วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya <p>วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ดำเนินการโดยสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ สามารถตีพิมพ์บทความได้ 6 รูปแบบ คือ 1.บทบรรณาธิการ 2.นิพนธ์ต้นฉบับ 3.บทความฟื้นฟูวิชาการ 4.รายงานเบื้องต้น 5.รายงานผู้ป่วย และ 6.ปกิณกะ โดยบทความที่ส่งตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2-3 ท่าน ต่อ 1 บทความ</p> สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา th-TH วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 3027-8546 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา</p> <p>&nbsp;</p> การพัฒนาความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกโดยการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/269741 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> 1) เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมต่อความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก และ 2) เพื่อศึกษาผลของความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบปกติของโรงเรียน</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> การวิจัยเป็นกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น ผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยเป็นผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และขึ้นทะเบียนผู้พิการโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 14 คน และสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน โดยกำหนดให้เป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามระบบปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบวัดความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก และ 2) การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการพัฒนาความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก จำนวน 10 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test</p> <p><strong>ผล : </strong>1) ความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม หลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ผู้ปกครองเด็กออทิสติกกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีความสามารถในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกเพิ่มขึ้นกว่าผู้ปกครองเด็กออทิสติกกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>สรุป :</strong> การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมสามารถพัฒนาความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกได้</p> อินทุอร ประจิตร ชลพร กองคำ กาญจนา สุทธิเนียม Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-17 2024-10-17 18 2 1 14 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจของนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/267188 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจ เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลกับความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจ</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับอายุ 18 - 60 ปี และแบบประเมินความยืดหยุ่นทางจิตใจ (CD-RISC) ฉบับภาษาไทย สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความแปรปรวนแบบสองทาง สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และศึกษาความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p><strong>ผล : </strong>กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 370 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.5 ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 33.8 เกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ร้อยละ 41.4 และรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 4,001 - 6,000 บาท ร้อยละ 33.2 พบว่า เพศ ชั้นปีที่ศึกษา เกรดเฉลี่ยที่ต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจไม่แตกต่างกัน แต่ระดับความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย (Mean = 156.3, S.D. = 17.32) และความยืดหยุ่นทางจิตใจสูง ร้อยละ 99.2 รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง (r = 0.337) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p><strong>สรุป :</strong> นิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย และความยืดหยุ่นทางจิตใจสูง รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความฉลาดทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน และความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจมีความสัมพันธ์กันทางบวก</p> กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร ปุณมนัส ขันคำมาละ อุษณีษ์ เข็มรักษ์ พิมนารา วัฒโน ปริณดา เทพคำ ชนากานต์ ฉิมพานิช ณัชญา ปรียาภัศกุล แสงดาว วัฒนาสกุลเกียรติ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-17 2024-10-17 18 2 15 29 การพยากรณ์อัตราผู้สูงอายุที่มีปัญหาความเครียดในจังหวัดลพบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/271008 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> พัฒนาแบบจำลองอนุกรมเวลาพยากรณ์อัตราผู้สูงอายุที่มีปัญหาความเครียดในจังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> พยากรณ์ทางสถิติด้วยข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลาโดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานมาตรฐานส่งเสริม และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การคัดกรองความเครียด (ST-5) ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561 ถึง 2567 (ประมวลผลวันที่ 20 เมษายน 2567) ด้วยแบบจำลองการถดถอยพหุนาม และทฤษฎีระบบเกรย์ วัดค่าความถูกต้องของการพยากรณ์ด้วยสัมประสิทธิ์การทำนาย และค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์</p> <p><strong>ผล : </strong>แบบจำลองตามสมการถดถอยพหุนามให้ค่าพยากรณ์ปีงบประมาณ 2567 คือ 341 ต่อผู้สูงอายุที่คัดกรอง 10,000 คน เพิ่มจากปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ 305.97 เมื่อเทียบกับค่าจริงปีงบประมาณ 2567 (ประมวลผลวันที่ 20 เมษายน 2567) อัตราผู้สูงอายุที่มีปัญหาความเครียด คือ 262 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.34 ค่าพยากรณ์ด้วยสมการถดถอยพหุนามสหสัมพันธ์กับค่าจริง 0.97 มีสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 94.11 ค่าเฉลี่ยร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ 12.53 อยู่ในเกณฑ์ที่แบบจำลองมีความแม่นยำในการพยากรณ์ดี ขณะที่แบบจำลอง GM(1,1) และ GM(1,1)EPC มีสหสัมพันธ์ค่าพยากรณ์กับค่าจริงต่ำมาก ค่าเฉลี่ยร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ก็สูงกว่าแบบจำลองตามสมการถดถอยพหุนาม</p> <p><strong>สรุป :</strong> ข้อมูลปีงบประมาณ 2561 ถึง 2567 มีความผันผวนจากเริ่มต้นลดลงมาครึ่งหนึ่งเพิ่มขึ้นแล้วลดลงต่อเนื่องสองปีจากนั้นเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าในปีงบประมาณ 2567 การตัดสินใจเลือกแบบจำลองเพื่อการพยากรณ์บนพื้นฐานของความสอดคล้องกับข้อมูลเดิมมากที่สุดและความแตกต่างจากข้อมูลเดิมต่ำสุดแบบจำลองตามสมการถดถอยพหุนามอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมอีกต่อไป ดังนั้นจึงต้องใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย ได้แก่ ปัจจัยภายนอก และการดำเนินโครงงานต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีส่วนลดความเครียดในกลุ่มผู้สูงอายุ</p> คชาภรณ์ ศรีพารัตน์ วัฒนา ชยธวัช Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-17 2024-10-17 18 2 30 38 ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรมที่มีต่อภาวะซึมเศร้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/271979 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> 1) เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เขตภาคกลางก่อนทดลองและหลังการทดลองการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรม และ2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของนักเรียนนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตภาคกลาง ก่อนทดลองและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรมและกลุ่มควบคุมที่รับการดูแลตามระบบการดูแลของโรงเรียน</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 217 คน ทำแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก Children’s Depression Inventory (CDI) คัดเลือกนักเรียนมีภาะวะซึมเศร้ามากกว่า 15 คะแนนจำนวน 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า CDI ฉบับภาษาไทย 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรม เพื่อลดภาวะซึมเศร้า มีการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงเปรียบเทียบโดยใช้ Nonparametric Statistics, Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test</p> <p><strong>ผล : </strong>ภาวะซึมเศร้าของนักเรียน กลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรม หลังการทดลอง ลดลงกว่าก่อนได้รับการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และภาวะซึมเศร้าของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรม กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบการดูแลของโรงเรียน ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> <p><strong>สรุป :</strong> การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรมสามารถลดระดับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนได้</p> ชนิกานต์ บุญเรือง กาญจนา สุทธิเนียม ทยตา รัตนภิญโญวานิช Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-17 2024-10-17 18 2 39 50 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพุทธิปัญญาบกพร่องในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/270793 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพุทธิปัญญาบกพร่องในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภท ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินภาวะ พุทธิปัญญา Montreal Cognitive Assessment (MoCA) ฉบับ (น้อยกว่า 25 คะแนน) 3) แบบสอบถามประเมินคุณภาพการนอนหลับพิทส์เบิร์ก (มากกว่า 5 คะแนน) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไค-สแควร์ และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก</p> <p><strong>ผล : </strong>พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 127 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 50.4 ค่ากลางของอายุ คือ 64 ปี สถานภาพโสด ร้อยละ 44.9 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 29.9 มีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี ร้อยละ 76.4 พบความชุกของพุทธิปัญญาบกพร่อง ร้อยละ 78.0 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพุทธิปัญญาบกพร่อง คือ การไม่ออกกำลังกาย คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี</p> <p><strong>สรุป :</strong> ความชุกของภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุพบได้สูง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงคือ ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายและมีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ดังนั้นจึงควรตะหนักและพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่ช่วยส่งเสริมภาวะพุทธิปัญญา</p> ทัศนีย์ กุลจนะพงศ์พันธ์ พิชญา ชาญนคร Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-17 2024-10-17 18 2 51 70 เปรียบเทียบผลการให้คำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานทางโทรศัพท์และแบบพบหน้า ต่อความเข้มแข็งทางใจและภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟในผู้ที่มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/271996 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางใจและภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟระหว่างการให้คำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานช่องทางโทรศัพท์ทั้งสองครั้ง (telephone counseling 2 times: TT) ช่องทางพบหน้าทั้งสองครั้ง (face-to-face counseling 2 times: FF) และช่องทางพบหน้าครั้งแรกและโทรศัพท์ติดตาม (face-to-face counseling and follow-up by telephone: FT) ในผู้ที่มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแบบบันทึกการให้คำปรึกษาผู้มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเป็นการดำเนินงานในระบบบริการปกติในเขตสุขภาพที่ 2, 4, 6 และ 9 ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป ความเข้มแข็งทางใจ และภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ และเปรียบเทียบคะแนนพลังใจและภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ ระหว่างช่องทาง TT FF และ FT โดยใช้สถิติ ANCOVA และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย โดยใช้ สถิติ LSD กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>ผล : </strong>หลังจากได้รับคำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานทั้งช่องทางโทรศัพท์ทั้งสองครั้ง ช่องทางพบหน้าทั้งสองครั้ง และช่องทางพบหน้าครั้งแรกและโทรศัพท์ติดตาม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพลังใจสูงขึ้น ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติไม่แตกต่างกันทุกช่องทาง โดยช่องทางที่เพิ่มพลังใจที่ดีที่สุดคือแบบพบหน้าครั้งแรกและโทรศัพท์ติดตาม ช่องทางที่ลดภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟที่ดีที่สุดคือพบหน้าครั้งแรกและโทรศัพท์ติดตาม หรือพบหน้าทั้งสองครั้ง</p> <p><strong>สรุป :</strong> การคำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานทางโทรศัพท์และการให้คำปรึกษาแบบพบหน้ามีแนวโน้มให้ผลลัพธ์ในการเพิ่มความเข้มแข็งทางใจและลดภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟในผู้ที่มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตไม่ต่างกัน โดยการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เป็นทางเลือกการให้บริการที่มีความยืดหยุ่น ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตได้</p> ศรัณยพิชญ์ อักษร เทอดศักดิ์ เดชคง พาสนา คุณาธิวัฒน์ ภพธร วุฒิหาร Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-17 2024-10-17 18 2 71 82