วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi <p><strong>วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ </strong>โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีการควบคุมคุณภาพโดยทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฯ ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ซึ่งการพิจารณานั้นจะเป็นแบบ Double-blind review อย่างน้อย 2 ท่าน</p> สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด th-TH วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2774-0404 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p>บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง</p> การพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/273728 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริการผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย :</strong> การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับจำนวน 70 คน การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและความจำเป็น ในการพัฒนารูปแบบการบริการ 2) พัฒนารูปแบบการบริการ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา Percentage Differences และสถิติ Independent t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> พบว่าสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลโพนทอง &nbsp;มีรูปแบบการปฏิบัติไม่ชัดเจน ไม่เป็นแนวทางเดียวกัน ผู้ป่วยสับสนและกังวลกับการดูแลตนเองทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด มีการงดหรือเลื่อนผ่าตัดร้อยละ 14.3 เกิดภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 37.1 นำสู่การพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (TISC Model) ประกอบด้วย T: Team work (การทำงานเป็นทีม) I: Information (การให้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ) S: Self-efficacy (การเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตน) และ C: Caregiver (การมีส่วนร่วมของผู้ดูแล) และนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้พบว่า ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการรูปแบบเดิม มีอัตราการงดหรือเลื่อนผ่าตัดลดลง (80.00%) เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดลดลง (85.00%) การติดเชื้อของแผลผ่าตัดลดลง (100.00%) ส่วนการกลับมารักษาซ้ำใน 1 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบบริการมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการรูปแบบเดิม</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>รูปแบบการบริการผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับที่พัฒนาขึ้น เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ โดยส่งเสริมให้เกิดการรับรู้สมรรถนะการจัดการและการดูแลตนเอง สามารถเพิ่มประสิทธิผลด้านการงดหรือเลื่อนผ่าตัด การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด การเกิดแผลอักเสบ บวม แดง และการกลับมารักษาซ้ำใน 1 สัปดาห์ รวมทั้งยังช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยได้ ดังนั้นแนวทางที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการให้บริการพยาบาลสาขาอื่นๆต่อไป</p> กรรณิกา ศรีษะเกษ กุหลาบ พลเยี่ยม สกลรัขต์ รัตนแสง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 5 3 13 26 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก และดัชนีลูกน้ำยุงลาย (Container Index: CI) ของประชาชนในเทศบาลตำบลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/273781 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง&nbsp; ความคาดหวังในประสิทธิผล ความคาดหวังในความสามารถของตน พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค&nbsp; และค่าร้อยละของภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย (CI)&nbsp;&nbsp;</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group, pretest-posttest design)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือนจาก 5 หมู่บ้าน 486 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ(KR-20) เท่ากับ 0.82 แบบสอบถาม ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha-coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.83, 0.79, 0.86, 0.79 และ 0.83 ตามลำดับ และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (p&lt;.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 5.51 คะแนน (95%CI; 5.10, 5.59) ; กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยรวมมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (p&lt;.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยรวมมากกว่า 2.05 คะแนน (95%CI; 1.95, 2.15) และดัชนีลูกน้ำยุงลายโดยรวมในสัปดาห์ที่ 16 ลดลงจากสัปดาห์ที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 56.16&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ: </strong>ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเพิ่มขึ้นและดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI) ลดลง</p> มานะ ภูมิพันธุ์ กฤษฎา เสนาหาร อัฉราพร อุดมรักษ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 5 3 27 42 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ และการสนับสนุนทางสังคมกับการตีตราบาปทางสังคม ในเด็กสมาธิสั้นในโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/273936 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>&nbsp;เพื่อศึกษาการตีตราบาปทางสังคม เจตคติ และการสนับสนุนทางสังคมในเด็กสมาธิสั้น และศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ และการสนับสนุนทางสังคมกับการตีตราบาปทางสังคมในเด็กสมาธิสั้น</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>&nbsp;การสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่ป่วยด้วยโรคเด็กสมาธิสั้น ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากจากโรงเรียนในอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 116 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2566 โดยใช้เก็บแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson correlation coefficient</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> 1) การตีตราบาปทางสังคมต่อเด็กสมาธิสั้น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย และร้อยละ 35.5 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยและมีอารมณ์ความรู้สึกทางลบต่อเด็กสมาธิสั้นโดยรวมอยู่ในระดับน้อย การสนับสนุนทางสังคมต่อเด็กสมาธิสั้นโดยรวมทั้ง 4 มิติ อยู่ในระดับมาก และ 2) คะแนนเฉลี่ยเจตคติด้านอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบมีความสัมพันธ์ทางบวก (y2) (rxy=3.12, p = .001) และเจตคติด้านอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก (rxy=-.211,p =.023) มีความสัมพันธ์ในทางลบกับคะแนนการตีตราบาปทางสังคมในเด็กสมาธิสั้น</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ :</strong> ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้ได้แนวทางการลดการการตีตราบาปทางสังคมในเด็กสมาธิสั้น</p> จิดาภา แสงกล้า Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 5 3 43 57 ประสิทธิผลการพัฒนามาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพนวดและสปา จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274100 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อวิเคราะห์ผลการตรวจ ศึกษาแนวทางการพัฒนางานและจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ผลการตรวจสถานประกอบการย้อนหลังใน ปี พ.ศ.2565-2566 จากบันทึกผลการตรวจที่บันทึกไว้ ทำการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนางานที่ได้ดำเนินการในช่วงปี พ.ศ.2562-2566 และจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาสถานประกอบเพื่อสุขภาพ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบเก็บข้อมูลที่พัฒนาขึ้น และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>ประสิทธิผลการพัฒนามาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพนวดและสปาในจังหวัดขอนแก่น พบปัญหาในด้านสถานที่ ด้านความปลอดภัย และด้านการให้บริการ ซึ่งส่งผลต่อการไม่ได้มาตรฐาน และเกิดความไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงมีแนวทางเสนอแนะเพื่อพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประกอบด้วย 5 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) แนวทางการพัฒนาสถานที่ ด้านความปลอดภัย และด้านการให้บริการของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่เป็นมาตรฐานแนวทางเดียวกันที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ได้เลย มีสุขลักษณะ และได้มาตรฐาน 2) การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ เช่น มีการจัดทำ 1 อำเภอ 1 สถานประกอบต้นแบบภายใต้การบริหารจัดการตามบริบท 3) การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 4) การพัฒนาศักยภาพ สร้างความรอบรู้และอบรมให้ความรู้ให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่เป็นปัญหาให้กับผู้ประกอบกิจการและผู้ปฏิบัติงาน และ 5) การติดตาม ประเมินผล เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> <strong>: </strong>การศึกษาในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้การพัฒนามาตรฐานและความปลอดภัยให้กับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป</p> ยงรัตน์ วงค์สุนะ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-26 2024-09-26 5 3 83 97 การพัฒนาระบบการใช้นามบัตร QR Code เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาต้านไวรัส ของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลปทุมรัตต์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274179 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>: </strong>เพื่อพัฒนาระบบการใช้นามบัตร QR Code ในการส่งเสริมการเข้าถึงยาต้านไวรัสของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้นามบัตร QR Code ของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>ตัวอย่างเป็นกลุ่มติดเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในเขตโรงพยาบาลปทุมรัตต์ จำนวน 50 คน ระยะเวลาดำเนินการ 24 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรผลลัพธ์ด้านความรู้ด้านยาต้านไวรัสโดยใช้สถิติ Paired Samples t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% Confidence interval</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างจํานวน 50 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 31 คน (62.00%) ช่วงอายุ 50-59 ปี 22 คน (44.00%) สถานภาพโสด 22 คน (44.00%) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 26 คน (52.00%) คนได้ต่อเดือนไม่มีคนได้ 22 คน (44.00%) สิทธิในการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 42 คน (84.00%) โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ 43 คน (86.00%) และมีระยะเวลากินยาต้านไวรัสมากกว่า 10 ปี 20 คน (40.00%) ผลการวิจัยพบว่าคะแนนรวมเฉลี่ยหลังการทดลอง 12.59±1.55 คะแนน มากกว่าคะแนนรวมเฉลี่ยก่อนการทดลอง 10.18±2.63 คะแนน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนแบบประเมินความพึงพอใจหลังใช้นามบัตร QR Code พบว่ามีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือด้านลักษณะของนามบัตร QR Code มีคะแนนรวมเฉลี่ย 4.20±0.84 คะแนน ด้านความสะดวกในการใช้นามบัตร QR Code มีคะแนนรวมเฉลี่ย 4.35±0.70 คะแนน และด้านประโยชน์ที่ได้รับหลังใช้นามบัตร QR Code มีคะแนนรวมเฉลี่ย 4.39±0.73 คะแนน</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>:</strong> ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าคะแนนรวมเฉลี่ยหลังการทดลองมากกว่าก่อนทดลองอยู่ที่ 2.41 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิจัยครั้งนี้ได้ประเมินความพึงพอใจหลังใช้นามบัตร QR Code พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยคะแนนรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.31±0.76 คะแนน จัดอยู่ในระดับพึงพอใจมาก</p> จิราพร พรหมโคตร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 5 3 113 123 ประสิทธิภาพของการฝึกหายใจด้วยอุปกรณ์กระตุ้นความพยายามในการหายใจเข้าลึก ในผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจ: อาการทางคลินิก สมรรถภาพปอด และการวิเคราะห์ภาพ ถ่ายรังสีทรวงอกด้วยคอมพิวเตอร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274181 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการฝึกหายใจด้วยอุปกรณ์กระตุ้นความพยายามในการหายใจเข้าลึก (BreatheMAX®) ต่อการพื้นที่ปริมาตรปอดในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ และหาความสัมพันธ์ของปริมาตรปอดกับค่าสมรรถภาพปอดจากสไปโรมิเตอร์หลังผ่าตัด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย : </strong>ศึกษาข้อมูลเวชระเบียนและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่โรงพยาบาลขอนแก่น ตั่งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2560 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง (ใช้ BreatheMax®) และกลุ่มควบคุม (ฝึกหายใจลึก) รวบรวมข้อมูลและวัดปริมาตรปอดจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกโดยนักกายภาพบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึกภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>พื้นที่ปอดจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก ก่อนผ่าตัดไม่มีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม แต่หลังผ่าตัดทันที (Post-op day 0) พื้นที่ปอดลดลงชัดเจนในทั้งสองกลุ่มโดยไม่มีความแตกต่างที่นัยสำคัญทางสถิติ แต่ในวันที่ 1 และ 2 หลังผ่าตัด กลุ่มทดลองมีการฟื้นฟูพื้นที่ปอดได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และพื้นที่ปอดที่วัดในวันที่ 1 หลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์สูงกับค่าจริงในวันที่ 5 สำหรับตัวชี้วัด SVC, PEFR และ VT ซึ่งใช้ในการคาดการณ์การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>การฝึกหายใจด้วยอุปกรณ์ มีศักยภาพในการช่วยฟื้นฟูการขยายตัวของปอดในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจ โดยเฉพาะในช่วงหลังผ่าตัดระยะเริ่มต้น และค่าพื้นที่ปอดมีความสัมพันธ์สูงกับตัวชี้วัดของสไปโรมิเตอร์ แต่ยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ และประเมินสมรรถภาพปอดหลายแง่มุมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรมีการศึกษาผลลัพธ์ในระยะยาว</p> อาทิตยา ยศวงษ์ รักฝัน สวัสดิ์พาณิชย์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 5 3 124 136 ผลของการดูแลแบบการจัดการรายกรณีในชุมชนที่มีต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทซับซ้อน อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274336 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อเปรียบเทียบอาการทางจิตและความสามารถโดยรวมของผู้ป่วยจิตเภทที่ซับซ้อนได้รับการดูแลแบบการจัดการรายกรณีในชุมชน</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหัวช้างในระหว่างเดือนกันยายน 2562 ถึง ตุลาคม 2562 จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการดูแลแบบการจัดการรายกรณีในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การจัดการรายกรณีในชุมชน 2) แบบประเมินอาการทางจิต 3) แบบประเมินความสามารถโดยรวมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ สถิติอนุมานได้แก่ Paired t – test</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>1) ค่าเฉลี่ยของอาการทางจิตหลังได้รับการจัดการรายกรณี (37.2±3.67) ลดลงกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี 57.2(±7.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) และ 2) ค่าเฉลี่ยของความสามารถโดยรวมหลังได้รับการจัดการรายกรณี 64.5(±9.82) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี49.2(±7.03) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>:</strong> ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดการรายกรณีในชุมชนส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเภทซับซ้อนมีอาการทางจิตและความสามารถโดยรวมดีขึ้น ดังนั้นควรนำการจัดการรายกรณีมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทซับซ้อนในชุมชน</p> ทองพูน ชาบุญมี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-28 2024-10-28 5 3 137 145 การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอศรีสมเด็จ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274493 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบและการประเมินผลรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection)&nbsp; โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์ 2) ระยะพัฒนารูปแบบ และ 3) ระยะศึกษาผลลัพธ์การดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเชิงลึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และทำการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอศรีสมเด็จ ประกอบด้วย 1) การศึกษาบริบท สถานการณ์ที่เป็นอยู่ของชุมชน 2) การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ระดับตำบลระดับหมู่บ้าน 3) การกำหนดการประชุมกำหนดประเด็นการพัฒนาประจำปี การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อขับเคลื่อนงานตามประเด็นของแต่ละตำบล 4) การขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่ตามรูปแบบในการดำเนินงานโครงการแต่ละประเด็น ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพความรู้คณะทำงาน แกนนำ เครือข่าย และ 5) การติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกเดือน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน และมีการประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานด้วยองค์ประกอบ UCCARE</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> <strong>: </strong>ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ จะต้องมีการดำเนินงานด้วยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือที่ดีจากคณะกรรมในทุกระดับ และต้องมีการพัฒนาศักยภาพของคณะทำงาน แกนนำ และเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป</p> มานะ ศิริเลี้ยง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-12 2024-10-12 5 3 146 163 การพัฒนาระบบตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเงินการคลังของเครือข่ายสุขภาพจังหวัดมุกดาหาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274703 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินประสิทธิภาพระบบการตรวจสอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของเครือข่ายสุขภาพจังหวัดมุกดาหาร</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งการดำเนินการโดยอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกัน (Mutual collaboration approach)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย : </strong>เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม คือผู้บริหารโรงพยาบาล หรือหัวหน้าฝ่ายบริหารโรงพยาบาลหรือหัวหน้างานการเงิน จำนวน 15&nbsp; คน ผู้รับผิดชอบงานการเงิน และผู้ปฏิบัติการตรวจสอบการจัดทำรายงานทางการเงิน 7 คน และ ผู้ร่วมวิจัยได้แก่ เจ้าหน้าที่พัสดุ 20 คน โดยใช้แนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม แบบประเมินรายงานทางการเงิน&nbsp; และแบบประเมินการเพิ่มประสิทธิภาพการเงินการคลัง 5 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เปรียบเทียบร้อยละความแตกต่างของการดำเนินงานการควบคุมภายในด้านการเงินก่อนและหลังการพัฒนาฯ โดยใช้สถิติ Percentage differences</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>1) พบปัญหาทั้งเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางการเงิน เช่น เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อความถูกต้อง ครบถ้วนของงาน และความรู้ของผู้ปฏิบัติงาน การหมุนเวียนของผู้ปฏิบัติงานที่มีอัตราสูง การสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และความเข้าใจของผู้บริหารต่อระบบและการจัดทำบัญชี 2) ระบบตรวจสอบภายในครั้งนี้ประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์สภาพปัญหา (2) การประชุมชี้แจง/ทำความเข้าใจในรูปแบบและวิธีการตรวจสอบ (3) คืนข้อมูลและสรุปร่วมกันโดยหัวหน้าทีมจะเป็นผู้รวบรวม และเรียบเรียงสิ่งที่ได้ในแต่ละเรื่องที่ได้ตรวจสอบตามแนวทางที่กำหนด&nbsp; และ (4) นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาสรุปร่วมกัน และ 3) ประสิทธิภาพของรายงานความเสี่ยงทางการเงินของหน่วยงานในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดมุกดาหาร โดยรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 18.10</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>ผลการพัฒนาครั้งนี้ส่งผลให้เครือข่ายสุขภาพรายงานความเสี่ยงทางการเงินมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรนำระบบดังกล่าวนำมาใช้กับเครือข่ายสุขภาพทุกแห่ง</p> สุปรานี พรพิริยะศานติ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-30 2024-10-30 5 3 164 178 ประสิทธิผลของน้ำมันกัญชา (หมอเดชา) ต่อผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มารับบริการ ในโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274705 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชา (หมอเดชา)</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong><strong> :</strong> Quasi experimental study (One Group Pretest Posttest Design)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย</strong><strong> :</strong> กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 11 คน ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 2566 ระยะเวลา 5 เดือน โดยให้ผู้ป่วยใช้น้ำมันกัญชาทาลงบนผิวหนังบริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis Area and Severity Index : PASI) และแบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคผิวหนัง (Dermatology Life Quality Index : DLQI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired Sample t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.002) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงน้อยกว่า 0.91 คะแนน (95%CI: 0.44, 1.38) ส่วนคุณภาพชีวิตพบว่า ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต (DLQI) มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต (DLQI) มากกว่า 7.27 คะแนน (95%CI: 5.68, 8.69)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong><strong> : </strong>ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและความรุนแรงของโรคลดลง ดังนั้นหน่วยที่เกี่ยวข้องควรนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป</p> รังสิยา นันทะแสน ยุพารัตน์ บำเพ็ญรัตน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-21 2024-10-21 5 3 179 186 การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ผู้ป่วยนอกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274706 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในเขตตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> กลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง คือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับHbA1c 7-9 % ในเขตตำบลเชียงยืนที่รักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - เดือนกรกฎาคม 2566 จำนวน 261 ราย การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เขตตำบลเชียงยืน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ระยะที่ 2 วางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหาโดยมีการประชุมระดมความคิด และประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ระยะที่ 3 ดำเนินการโดยกระบวนการสร้าง Health literacy ระดับบุคคลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะที่ 4 สรุปประเมินผลการดำเนินการ</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> พบว่า จากการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจ และการสัมภาษณ์ โดยใช้กระบวนการสนทนาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing) ผลการวิเคราะห์ตนเองและการวิเคราะห์กลุ่ม ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดความตระหนักที่จะมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพ ตนเอง มีเป้าหมายและกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ ผลจากการใช้ My I – SMART Record พบว่าผู้ป่วยมีความเข้าใจในตนเอง มีแรงบันดาลใจในการที่จะดูแลตนเอง มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันกับทีมผู้ดูแลในการดูแลตนเองของผู้ป่วยแต่ละราย มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการที่จะปฏิบัติการดูแลตนเองสู่เป้าหมายตามความต้องการ นอกจากนี้ยังพบว่าผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานก่อน หลังของผู้ป่วยเบาหวานมีความแตกต่างกันที่ระดับน้อยกว่า .05 รวมถึง ระดับของ HbA1c หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับน้อยกว่า .05 และระดับการจัดการตนเองหลังการเข้าโปรมแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญระดับ .05</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ เป็นการพัฒนาการจัดการตนเองให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี เข้าใจสาเหตุจนกระทั่งวิธีการแก้ไข ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> โชติมณี เรืองกลิ่น อารยา ฉัตรธนะพานิช นฤมล จำปาบุญ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-20 2024-11-20 5 3 187 196 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของ ทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274727 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาและประเมินผลลัพธ์รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Mutual collaborative action research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> การวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1) ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในอำเภอธวัชบุรี ระยะที่ 2) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย และระยะที่ 3) การประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะเวลาการดำเนินวิจัยเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนตุลาคม 2566 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย (1) ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะที่ศึกษาสถานการณ์ จำนวน 30 คน และระยะการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย จำนวน 30 คน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในชุมชน จำนวน 100 คน (2) บุคลากรผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลธวัชบุรีและเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธวัชบุรี จำนวน 30 คน และ (3) ผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 10 คน ผู้ร่วมวิจัยเป็นบุคลากรทีมสหวิชาชีพผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลธวัชบุรีและเครือข่ายบริการ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi square test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> : (1) สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในอำเภอธวัชบุรีมีปัญหาในประเด็นเรื่องการเข้าถึงบริการการรักษาที่ล่าช้าและการสื่อสารของทีมสหสาขาวิชาชีพ เนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้และขาดความตระหนัก โดยการรักษาที่มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยความรวดเร็วในเข้าถึงเพื่อให้มีการประเมินตั้งแต่การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วในการให้การรักษาและการให้การพยาบาลจึงจะส่งผลต่อการรักษาที่ดีและลดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเสียชีวิต (2) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1) การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเพื่อการเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว องค์ประกอบที่ 2) กลไกการเฝ้าระวังและค้นพบผู้ป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มต้นในชุมชนอย่างรวดเร็วโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน องค์ประกอบที่ 3) ระบบการเข้าถึงบริการการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดและการฟื้นฟูระบบไหลเวียนอย่างรวดเร็ว (Fast Track) และองค์ประกอบที่ 4) นโยบายชัดเจนและมีการทำงานเป็นทีมสอดประสานแบบไร้รอยต่อ ส่วนผลลัพธ์ พบว่าประชาชนมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ดีต่อการจัดการโรคติดเชื้อในกระแสเลือดในครัวเรือนของตนเองและชุมชน พยาบาลปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ Sepsis Protocol โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.12, SD.=0.34) การดูแลผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อและเข้าสู่กระบวนการรักษาก่อนเกิดภาวะช็อกเพิ่มขึ้นจาก 51% เป็น 86% จำนวนผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลงจาก34% เป็น 12% จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ลดลงจาก 26.6% เป็น 11.8%</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายอำเภอธวัชบุรี ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นไปตามมาตรฐานเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งในด้านการพยาบาลและผลลัพธ์ทางคลินิกที่สำคัญ</p> ปิยนุช อนุแก่นทราย พรธิดา แสนสวนจิตร สุพัตรา พรมวงค์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-22 2024-10-22 5 3 197 209 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274728 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> &nbsp;เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ Kemmis and Mctaggart</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด 3 กลุ่ม ประกอบด้วย&nbsp; 1) พยาบาลผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย จำนวน 4 คน 2) พยาบาลผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 16 คน และ 3) ผู้ป่วยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในช่วงเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนเมษายน 2566 จำนวน 273 ราย เครื่องมือประกอบด้วยแนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม และคู่มือแนวปฏิบัติการพยาบาล มีดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ได้เท่ากับ 0.80 &nbsp;วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>พบว่า ยังไม่มีแนวปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นแนวทางของอำเภอเกษตรวิสัย แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ร่วมพัฒนา ประกอบด้วยการพยาบาลแบ่งตามระดับความรุนแรงของพฤติกรรมก้าวร้าว โดยพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเริ่มดูแลในกลุ่มผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ระดับ 2 และพยาบาลในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย ดูแลในกลุ่มผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ระดับ 3 แนวปฏิบัติการพยาบาลประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินสภาพปัญหาโดยใช้แบบประเมิน 10 ด้าน 2) การวินิจฉัยปัญหาจากแบบประเมิน 10 ด้าน 3) การวางแผนการดูแลโดยใช้ Care Plan ตามปัญหา10 ด้าน 4)การปฏิบัติการพยาบาลโดยการเยี่ยมบ้าน 4 ครั้ง ทุก 1 เดือน 5) การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล และ 6) การวางแผนดูแลต่อเนื่อง ผลลัพธ์หลังการดำเนินการ พบว่า ผู้ป่วยมารักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในลดลงจากร้อยละ 7.3 เหลือเป็นร้อยละ 2.6 &nbsp;และการประเมินคุณภาพการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติการพยาบาล โดยพยาบาล 20 คน พบว่า ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ ร้อยละ 100</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>:</strong> ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช และยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และลดการมารักษาในโรงพยาบาล ควรมีการทำการวิจัยเชิงทดลองต่อเพื่อให้สามารถแสดงถึงประสิทธิผลได้อย่างชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งควรมีการติดตามระยะเวลานานขึ้นมาก</p> ปิยวดี ราชพลแสน อรพรรณ สุนทวง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-22 2024-10-22 5 3 210 220 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274760 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) </p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย</strong> <strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างผู้รับผิดชอบงานและผู้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเขตจังหวัดพิจิตร การวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้รับผิดชอบงาน จำนวน 202 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยรวบรวมข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ การดำเนินงาน และแบบสัมภาษณ์ถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในเขตจังหวัดพิจิตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ Chi-square และ Binary logistic regression ข้อมูลเชิงคุณภาพสรุปเนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย Content Analysis</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขององค์กรปกครองท้องถิ่น คือ หน่วยงาน (AOR=2.32, p &lt; .05) ผู้ที่ไม่ใช้คู่มือการดำเนินงาน (AOR=2.57, p&lt; .05) ผู้ที่ไม่ใช้ไลน์กลุ่ม (AOR=2.22, p&lt; .05) ความรู้ (AOR=6.65, p&lt; .001) การออกแบบกิจกรรมของรูแบบการพัฒนาการดำเนินกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นพบว่าเนื้อหาที่เป็นส่วนขาด (Gap) ส่วนมากจะเป็นในส่วนรายละเอียดของความรู้ความเข้าใจ ดังนั้นการกำหนดกิจกรรมในการเรียนรู้จึงต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning และการพัฒนาทักษะ (Skill) และจัดระดับความสำคัญ (Priority setting) ของการเรียนรู้ตามเนื้อหาที่เฉพาะ (Specific content) หรือเนื้อหาพื้นฐานทั่วไป (Generic content) และทักษะเฉพาะ (Specific skill) หรือทักษะการปฏิบัติพื้นฐานทั่วไป (Generic skill) เพื่อเป็นการกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ นำมากำหนดความเข้มข้นของกิจกรรม ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำ (Remembering) อธิบาย (Understanding) และสามารถวิเคราะห์ได้ (Analyzing) รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้ได้ (Applying) ผู้รับผิดชอบงานจะเกิดเจตคติ (Affective Domain) ที่ดี รวมถึงเกิดทักษะ (Psychomotor Domain) ที่ดี ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานตามกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นดำเนินงานได้อย่างครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และบรรลุตามเกณฑ์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ<strong> </strong></p> <p><strong> </strong><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning ให้กับผู้รับผิดชอบงาน เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น</p> บุญศรี เขียวเขิน Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-23 2024-10-23 5 3 221 232 ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274761 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) โดยใช้การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในชุมชน</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 410 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบทดสอบสภาวะสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (TMSE) แบบประเมินการดำรงชีวิตในชุมชน (IADLs) แบบประเมินอาการทางจิต (NPI-Q) และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า (9Q) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Chi-Square Test และ Fisher’s Exact Test</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>พบว่าความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุอยู่ที่ร้อยละ 21.71 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ กลุ่มอายุ ลักษณะครอบครัว การศึกษา กิจกรรมทางสังคม โรคประจำตัว การสูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน รวมถึงการพึ่งพาผู้อื่น และอาการทางจิต</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนานโยบายและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมและการดูแลสุขภาพจิต ควรมีการติดตามและดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง</p> แวววลี พลเยี่ยม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-23 2024-10-23 5 3 233 244 การพัฒนาและประเมินรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนโดยใช้นวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต” ในโรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274821 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรค โดยการนำนวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต”</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> กลุ่มเป้าหมายจำแนกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะตรวจพบเชื้อรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลธวัชบุรี กลุ่มที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหลักด้านวัณโรคและกลุ่มที่ 3 เป็นทีมสหวิชาชีพที่ให้บริการผู้ป่วย รวม 55 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนกันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนโดยใช้นวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต” ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินความรู้ผู้ป่วยและญาติก่อนขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค 2) การให้ความรู้โดยใช้นวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต” และ 3) ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยหลังใช้นวัตกรรม “ใบไม้ช่วยชีวิต” หลังการพัฒนา พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโดยรวมเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดี (72.17%) จากเดิมที่อยู่ในระดับปานกลาง (58.50%) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับดี (95%) และพบว่า ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยรวมอยู่ในระดับดี (100%)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>นวัตกรรมที่นำมาใช้ในวิจัยครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปรับรูปแบบให้เหมาะสมและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อแก้ไขและพัฒนาระบบต่อไป</p> นารถวารินทร์ ชำนาญเอื้อ พัชนิดา ไชยชาติ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-26 2024-10-26 5 3 245 259 ประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานเพิ่มคนสุขภาพดี ในประชาชนวัยทำงาน จังหวัดมหาสารคาม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274822 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงาน“เพิ่มคนสุขภาพดี” จังหวัดมหาสารคาม</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental) &nbsp;</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> การศึกษารูปแบบการดำเนินงาน “เพิ่มคนสุขภาพดี” ในกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนกลุ่มวัยทำงาน จำนวน 1,559 คน โดยการคืนข้อมูลสุขภาพ ด้วยการวัดองค์ประกอบร่างกาย ประเมินความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเสี่ยงรายบุคคลและประเมินผลหลังได้รับโปรแกรม 6 เดือน และเปรียบเทียบผลก่อนและหลังดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกสุขภาพ เครื่องวัดองค์ประกอบร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าสัดส่วนก่อนและหลังดำเนินการ ด้วยสถิติ McNemar test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่าง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามรูปแบบการดำเนินงานเพิ่มคนสุขภาพดี จำนวน 1,559 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.6 มีอายุในช่วง 50-59 ปี ร้อยละ 37.3 กลุ่มอาชีพส่วนใหญ่เป็นผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น ร้อยละ 41.5 ผลการเปรียบเทียบสภาวะสุขภาพ ก่อนและหลังการดำเนินการ พบว่า ดัชนีมวลกาย รอบเอว มวลกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในร่างกาย ก่อนและหลังดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p&lt;.001, p=.018, p &lt;.001, p &lt;.001 ตามลำดับ โดยดัชนีมวลกายปกติ ก่อนดำเนินการ ร้อยละ 35.8 หลังดำเนินการเพิ่มเป็น ร้อยละ 38.2 รอบเอวปกติ ก่อนดำเนินการ ร้อยละ 47.1 หลังดำเนินการเพิ่มเป็น ร้อยละ 48.8 มวลกล้ามเนื้อปกติ ร้อยละ 88.9 หลังดำเนินการเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 93.5 และระดับไขมันในร่างกาย ปกติ ร้อยละ 76.2 หลังดำเนินการ เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 78.1</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>รูปแบบการดำเนินงานเพิ่มคนสุขภาพดี จังหวัดมหาสารคาม เป็นการกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามความเสี่ยงรายบุคคล ซึ่งใช้กระบวนการคืนข้อมูลรายบุคคล สร้างความรอบรู้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคลที่เหมาะสม</p> ปิยะลักษณ์ ภักดีสมัย พิสมัย ศรีทำนา ศิริรัตน์ จ่ากุญชร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-26 2024-11-26 5 3 260 270 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274823 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และศึกษาผลลัพธ์รูปแบบการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลโพนทอง</p> <p><strong>รูปแบบการศึกษา</strong> <strong>:</strong> การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) &nbsp;</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉิน ตึกอายุรกรรมหญิง อายุรกรรมชาย ทุกคนจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 - เมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ &nbsp;t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> ทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และความรู้เกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่ในระดับดีมาก การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด พบว่า&nbsp; อัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 30 นาที คิดเป็นร้อยละ 66.67 และอัตราการตายในโรงพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 6.67</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ :</strong> สามารถนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันไปใช้ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เพื่อเพิ่มผลลัพธ์และการบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ควรส่งเสริมพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพ ในทีมให้ได้รับการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพื่อพัฒนารูปแบบบริการอย่างต่อเนื่อง มีการเสริมแรง พัฒนาศักยภาพ สร้างความตระหนักแก่ทีมสหสาขาวิชาชีพและส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยเฉพาะการป้องกันการเกิดโรคตั้งแต่ระดับครอบครัวและในชุมชน</p> พนิดา พ้องเสียง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-27 2024-10-27 5 3 271 279 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274825 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาบริบท พัฒนารูปแบบ และประเมินผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา : </strong>กลุ่มเป้าหมายเป็นทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด 30 คน และผู้ป่วยระยะกลาง 934 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ โปรแกรม Nemo care และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย Paired t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> <strong>:</strong> จังหวัดร้อยเอ็ดมีการดำเนินการจัดระบบบริการการดูแลระยะกลาง ครอบคลุมทุกพื้นที่ 20 อำเภอ โดยมีการดำเนินการแบบ Intermediate bed จำนวน 12 แห่ง และแบบหอผู้ป่วยใน Intermediate ward 6 แห่ง รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในเครือข่ายบริการสุขภาพ จังหวัดร้อยเอ็ด&nbsp; ประกอบด้วย 1) การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC) จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนของเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด 2) พัฒนาคู่มือการการดูผู้ป่วยระยะกลาง และแนวทางการดูแลผู้ป่วย 3) พัฒนาหลักสูตรการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง 4) จัดประชุมทีมสารสนเทศโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดร่วมกันออกแบบวางแผนพัฒนาโปรแกรม ในการจัดเก็บข้อมูลและการเชื่อมต่อข้อมูลในโปรแกรม Nemo care ให้เป็นระบบและออกแบบระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (Network Design) ในระดับโรงพยาบาลแม่ข่ายและโรงพยาบาลลูกข่าย และจากกระบวนการวิจัย ส่งผลให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมผู้ป่วยทุกคน ผู้ป่วยได้รับการบริบาลฟื้นฟูสภาพระยะกลางและติดตามจนครบ 6 เดือนหรือค่า Barthel Index (BI)=20 ร้อยละ 55.25 ทำให้ระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบก่อนและหลังการพัฒนาฯ พบว่า หลังการพัฒนารูปแบบกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น มากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (Mean = 41.79, 95%CI = 35.06 – 48.53) และส่งผลให้คณะกรรมการมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 93.33</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีการดูแลผู้ป่วยระยะกลางเพิ่มขึ้น</p> รุจิรา จันทร์หอม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-18 2024-11-18 5 3 280 291 ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับความดันโลหิต ในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงเขตโรงพยาบาลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274894 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าระดับความดันโลหิตก่อน&nbsp; และหลังการใช้โปรแกรม</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research<strong>) </strong>&nbsp;</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย : </strong>กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 40 คน ดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัว และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.71 และ 0.80 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 5.50 คะแนน (95% CI; 3.38, 7.16) ; คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 37.28 คะแนน (95% CI; 34.69, 39.85) ; คะแนนเฉลี่ยความดันโลหิต Systolic น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) โดยมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต Systolic ลดลง 12.05 mmHg (95% CI; 9.57,16.32) ; คะแนนเฉลี่ยค่าความดันโลหิต Diastolic &nbsp;น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยค่าความดันโลหิตลดลง 12.95 mmHg (95% CI; 9.57,16.32) และมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก(Mean=2.84, SD.=0.30)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ :</strong> ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีผลลัพธ์เพิ่มขึ้นแต่ควรเพิ่มการกำกับติดตาม โดยออกเยี่ยมบ้านหรือติดตามผ่าน อสม. เพื่อกระตุ้นและเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง</p> กัญญาณัท ศักดิวงศ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-29 2024-10-29 5 3 292 301 การพัฒนารูปแบบการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผล โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274897 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อพัฒนารูปแบบการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผลโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย : </strong>เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ Kemmis &amp; McTaggart มาเป็นกรอบดําเนินงาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกตผลการดําเนินงาน (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย : </strong>ดำเนินการระหว่างเดือน กันยายน 2565 - เดือนตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบบันทึกการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติเพื่อลด Overutilization หรือ Underutilization ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>พบว่า รูปแบบการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผลโรงพยาบาล<br />จตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และบริบท 3 ด้าน 2) จัดทำแผนปฏิบัติการ 3) แต่งตั้งคณะกรรมการ RLU 4) ประกาศนโยบายเพื่อลด Overutilization หรือ Underutilization 5) พัฒนาระบบ IT Support Pop up 6) การติดตาม นิเทศงาน และประเมินกิจกรรมลงหน้างานเชิงรุก 7) ประเมินผลลัพธ์หลังการพัฒนา 8) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 9) ถอดบทเรียน</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>หลังการพัฒนาแพทย์มีความพึงพอใจต่อระบบ IT Support Pop up ในระดับสูงเพิ่มขึ้น การส่งตรวจ HbA1C ซ้ำลดลงถึง 33.19% ในขณะที่คุณภาพการรักษามีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งการดำเนินการตามแนวทางนี้จะช่วยลดการสั่งตรวจที่ไม่จำเป็นในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวิเคราะห์ที่ตรงจุดและคุ้มค่า และลดค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ไม่จำเป็น</p> กุศลาสัย สุราอามาตย์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-29 2024-10-29 5 3 302 313 การพัฒนาระบบบริการการบำบัดพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยจิตเภท ที่มีประวัติใช้สารเสพติด โรงพยาบาลจังหารและเครือข่ายบริการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274900 <p><strong>วัตถุุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาพัฒนารูปแบบ และประเมินผลของระบบบริการการบำบัดพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยจิตเภทที่มีประวัติใช้สารเสพติด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย :</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย :</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ตามเกณฑ์ ICD 10 หรือ เกณฑ์ DSM-IV จำนวน 5 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา (Compliance Therapy) แบ่งเป็น 3 ระยะ 5 ขั้นตอน ทำการบำบัดสัปดาห์ 1 ครั้งๆละ 45-60 นาที เป็นเวลา 5 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการบำบัด หลัง 1 เดือน และ 3 เดือน โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ One-way Repeated Measures ANOVA กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> ก่อนใช้โปรแกรมบำบัด พบว่า ผู้ป่วยมีทัศนคติ ความคิด ความเชื่อที่ไม่สมเหตุผล และหยุดกินยา เพราะคิดว่าตนเองไม่ป่วย เบื่อหน่ายและมีผลข้างเคียงจากการกินยา ภายหลังบำบัด 1 เดือน และ 3 เดือน พบว่า ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด พฤติกรรมให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา และมารับยาตามนัดในระยะติดตามผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตทุเลาลง มีพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา และมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ภายหลังการบำบัด 1 เดือน และ 3 เดือนดีขึ้นแตกต่างกันกับก่อนบำบัด</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ ช่วยให้ผู้ป่วยไว้วางใจให้ความร่วมมือในบำบัด และปรับพฤติกรรมความร่วมมือในการกินยาได้&nbsp; ดังนั้นพยาบาลและทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของอาการทางจิต ต่อไป</p> สุวรรณา ขันทับ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-29 2024-10-29 5 3 314 326 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3 อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274976 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3 อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวางแผนพัฒนา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3 ผู้นำชุมชน ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตัวแทนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน มูลนิธิกู้ภัย จำนวน 30 คน และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ใช้แผน คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 ของโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3 จำนวน 83 คน สุ่มเลือกอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ที่มีค่าอำนาจจำแนก 0.44 - 0.79 ค่าความยากง่าย 0.52 - 0.73 ค่าความเชื่อมั่น&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.73 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Cronbach's alpha) เท้ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Simple t-test&nbsp;</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> พบว่า กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะดำเนินการวิจัยจากการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3) ระยะสรุปผล ซึ่งทำให้เกิดแผนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ คือ การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน การปฐมพยาบาลภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้น การปฐมพยาบาลฉุกเฉินกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และการปฐมพยาบาลฉุกเฉินภาวะชัก จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใช้แผน มีระดับความรู้ ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ เพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) และมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนการมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่างวางแผนพัฒนาตั้งแต่เริ่มจนถึงสิ้นสุดการพัฒนาอยู่ในระดับมาก</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>ควรมีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ และดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อวัดประสิทธิภาพของแผนพัฒนาเพื่อจะได้แนวทาง เทคนิค วิธีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน</p> จีระพันธ์ คิดได้ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-02 2024-11-02 5 3 327 338 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274977 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม&nbsp; การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเขาย้อย ซึ่งขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 288 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับเหมาะสม (61.8%) (Mean=155.67, SD.=12.59) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประกอบด้วย 5 ปัจจัยเรียงตามลำดับที่มีอิทธิพลจากมากไปน้อยดังนี้ 1) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 2) อายุ 3) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4) เพศ และ 5) ความต่อเนื่องในการรักษา โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (45.7%) (R<sup>2 </sup>= .457)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>ควรพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เช่น การให้ความรู้เป็นกลุ่มย่อย การถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างและพัฒนาให้เกิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างยั่งยืน</p> ชมัยพร เสียงสนั่น Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-02 2024-11-02 5 3 339 351 การพัฒนารูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา Tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลหนองพอก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/275389 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ พัฒนารูปแบบและทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา TDF&nbsp; &nbsp;</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย :</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong>: การวิจัยแบ่งเป็นระยะที่ 1 เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยา TDF ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลแบบสอบถาม และรูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา TDF&nbsp;ที่พัฒนาขึ้นร่วมกับตารางปรับขนาดยา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา TDF ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ และระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนเมษายน – เดือนกันยายน 2567 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาณ ได้แก่ McNemar Test&nbsp;</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> พบอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 3 ราย เป็น DRPs ความรุนแรงระดับ C&nbsp;ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 พบเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 4 ราย ระดับ D จำนวน 1 ราย และระดับ E&nbsp; จำนวน 3 รายและในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (ตุลาคม 2566 -มีนาคม 2567) พบผู้ป่วยเกิดพิษต่อไตเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 5 ราย ระดับ&nbsp;C จำนวน 2 ราย ระดับ D จำนวน 2 ราย และระดับ E จำนวน 1 ราย ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจากความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพได้พัฒนารูปแบบการจัดการและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา TDF ได้ เป็น 5 ขั้นตอน คือ (1) การประเมิน EGFR (2) พบแพทย์ (3) ปรับขนาดยาตามตาราง (4) นัดติดตามภายใน 2-4 สัปดาห์ และ (5) การบริบาลทางเภสัชกรรม และหลังการใช้รูปแบบพบว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในด้านความคลาดเคลื่อนทางยาลดลงจากร้อยละ 11.6 เป็น 3.7 (p&lt;.05)&nbsp;และไม่พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตระดับรุนแรง และผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยพบว่ามีความพึงพอใจในภาพรวมทุกด้านในระดับมาก (Mean=4.51 และ 4.26)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ :</strong> รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ต่อการทำงานของสหวิชาชีพและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการดูแลรักษาผู้ป่วย หากมีการทบทวนการใช้รูปแบบและสะท้อนปัญหาการใช้งาน ปรับปรุงข้อมูลและเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สามารถป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดปัญหาจากการใช้ยาและสามารถปรับแผนการรักษาได้รวดเร็วทำให้ค่าการทำงานของไตของผู้ป่วยกลับเข้าสู่ค่าปกติได้</p> ธิราวรรณ จันทรบุตร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-21 2024-11-21 5 3 352 367 ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก โรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/275638 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการให้สุขศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก&nbsp;</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong> : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) เปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง (One group pretest – posttest design)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย</strong> : กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก ที่มารับบริการที่ห้องตรวจอัลตร้าซาวด์&nbsp;&nbsp; ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองพอก เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์การคัดเข้าคัดออก จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ จัดกิจกรรมการให้สุขศึกษา 5 ครั้ง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น ด้วยวิธีครอนบาค (Cronbach’s&nbsp; Alpha Coefficient) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้ผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้ (KR-20) และด้านการปฏิบัติ เท่ากับ 0.79 และ 0.72&nbsp; ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval&nbsp;</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> : หลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้สุขศึกษากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 2.80 คะแนน (95% CI; 1.94,3.67); คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.020) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 1.37 คะแนน (95% CI; 0.23, 2.50) และมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก (Mean=2.79, SD.=0.28)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> : ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่าโปรแกรมการให้สุขศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก&nbsp; ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น ดังนั้นควรนำโปรแกรมการให้สุขศึกษานี้ไปปรับใช้ในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มอื่นต่อไป</p> ละออง บุตรศาสตร์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-30 2024-11-30 5 3 368 379 การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/275639 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากการดำเนินการ</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยแบบประเมินผล</p> <p><strong>วัสดุและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ใช้แบบจำลองการประเมินผล CIPP Model กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านนโยบายและแผนของหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร จำนวน <br>76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบรายงานการประเมินผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong> : </strong>ผลการวิจัย พบว่า การประเมินผลด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับปานกลาง และการประเมินผลด้านผลผลิต พบว่าตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 84.09 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ คือบุคลากรขาดการมีส่วนร่วม บุคลากรไม่เพียงพอ และงบประมาณไม่เพียงพอ จึงควรมีการเปิดโอกาสให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน รวมถึงสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ และจัดสรรบุคลากรเพิ่มขึ้น<strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong></p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>ควรมีการวิจัยแบบต่อเนื่องเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ สำหรับเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> สว่างทิพย์ มีดี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-30 2024-11-30 5 3 380 389 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ของผู้รับบริการในคลินิกวัยใส โรงพยาบาลร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/275657 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของผู้รับบริการในคลินิกวัยใส โรงพยาบาลร้อยเอ็ด</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong> : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย</strong> : กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้รับบริการเพศหญิงที่มารับบริการคุมกำเนิดทุกประเภท&nbsp;&nbsp; ในคลินิกวัยใส โรงพยาบาลร้อยเอ็ด อายุมากกว่า 18 ปี หรือหากต่ำกว่า 18 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ดำเนินการระหว่าง เดือน มิถุนายน 2567 – เดือน ตุลาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Paired sample t-test และ Independent t- test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001)</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> : หลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม หลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> : โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้มีพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมดีขึ้น จึงควรขยายผลการดำเนินการวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ผู้ป่วยติดสารเสพติด หรือติดสุรา เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม</p> เทียมจิตต์ กัญยวงศ์หา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-02 2024-12-02 5 3 390 402 ผลการตรวจวัดไขมันชนิดของ LDL- Cholesterol โดยวิธี Direct กับวิธีการใช้สูตรคำนวณ Friedewald ของผู้มารับบริการ ตามแนวทางการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุสมผล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/275866 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาระดับ LDL-cholesterol ค่าที่ได้จาก สูตรคำนวณของ Friedewald เปรียบเทียบกับการวัดค่า LDL-cholesterol โดยตรงจากเครื่องตรวจอัตโนมัติ&nbsp;</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>:</strong> กึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการที่ตรวจ Lipid profile ที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง ระหว่าง 1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566 ได้จากการสุ่มอย่างง่ายตามคุณสมบัติจำนวนกลุ่มละ 472 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ระบบ LIS เครื่องตรวจอัตโนมัติ สูตรคำนวณของ Friedewald G*program การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกผลทางห้องปฏิบัติการและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบ Independent t- test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ที่ระดับ Triglyceride &lt;100,100-199.200-299,300-399,400 mg/dl</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวัด LDL- cholesterol โดยตรงกับการคำนวณพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r=0.995, 0986, 0.947, 0.914 เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างดีมาก ทั้งสองวิธีมีความมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001, p&lt;.001, p=.014, p=.021) สามารถใช้แทนกันได้ ในช่วงความเข้มข้นTriglyceride &lt; 400 mg/dl ในขณะที่ค่า Triglyceride &gt; 400 mg/dl พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .096) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ลดลงมาก r= 0.665 ทำให้การวิเคราะห์ LDL- cholesterol โดยคำนวณใช้สูตร Friedewald มีความคลาดเคลื่อนมาก จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการตรวจวัด LDL- cholesterol โดยตรง</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>:</strong> วิธีคำนวณมีความสัมพันธ์กันดีกับวิธี Direct สามารถใช้แทนกันได้ที่ Triglyceride &lt; 400 mg/dl แต่ระดับ Triglyceride &gt; 400 mg/dl ควรตรวจหาค่าLDL- cholesterol โดยใช้วิธีวัดโดยตรงจากเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติจะมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องมากกว่าประโยชน์จากการศึกษานี้ ช่วยลดรายจ่ายในการจัดซื้อน้ำยาตรวจวัดค่า LDL- cholesterol คิดเป็นเงิน เท่ากับ 111,000บาท ราคาต้นทุนวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ลดลงร้อยละ 2.92</p> กนิษฐา นิลผาย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-11 2024-12-11 5 3 403 414 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน : กรณีศึกษา 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274097 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลและเปรียบเทียบความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 4 ด้าน กรณีศึกษา 2 ราย&nbsp;</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong>: การเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย</p> <p><strong>วัสดุ และวิธีการวิจัย</strong>: การศึกษารายกรณีนี้เป็นการเปรียบเทียบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 2 ราย โดยผู้ป่วยกรณีศึกษาที่ 1 เข้ามารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเมืองสรวง ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2566 และผู้ป่วยกรณีศึกษาที่ 2 เข้ามารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเมืองสรวง ระหว่างวันที่ 9-11 เมษายน 2566 การเก็บข้อมูล โดยใช้แนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาล การดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวม ร่วมกับการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน (Self-Efficacy Theory) แบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน แบบประเมิน INHOMESSS และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Bethel ADL Index)</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: พบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 เมื่อจำหน่ายกลับบ้านผู้ป่วยมีผู้ดูแลบุตรสาวช่วยทำกายภาพบำบัด และได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน 6 ครั้ง ให้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวม ร่วมกับการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน (Self-Efficacy Theory) และติดตามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ด้วยแบบประเมิน Bethel ADL Index คะแนน 14/20 และผู้ป่วยรายที่ 2 เมื่อจำหน่ายกลับบ้านผู้ป่วยมีผู้ดูแลเป็นบุตรสาวให้กำลังใจ และได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน 6 ครั้ง ให้การพยาบาลแบบองค์รวม ร่วมกับประยุกต์ใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน (Self-Efficacy Theory) และติดตามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ด้วยแบบประเมิน Bethel ADL Index คะแนน 13/20</p> <p><strong>สรุป และข้อเสนอแนะ</strong> : การศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า การที่ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลแบบองค์รวม มิติทางกาย มิติทางจิต มิติทางสังคม มิติทางปัญญา ร่วมกับประยุกต์ใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน (Self-Efficacy Theory) ในระยะ 6 เดือน ทำให้ผู้ป่วยมีทักษะที่จะปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม และมีกำลังใจ มีความคาดหวังในความสามารถที่จะตัดสินว่าบุคคลจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรมีการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อผลลัพธ์การรักษาอยู่ในเกณฑ์ดี</p> ปิยะนุช บุญวิเศษ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-26 2024-09-26 5 3 58 82 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อกในงานการพยาบาลผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา เปรียบเทียบ 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/274101 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการวางแผนการพยาบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันตรายและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย และเพื่อการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับมีภาวะช็อคที่เหมาะสมผู้ป่วยแต่ละรายในทุกระยะของการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่แรกรับจนถึงการจำหน่าย</p> <p><strong>รูปแบบการศึกษา</strong> : เป็นการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยรายกรณี ศึกษาเปรียบเทียบกัน 2 ราย</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>ทำการศึกษาในรูปแบบกรณีศึกษา เลือกผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อกที่มารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเมืองสรวงระหว่างเดือนตุลาคม 2566 – เดือนธันวาคม 2566 โดยศึกษาจากการปฏิบัติงานและจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยทำการศึกษาในผู้ป่วย 2 รายเพื่อเปรียบเทียบกัน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> : </strong>ภาวะช็อกจากการติดเชื้อกระแสเลือดหากได้รับการประเมินการคัดกรองอย่างถูกต้อง จะนำมาสู่การวินิจฉัยโรค และการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานซึ่งมีหน้าที่ในการให้การพยาบาลและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย นับว่าเป็นบุคคลสำคัญในการดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในทุกระยะของการรักษาตั้งแต่กระบวนการในการคัดกรองผู้ป่วย การประเมิน การเฝ้าระวังติดตามอาการ การประสานงานกับทีมที่เกี่ยวข้องในการรักษาตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งบทบาทดังกล่าวนับว่าเป็นความท้าทายในการที่จะพัฒนาองค์ความรู้และฝึกฝนทักษะในการพยาบาลขั้นสูงในการจัดการกับภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยเร็วที่สุดระบบการไหลเวียนโลหิตกลับคืนสู่สภาวะปกติ ลดความรุนแรงจากความทุพลภาพและเสียชีวิต</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>:</strong> กรณีศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อกได้</p> จีรนันท์ พันธุ์พาณิชย์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-26 2024-09-26 5 3 98 112