและเฝ้าระวังวัณโรคอย่างต่อเนื่อง</p> กิตติพล ไพรสุทธิรัตน Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271273 Thu, 23 May 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271274 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาสถานการณ์ การพัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์ของการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยครั้งนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์และความจำเป็นในการพัฒนา ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และระยะที่ 3 การติดตามประเมินผลลัพธ์รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังพัฒนาด้วย Percentage difference และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 4 มาตรการ ได้แก่ 1) มาตรการระดับโรงพยาบาลและระดับ รพ.สต. 2) มาตรการระดับผู้ประกอบการด้านสุขภาพ 3) มาตรการระดับเครือข่าย แกนนำ และ 4) มาตรการในระดับชุมชน ด้วยการมีกิจกรรมในการพัฒนาความรู้และความรอบรู้ในทุกระดับ การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการสั่งใช้ยาที่สมเหตุผล การส่งเสริมด้านจริยธรรมให้กับบุคลากรทางการแพทย์ การดูแลด้านยาเพื่อความปลอดภัยของประชาชน และการเฝ้าระวัง ติดตาม กำกับ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบส่งผลให้มีการสั่งใช้ยาในโรค URI, โรค AD และโรค CW ที่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น (29.20%, 6.19% และ 2.76% ตามลำดับ) อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะใน 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรค URI, โรค AD และโรค CW ที่ลดลง ( 21.70%, 22.82% และ1.98% ตามลำดับ)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> <strong>: </strong>การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จะต้องมีการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกระดับตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลถึงระดับชุมชน การพัฒนาทุกภาคส่วนจะทำให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลทางตรงให้มีการใช้ยาที่เหมาะสมมากขึ้น และส่งผลทางอ้อม คือ ค่าใช้จ่ายด้านยาที่ลดลง และช่วยลดภาวะดื้อยาตามมา</p> พิทยาภรณ์ ซิมเมอร์มันน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271274 Thu, 23 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271395 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> 1) เพื่อพัฒนารูปแบบ และประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย :</strong> วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> &nbsp;กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอโพนสวรรค์ 21 คน 2) คณะอนุกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 35 คน 3) ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ดูแลและญาติ จำนวน&nbsp; 621 คน ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ดำเนินการในพื้นที่อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินผลการดำเนินงานตามกระบวนการ UCCARE วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดย สถิติ t - test (One sample) และ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> มีระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช มีเกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง มีแนวทางปฏิบัติต่อผู้ที่มีอาการทางจิต และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน มีระบบการเชื่อมข้อมูล มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช หลังการพัฒนาระบบ พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยบทบาทคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ รายด้านและโดยรวม สูงกว่าค่าเกณฑ์ที่คาดหวังทุกด้าน (p&lt;.05) คะแนนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ป่วย ผู้ดูแลและญาติ รายด้านและโดยรวม สูงกว่าค่าเกณฑ์ที่คาดหวังทุกด้าน (p&lt;.05) บทบาทคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตรายด้านและโดยรวม มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามกระบวนการ UCCARE (p&lt;.01)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> : ควรส่งเสริมให้มีการใช้แนวทางในการดูแลการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่อง</p> ประดิษฐ ศรีแสน, รัชนี ศรีแสน, แสงเดือน ศรีวรสาร, ธัชวิทย์ วงศ์เข็มมา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271395 Wed, 29 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271466 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย :</strong> การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 175 คนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสมการถดถอยพหุคูณ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.8 (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (p&lt; .001) ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม (Beta=.509) และทักษะการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้านอารมณ์ (Beta=.358) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้ คิดเป็นร้อยละ 64.5 (R<sup>2</sup>=.645)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน โดยส่งเสริมให้ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม เช่น ข้อมูลข่าวสาร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน และพัฒนาให้มีทักษะการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้านอารมณ์แก่ประชาชนต่อไป</p> ศุภมาส อรชร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271466 Sun, 02 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271747 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>: </strong>&nbsp;เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>: </strong>การศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะดำเนินการ และระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 10 คน แกนนำ จิตอาสา จำนวน 60 คน และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ 3 ตำบล จำนวน 276 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม &nbsp;และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired sample t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> <strong>:</strong> ภายหลังการอบรมแกนนำจิตอาสา (ครู ก) มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) และมีการปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน เรื่อง ความเร็วในการกดหน้าอกและการกดหน้าอกต่อการปล่อย และการใช้เครื่อง AED ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 78.8 และ 75.7 ตามลำดับ และภายหลังการอบรม ครู ข มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) และมีการปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน และการใช้เครื่อง AED ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 63.8 และ 63.8 ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>ควรพัฒนาศักยภาพในระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและแพร่หลายเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและประชาชนมีอัตรารอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล</p> ปารณัท พรมศิริ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271747 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลหนองพอก ปี 2566 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271894 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาสถานการณ์ และพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลหนองพอก</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong> : วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบบทำงานร่วมกัน (Mutual collaborative approach)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลหนองพอก คัดเลือกตามคุณสมบัติคัดเข้าและคัดออก แบ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้นิเทศ 5 คน พยาบาลวิชาชีพผู้รับนิเทศ 26 คน ดำเนินการ 3 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ศึกษารูปแบบการนิเทศทางคลินิก ศึกษาสถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มติดเชื้อในกระแสโลหิต และศึกษาความต้องการการพัฒนาการนิเทศทางคลินิก 2) ระยะดำเนินการพัฒนา นำสถานการณ์ที่ผ่านการวิเคราะห์นำเสนอในที่ประชุม พัฒนาโดยใช้วงรอบการวิจัยเชิงปฏิบัติการดำเนินการวางแผน ลงมือปฏิบัติ สังเกตและสะท้อนการปฏิบัติร่วมกัน 3) ระยะประเมินผลระหว่างดำเนินการ และประเมินผลโดยรวมเมื่อสิ้นสุดการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปและแนวคำถามหลักที่ใช้ในการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการณ์การปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คิดเปอร์เซ็นต์ส่วนต่าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> <strong>:</strong> 1) สถานการณ์การนิเทศทางคลินิกกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลหนองพอก พบว่า ด้านรูปแบบการนิเทศแนวทางการนิเทศแตกต่างกันในแต่ละแผนกตามประสบการณ์และความเข้าใจของผู้นิเทศ ด้านการปฏิบัติการพยาบาลพบการประเมินและการดูแลที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะรายในแต่ละระยะของการดำเนินโรค พยาบาลขาดความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาล และด้านความต้องการการพัฒนาพบว่า ต้องการให้มีการกำหนดรูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่ชัดเจนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน &nbsp;2) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดหัวข้อการนิเทศและนัดหมายการนิเทศ (2) เลือกแนวทางการนิเทศทางคลินิกร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับนิเทศ (3) ทำการนิเทศทางคลินิกตามวัน เวลาและแนวทางที่ตกลงร่วมกัน (4) ผู้นิเทศบันทึกผลการนิเทศทางคลินิกและนำเสนอผู้บังคับบัญชา และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลิกที่พัฒนาขึ้นเปอร์เซ็นต์ส่วนต่างการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเชื้อในกระแสโลหิตในแต่ละระยะการดำเนินโรค พบว่า ระยะ SIRS เท่ากับ 1.79, ระยะ Sepsis เท่ากับ 3.24 และระย Severe sepsis/Septic shock เท่ากับ 1.28 แสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการพยาบาลในทางที่ดีขึ้น</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>:</strong> ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ลดช่องว่างระหว่างผู้นิเทศและผู้รับนิเทศ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้รูปแบบใหม่มีแนวทางการนิเทศที่ชัดเจน และนำรูปแบบนี้ไปขยายผลในการนิเทศทางคลินิกกลุ่มโรคสำคัญอื่นต่อไป</p> จิราพร กำหอม, ปิยนุช พลเยี่ยม, ลัดดาวัลย์ ศรีสุภา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271894 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ และคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลโรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2566 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271898 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> :</strong> เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาคุณภาพ และศึกษาประสิทธิผลการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (Focus charting Record)</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> <strong>:</strong> กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่ตึกผู้ป่วยใน จำนวน 13 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เวชระเบียนผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษา ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 30 เมษายน 2566 จำนวน 339 ชาร์ท คัดเลือกตามเกณฑ์ คัดเข้าคัดออก ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 164 ชาร์ท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (Focus charting nursing record) การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index: CVI) ได้เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> <strong>:</strong> การวิเคราะห์สถานการณ์ผลการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (Focus charting) การบันทึกไม่ครอบคลุมทั้ง A-I-E (Assessment-Intervention-Evolution) ไม่สามารถค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยหรืออาจค้นหาได้แต่ขาดการบันทึกเอกสารหลายส่วนทำให้บันทึกซ้ำซ้อนต้องใช้เวลาการบันทึกนาน บันทึกไม่สนับสนุนการปฏิบัติการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง บันทึกข้อมูลเป็น Routine มองไม่เห็นปัญหาผู้ป่วยเป็นรายบุคคล และไม่เป็นตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ส่วนการพัฒนาคุณภาพมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การวางแผน (Plan) 2. การปฏิบัติ (Action) 3. สังเกต (Observe) และ 4. การสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection) และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนรวมการประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (Focus charting) เชิงปริมาณหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 1.58 คะแนน เป็น 1.74 คะแนน ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของข้อมูลครบถ้วนและเชิงคุณภาพหลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 2.24 คะแนน เป็น 2.55 คะแนนส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของข้อมูลการบันทึกครบถ้วนสมบูรณ์ 100%</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้การสื่อสารข้อมูลผู้ป่วยให้แก่ทีมวิชาชีพได้ชัดเจน ง่ายต่อการอ่านและลดระยะเวลาในการบันทึก หัวหน้างานควรมีการมอบหมายงานให้พยาบาลวิชาชีพทบทวนการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล </p> ปิยนุช พลเยี่ยม, ธีราพร อาจชุมชัย, ปัญจา ชมภูธวัช Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271898 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและเสี่ยงก่อความรุนแรง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271950 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและเสี่ยงก่อความรุนแรง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด<strong>&nbsp; </strong></p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>เป็นวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ (Action research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย : </strong>ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น 1) ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและเสี่ยงก่อความรุนแรง และญาติผู้ดูแลในครอบครัวในระยะศึกษาสถานการณ์ 60 คน ระยะพัฒนารูปแบบ 20 คน &nbsp;2) บุคลากรผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง 10 คน และ 3) ผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานและญาติผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล แบบประเมิน และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis)</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการรับรู้สถานการณ์ปัญหาตรงกัน มีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและมีภาวะเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนหรือก่อความรุนแรงซ้ำ แต่ยังขาดแนวทางการดูแล การส่งต่อ และการฟื้นฟูที่ชัดเจนและเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน 2) รูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดฯ ประกอบด้วย 3 ขั้นคือ ขั้นคัดกรองที่ศูนย์คัดกรอง รพ.สต./โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ขั้นส่งต่อดูแลรักษาโดยศูนย์คัดกรองยาเสพติด และขั้นบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ และ 3) การประเมินการหยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือนหลังการบำบัดฟื้นฟู พบว่า ผลการตรวจปัสสาวะเป็นบวก (Positive) 15 คน (50.00%) และผลเป็นลบ (Negative) 50 คน (50.00%) ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและเสี่ยงก่อความรุนแรงมีแนวโน้มลดลงจากปี พ.ศ.2564 –2566 เป็น 110%, 21% และ 3% รายตามลำดับ</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>ผลลัพธ์จากการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการดูแลและติดตามอย่างต่อเนื่อง</p> ปิยกัณญา แก่นวิชา, สุณี อาวรณ์, วิไลลักษณ์ ดวงบุปผา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/271950 Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ของโรงพยาบาลอาจสามารถ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/272065 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาระบบและประเมินระบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนของโรงพยาบาลอาจสามารถ</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ และผู้รับผิดชอบระบบดูแลผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นในเครือข่ายบริการ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2566ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์สถานการณ์&nbsp; พัฒนาระบบ และประเมินผลระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV (Short Form) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้น และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> 1) พบปัญหาทั้ง Pre-hospital&nbsp; In-Hospital และ Referral system 2) ระบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย (1) วิเคราะห์และศึกษาสภาพปัญหา (2) พัฒนาศักยภาพเครื่องข่ายด้านความรู้และปรับทัศนคติของผู้เกี่ยวข้อง (3) คัดกรองและค้นหาในชุมขน และโรงเรียน (4) ส่งต่อโรงพยาบาลชุมชนในรายที่ไม่ซับซ้อนส่งพบแพทย์ Coaching โดยจิตแพทย์เด็กและให้รักษา แต่ในรายที่ซับซ้อนส่งต่อโรงพยาบาลร้อยเอ็ด (5) คืนข้อมูล เพื่อติดตาม และดูแลร่วมกัน และ (6) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย After action review หลังดำเนินการแต่ละวงรอบ และ 3) ผลการประเมินระบบฯ พบว่า ความชุกของโรคสมาธิสั้น ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2564-2566 พบว่า คิดเป็น 9.11% (282/3,094), 9.66% (302/3,125), 11.43% (306/2,678) และพบอุบัติการณ์การก่อเหตุความรุนแรงลดลง คิดเป็น 70.0%, 50.0% และ 40.0% ตามลำดับ&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ :</strong> จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นสามารถลดปัญหาพฤติกรรมในเด็กสมาธิสั้นได้ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทต่อไป</p> จิดาภา แสงกล้า, รัชนีกร ไข่หิน, มานิตย์ ชาชิโย, ชาญณรงค์ ชัยอุดมสม, กรรณิการ์ โชคชาตรี, ประนอม นนทฤทธิ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/272065 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกวาร์ฟารินในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองพอก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/272147 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินผลรูปแบบการบริการคลินิกวาร์ฟารินในหน่วยงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหนองพอก</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong> : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีวิจัย</strong> : ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 15 คน และผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน จำนวน 50 คน ดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะดำเนินการ และระยะประเมินผล เก็บข้อมูลจากการสืบค้นในโปรแกรมระบบ HIS การสังเกต การสอบถามข้อมูล การประชุมกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล ได้แก่ แบบสอบถามประเมินความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วย ผลค่า INR ภาวะแทรกซ้อนการเกิด Major-Minor bleeding และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> : ได้รูปแบบการบริการคลินิกวาร์ฟารินในโรงพยาบาลหนองพอก ผลการประเมินรูปแบบพบว่า ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องยาวาร์ฟารินผ่านการประเมิน ร้อยละ 86.00 คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 14.94 คะแนน พฤติกรรมการใช้ยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 56.00 อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 44.00 INR อยู่ในช่วงเป้าหมาย (2-3.5) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54.18 เป็นร้อยละ 62.58 พบภาวะแทรกซ้อน Minor bleeding 12 ราย Major bleeding 1 ราย ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ได้ 4 ประเด็นดังนี้ ด้านการรับรู้ค่าการแข็งตัวของเลือด ด้านการใช้ยา ด้านการปฏิบัติตัว ด้านการมารับยาตามนัด</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> : การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกวาร์ฟารินควรเหมาะสมตามบริบทแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้ยาวาร์ฟารินที่มีประสิทธิภาพ และลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา</p> วิรังรอง ไชยจิตร, อัฐภิญญา ตะกรุดเพ็ง, พิมพ์พรรณ ทองประมูล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/272147 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700