วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ th-TH วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข 2822-0382 บทบรรณาธิการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/273514 ตั้ม บุญรอด Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 2 2 ผลการรักษาและปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาไม่สำเร็จของผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/273368 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>จากข้อมูลการรายงานผู้ป่วยวัณโรคของโรงพยาบาลรัตภูมิ ปีงบประมาณ 2559 - 2564 พบจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรค ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 - 2564 มีจำนวน 36, 23, 34, 46, 42 และ 27 ราย ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าร้อยละ 50 เป็นผู้ป่วยที่เคยรักษาวัณโรคมาก่อนแล้วกลับมาเป็นซ้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราผลการรักษา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความไม่สำเร็จของการรักษา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยวัณโรค ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2564 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 208 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Chi-square test หรือ Fisher exact test และLogistic regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>อัตราผลการรักษาที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 18.7 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาไม่สำเร็จของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ โรคเอดส์ (HIV) ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยรักษาวัณโรคมาก่อน การไม่มีผู้กำกับการกินยา ผลการ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;X-ray ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ผลการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์เดือนที่ 2 5 และ 6 และการทดสอบความไวต่อยารักษาวัณโรค Streptomycin, Isoniazid, Rifampicin, Ethambutol</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>อัตราผลการรักษาไม่สำเร็จ ร้อยละ 18.7 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาไม่สำเร็จของผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ โรคเอดส์ (HIV) ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยรักษาวัณโรคมาก่อน การไม่มีผู้กำกับการกินยา &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;การ X-ray การตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการทดสอบความไวต่อยารักษาวัณโรค</p> วิชชุตา วังช่วย ศิยาภรณ์ บุญรุ่ง วาสนา สุระกำแหง วิฑูรย์ สุทธิมาส Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 2 2 1 17 การยอมรับและความลังเลในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชน ในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/273442 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล พบผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 สะสม จำนวน 862 คน ประชากรที่มีความประสงค์รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 จำนวน 16,898 คน คิดเป็น 62.05 % ของประชากรอำเภอควนโดนซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชาชนทั้งอำเภอ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับและความลังเลในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical study) แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จำนวน 443 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน <em>(</em>Multi-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าสัดส่วน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนการยอมรับวัคซีน ร้อยละ 50.1 มีความลังเลในวัคซีนร้อยละ 31.8 และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ไม่ยอมรับวัคซีน ร้อยละ 18.1 ในกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับวัคซีนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว ร้อยละ 97.7 เหตุผลเพื่อสะดวกต่อการเดินทางและการดำเนินชีวิต ร้อยละ 44.7 ส่วนมากรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จากแพทย์ ร้อยละ 63.4 กลุ่มตัวอย่างที่มีความลังเลวัคซีนส่วนมากเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ร้อยละ 66.0 เหตุผล เนื่องจากไม่ประสงค์จะรับวัคซีน ร้อยละ 82.8 ส่วนมากรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จากโซเชียลมีเดีย ร้อยละ 86.3 กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ยอมรับวัคซีนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ร้อยละ 98.8 เหตุผลเนื่องจากไม่ประสงค์จะรับวัคซีน ร้อยละ 93.7 รองลงมา คือ ไม่มั่นใจในวัคซีน ร้อยละ 3.8 และกลัวผลข้างเคียง ร้อยละ 2.5 ส่วนมากรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จากครอบครัว/เพื่อน ร้อยละ 20.0</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนการยอมรับวัคซีน ร้อยละ 50.1 มีความลังเลในวัคซีนร้อยละ 31.8 และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ไม่ยอมรับวัคซีน ร้อยละ 18.1 เหตุผลสำคัญเกี่ยวข้องกับผลข้างเคียง และความปลอดภัยของวัคซีน ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ได้รับจากแพทย์ โซเชียลมีเดีย และครอบครัว/เพื่อน</p> ชลลดา แก้วสองสี รสสุคนธ์ คำกลั่น สถาพร ภัทราภินันท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 2 2 18 31 ผลของการใช้โปรแกรมการลดการบริโภคโซเดียมในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/273447 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง พบว่า กลุ่มเสี่ยงบริโภคอาหารหวาน มัน และเค็ม ขาดความรู้ที่จำเป็นในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การไม่ออกกำลังกาย หากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็จะพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ตามมา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่ม วัดก่อน และหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมในการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ ปริมาณโซเดียมในอาหาร และค่าระดับความดันโลหิต กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง จำนวน 37 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 37 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Wilcoxon match pairs sign rank test และ Mann-Whitney U test</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ในกลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม การเติม เครื่องปรุงในอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม ปริมาณโซเดียมในอาหาร ค่าระดับความดัน Systolic และค่าระดับความดัน Diastolic (p-value &lt; 0.001) ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม (p-value=0.013) พฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงในอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม (p-value=0.003) ปริมาณโซเดียมในอาหาร (p-value &lt;0.001) ค่าระดับความดันโลหิต Systolic (p-value=0.027) และค่าระดับความดันโลหิต Diastolic (p-value=0.006) ระหว่างกลุ่มทดลอง และ กลุ่มเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม พฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงในอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม ปริมาณโซเดียมในอาหาร ค่าระดับความดันโลหิต Systolic และค่าระดับความดันโลหิต Diastolic ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ไมมูณี อิสายะ มลธนิญา คงสม สถาพร ภัทราภินันท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 2 2 32 44 การสร้างฐานข้อมูลระบุจุดเสี่ยงเส้นทางน้ำล่องแก่ง ในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ด้วยโปรแกรม Google My Maps https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/272864 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> กิจกรรมล่องแก่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยและเป็นที่นิยมมากในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะการล่องแก่งที่ป่าพะยอม จะมีนักท่องเที่ยวนิยมมาล่องแก่ง โดยในการล่องแก่งนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นการประเมินจุดเสี่ยงตลอดเส้นทางล่องแก่งมีความจำเป็นและสร้างความปลอดภัยมากขึ้น</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงเส้นทางน้ำล่องแก่งอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เพื่อสร้างฐานข้อมูลระบุจุดเสี่ยงเส้นทางน้ำล่องแก่ง ด้วยโปรแกรม Google My Maps อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง โดยกำหนดระยะทางเส้นทางล่องแก่งเท่ากับ 6 กิโลเมตรและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการประเมินความเสี่ยง</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> &nbsp;การประเมินความเสี่ยงด้วย Checklist&nbsp; จุดเสี่ยงที่พบ คือ แก่งลุงจวน แก่งพี่ แก่งน้อง แก่งมดแดง แก่งยาว แก่งทุ่งชุมพล แก่งวังวน แก่งไม้ไผ่ แก่งธาราริน แก่งต้นน้ำ กระแสน้ำไหลเชี่ยว โขดหิน/ก้อนหิน&nbsp; ต้นไม้ใหญ่/ตอไม้&nbsp; ทางแยก พุ่มไม้ แหล่งน้ำลึก&nbsp; สะพาน&nbsp; แหล่งน้ำวน&nbsp; มีพื้นที่จุดเสี่ยงอันตราย ทั้งหมด 28 จุด พบจุดเสี่ยงยอมรับได้ 12 จุด และ จุดเสี่ยงสูง 16 จุด และจากการพัฒนาโปรแกรมระบุจุดเสี่ยงเส้นทางน้ำล่องแก่ง จะแสดงในรูปแบบของฐานข้อมูลของแผนที่ และเมื่อค้นหาจุดเสี่ยงในแต่ละจุด ก็จะแสดงผลการค้นหาและรายละเอียดของจุดนั้นๆ โดยสีของแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป สีเขียวคือจุดปลอดภัย สีเหลืองคือความเสี่ยงยอมรับได้ และสีส้มคือความเสี่ยงสูง</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>: </strong>ในกิจกรรมล่องแก่งจะมีจุดเสี่ยงที่นักล่องแก่งต้องใช้ความระมัดระวัง และให้ความสนใจในเรื่องความปลอดภัย เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการลองแก่งหรือการประสบอันตราย</p> ศศิกานต์ วงศ์มุสา อวาติฟ หะมะ ธิติมา ณ สงขลา ธนาวัฒน์ รักกมล สุธีร์ อินทร์รักษา Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 2 2 45 54