วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri th-TH [email protected] (ผศ.ดร.ตั้ม บุญรอด (บรรณาธิการ)) [email protected] (วิชชาดา สิมลา และอาทิตยา จันทระ) Sun, 31 Dec 2023 11:06:53 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/268067 ตั้ม บุญรอด Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/268067 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/265734 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารหวานจนเกินไป การรับประทานบ่อย หรือการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi – experimental study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในเขตอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จำนวน 71 คน เป็นกลุ่มทดลอง 34 คน กลุ่มควบคุม 37 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ กิจกรรมที่ใช้ ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การวางแผนมื้ออาหารโดยใช้ Food plates การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และการวัดความหวานในอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test, Independent t – test, Wilcoxon Sign Rank test, Mann – Whitney U test, McNemar test, Chi – squared test, Fisher exact probability test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-</em>valu<em>e </em>= 0.033) สำหรับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (<em>p-</em>value = 0.186) ทัศนคติ (<em>p-</em>value = 0.375) และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (<em>p</em> = 0.089) ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: ค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ระหว่าง กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> อาทิตยาณ์ จันทร์อ่อน, ศศินา สุวรรณบรรดิฐ, วาสนา สุระกำแหง, วิฑูรย์ สุทธิมาส Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/265734 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด จังหวัดพะเยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/266963 <p><strong>บทนำ: </strong>วัณโรค (Tuberculosis: TB) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ <em>Mycobacterium Tuberculosis</em> เป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตในหลายๆ ประเทศทั่วโลก มีช่องทางการติดต่อผ่านทางเดินหายใจจากผู้ป่วย เช่น การไอ จาม องค์การอนามัยโลก มีการคาดประมาณว่าในปี พ.ศ. 2563 อุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรค ของโลกสูงถึง 9.9 ล้านคน (127 ต่อแสนประชากร) มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตสูงถึง 1.3 ล้านคน (ร้อยละ 13.13) ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรค 105,000 ราย (150 ต่อแสนประชากร) ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต 12,000 ราย (ร้อยละ 11.43) องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง จังหวัดพะเยามีผู้ป่วย 589 ราย (125 ต่อแสนประชากร) ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต 95 ราย (ร้อยละ 16.13) ซึ่งสูงกว่าในระดับโลกและประเทศไทย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) ในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค จำนวนทั้งสิ้น 925 ราย ในจังหวัดพะเยา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 จากสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนที่มี TB Clinic 7 แห่ง วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการรักษาวัณโรค ด้วยสถิติ Chi-square test และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก กำหนดค่าระดับการมีนัยสำคัญไว้ที่ <em>p </em>&lt; 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จในการรักษาวัณโรคปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( <em>p </em>&lt; 0.05) ได้แก่ อายุของผู้ป่วย สถานะการประกอบอาชีพการงาน ค่าดัชนีมวลกายของผู้ป่วย ภาวะการมีโรคร่วมในผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ การป่วยเป็นเบาหวาน การป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง และผลการตรวจเสมหะจากห้องปฏิบัติการ</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> ผลจากการวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้ในการพิจารณากำหนดแนวทางให้การดูแล กำกับติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในระบบการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง เนื่องจากผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อความล้มเหลวในการรักษาหรือความสำเร็จในการรักษาวัณโรค</p> อภิรุจี เกนทา, บุญลือ ฉิมบ้านไร่ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/266963 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอละงู จังหวัดสตูล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/267874 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วย และเสียชีวิตของประชาชนทั่วโลก ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอละงู จังหวัดสตูล</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษาวิจัยแบบ Retrospective study โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 199 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเวชระเบียนของโรงพยาบาลละงู ระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง (2560-2564) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 บันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม Epi-data v.3.1 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม R โดยใช้สถิติ logistic regression นำเข้าตัวแปรที่มีค่า <em>p</em>-value&lt;0.25 และวิเคราะห์หลายตัวแปรโดยนำเสนอค่า Adjust odds ratio และช่วงความเชื่อมั่นที่ 95%</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยมีอายุเฉลี่ย 72.7 ปี (SD±13.60) และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยมีอายุเฉลี่ย 66.7 ปี (SD±13.70) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 คือ ผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (OR=1.9, <em>p</em>-value=0.046) เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย (OR=4.0, <em>p</em>-value &lt;0.001) ค่าระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 mg/dl (OR=4.1, <em>p</em>-value&lt;0.001) ค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 mg/dl (OR=4.4, <em>p</em>-value&lt;0.001) และค่าอัตราการกรองไตอยู่ในระยะที่ 3 (OR=3.2, <em>p</em>-value=0.008)</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: ผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคเบาหวานร่วมด้วย ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง และมีค่าอัตราการกรองไตระยะที่ 3 มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%</p> เบญญทิพย์ รัตนพันธ์, ชนิกานต์ ปราบเสร็จ, นิตยา ลิ่มวิริยะกุล, มาริยา หัสมา Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/267874 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการจัดการอาหารร่วมกับกิจกรรมทางกายต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/267459 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>โรคเบาหวานเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งอินซูลินหรือการทำงานผิดปกติ ผลที่ตามมาคือภาวะน้ำตาล ในเลือดสูงเรื้อรัง โปรแกรมการจัดการอาหารร่วมกับกิจกรรมทางกายจะช่วยเพิ่มการหลั่งอินซูลิน การออกฤทธิ์ของอินซูลิน และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้</p> <p>วิธีดำเนินการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Quasi-experimental, two group pretest-posttest designs) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่มีผลการประเมินค่าระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100-125 มก/ดล. แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการอาหารร่วมกับกิจกรรมทางกายเป็นเวลา 12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม จำนวน 35 คน ดูแลตามแนวทางปกติ ช่วงเวลาการศึกษาเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย ประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดด้วย Lab Fasting Blood Sugar (FBS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi- square test, Paired t-test และ Independent t-test</p> <p>ผลการศึกษา: ผลการวิจัยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจาก 116.40 (SD= 5.28) เหลือ 101.91 (SD= 4.21) มก./ดล. (95% CI= 12.05 ถึง 16.92) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt; .05) ขณะที่กลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดจาก 116.11 (SD= 5.62) เป็น 115.77 (SD= 6.06) มก./ดล. (95% CI= -0.40 ถึง 1.08) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&gt; .05) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 13.86 มก./ดล. (95% CI= -16.35 ถึง -11.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt; .05)</p> <p>สรุปผล: ควรใช้โปรแกรมเป็นแนวทางดูแลกลุ่มเสี่ยงเบาหวานเนื่องจากช่วยปรับปรุงการหลั่งอินซูลินและการทำงานของอินซูลินจึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาวต่อไป</p> กาญจนาภรณ์ ไกรนรา Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/267459 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ Human papillomavirus ของสตรีในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/267589 <p><strong>บทนำ</strong>: มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Human papillomavirus (HPV) โดยความชุกของการติดเชื้อ HPV ที่ผ่านมามีผลแตกต่างกันไปในแต่ละการศึกษา และปัจจัยเสี่ยงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษาหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ HPV ในจังหวัดพื้นที่นนทบุรีมาก่อน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV ของสตรีในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง โดยใช้ข้อมูลจากฐานของระบบ HPV Screening ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (NCI) โดยมีเกณฑ์คัดเข้า คือ สตรีไทยที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2564 ถึงเดือนสิงหาคม 2566 จำนวน 12,118 ราย และเกณฑ์คัดออก คือ ผู้ที่ไม่มีผลแสดงการติดเชื้อเป็นบวกหรือลบ หรือมีข้อมูลในระบบไม่เพียงพอต่อเก็บหรือวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บข้อมูลดำเนินการเก็บข้อมูลฐานข้อมูล NCI ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ผลการตรวจ HPV DNA test และผลการตรวจด้วยวิธี liquid based cytology (LBC) โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติ logistic regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ความชุกของการติดเชื้อ HPV ของสตรีในพื้นที่นนทบุรี คิดเป็นร้อยละ 7.93 และการติดเชื้อ HPV Type non 16, 18 ร้อยละ 5.72 HPV Type 16 ร้อยละ 1.59 และ HPV Type 18 ร้อยละ 0.62 ตามลำดับ และมีปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) ได้แก่ อายุ น้อยกว่า 30 ปี (adjusted Odd Ratio [adjOR]=3.01, 95% CI=1.59 - 5.70) อายุระหว่าง 30-45 ปี (adjOR=1.48, 95% CI=1.22 - 1.80) และประวัติการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน (adjOR=0.35, 95% CI=0.19 - 0.67) </p> <p><strong>สรุปผล:</strong> การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความชุกของการติดเชื้อ HPV ในจังหวัดนนทบุรี และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการคัดกรองผู้ป่วย อีกทั้งการส่งเสริมการตรวจคัดกรองการได้รับวัคซีนในสตรีอายุน้อย และการหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน จะสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ในอนาคตได้</p> อารยา เอี่ยมกุลเจริญศรี Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/267589 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700