https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/issue/feed
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข
2024-12-31T21:46:45+07:00
ผศ.ดร.ตั้ม บุญรอด (บรรณาธิการ)
btum@tsu.ac.th
Open Journal Systems
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/276290
บทบรรณาธิการ
2024-12-31T21:46:45+07:00
ตั้ม บุญรอด
btum@tsu.ac.th
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/275909
ระยะเวลา และปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดในครัวเรือน อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
2024-12-27T16:48:56+07:00
วรรณภา สุตาติ
wannapa.2024@hotmail.com
วิลาสินี มากชุม
wannapa.2024@hotmail.com
สุดา ขำนุรักษ์
wannapa.2024@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2565 พบ ผู้ป่วยสะสม จำนวน 1,433,291 ราย มีผู้เสียชีวิตรายวันอยู่ที่ 92 ราย สำหรับในพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 18,285 ราย สำหรับพื้นที่อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 1,001 ราย จากสถานการณ์ดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาระยะเวลา และปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19) ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดในครัวเรือน อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 และปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดในครัวเรือน อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ป่วยโรค COVID-19 จำนวน 484 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชทะเบียนการตรวจคัดกรองโรค COVID-19 ได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธี RT-PCR ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 0.85 ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และ Logistic regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดในครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ เพศ (p-value <0.001; 95% CI =1.6-4.4) อายุ (p-value = 0.044; 95% CI =1.0-2.6) อาชีพ (p-value = 0.018; 95% CI =0.1-0.8) การสัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยยืนยันและแสดงอาการ (p-value <0.001; 95% CI =4.6-246.4) กลุ่มคนที่มีดัชนีมวลกายอ้วนระดับ1 (p-value = 0.050; 95% CI =1.0-5.0) และอ้วนระดับ3 (p-value = 0.044; 95% CI =1-19)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>เพศ อายุ อาชีพ การสัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยแสดงอาการ และค่าดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดในครัวเรือน ดังนั้นหน่วยบริการสาธารณสุขควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการป้องกันโรค COVID-19</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข