https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/issue/feed วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2024-04-30T14:17:31+07:00 เภสัชกรหญิง ดร.อรภรณ์ สวนชัง somdetjournal@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ดำเนินการโดยสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ สามารถตีพิมพ์บทความได้ 6 รูปแบบ คือ 1.บทบรรณาธิการ 2.นิพนธ์ต้นฉบับ 3.บทความฟื้นฟูวิชาการ 4.รายงานเบื้องต้น 5.รายงานผู้ป่วย และ 6.ปกิณกะ โดยบทความที่ส่งตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2-3 ท่าน ต่อ 1 บทความ</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/266413 การสำรวจสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 2023-10-05T14:18:52+07:00 นภวรรณ มั่นพรรษา napawan.mhtech@gmail.com พณิดา โยมะบุตร panida.yomaboot@gmail.com กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี konlakorn.won@mahidol.ac.th กีรติ ปัทมเรขา keerati.mhtech@gmail.com อธิพัฒน์ มูลเชื้อ atiphat.mhtech@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ต อายุระหว่าง 18 - 60 ปี</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> การวิจัยเชิงสำรวจสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวน 584 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินสุขภาพจิตคนไทย (TMHQ) จำนวน 70 ข้อ แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอาการทางกาย อาการกังวล อาการซึมเศร้า อาการโรคจิต และการเข้าสังคม วิเคราะห์ผลด้วยสถิติพรรณนาหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ t-test เพื่อเปรียบเทียบความต่างของคะแนนเฉลี่ย TMHQ ระหว่างเพศ และประวัติความเจ็บป่วยทางจิตเวชที่แตกต่างกัน ANOVA เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ย TMHQ ในกลุ่มอายุต่างกัน สถิติสหสัมพันธ์ Spearman’s Rank เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ และ สถิติเชิงพหุถดถอย เพื่อศึกษาความสามารถการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อคะแนน TMHQ</p> <p><strong>ผล : </strong>กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 28.8 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และไม่มีประวัติเจ็บป่วยทางจิตเวช ผลสำรวจโดยรวมพบคะแนน TMHQ ด้านกังวลสูงกว่าด้านอื่น ๆ โดยช่วงอายุ 18 - 30 ปี มีคะแนนสูงสุด เพศหญิงมีคะแนนอาการทางกายสูงกว่าเพศชาย แต่ประวัติความเจ็บป่วยต่างกันมีคะแนน TMHQ ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้คะแนน TMHQ แต่ละด้านมีความสัมพันธ์กันระดับสูงถึงต่ำ และอายุสัมพันธ์ทางลบกับคะแนนด้านอาการทางกาย ซึมเศร้า และกังวลในระดับต่ำมาก และยังสามารถทำนายคะแนน TMHQ ด้านอาการทางกาย ซึมเศร้า และกังวลได้ในระดับต่ำมากเช่นกัน</p> <p><strong>สรุป :</strong> ผลการศึกษาสุขภาพจิตคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตพบว่ามีภาวะกังวลสูงกว่าปกติ โดยไม่มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวชมาก่อน ทั้งยังพบว่าปัญหาสุขภาพจิตแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ต่อกัน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/268324 การเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนานาชาติอินเตอร์เนชั่นแนลไพโอเนียร์สโดยการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์ 2024-01-12T09:47:36+07:00 สุนิสา ลอยเมฆ sunisa.loy2528@gmail.com กาญจนา สุทธิเนียม kanchana.sut@bsru.ac.th ชลพร กองคำ kanchana.sut@bsru.ac.th อโนทัย แทนสวัสดิ์ kanchana.sut@bsru.ac.th <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> 1) เพื่อเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ ก่อนและหลังการทดลอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบการดูแลของโรงเรียน</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนนานาชาติอินเตอร์เนชั่นแนลไพโอเนียร์ส ปีการศึกษา 2565 จากนักเรียนที่มีคะแนนจิตสาธารณะต่ำ จำนวน 16 คน และสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมการปรึกษากลุ่ม และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามระบบการดูแลของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67 - 1.00 และค่าความเที่ยงโดยรวมเท่ากับ 0.77 และ 2) การปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ซึ่งได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงเปรียบเทียบโดยใช้ Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test</p> <p><strong>ผล : </strong>1) ผลการเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มทดลองหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หากพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการใช้และการดูแลสาธารณสมบัติและด้านการถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการรับรู้และเคารพในสิทธิของบุคคลไม่แตกต่างกัน 2) ผลการเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หากพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการใช้และการดูแลสาธารณสมบัติและด้านการรับรู้และเคารพในสิทธิของบุคคลไม่แตกต่างกัน</p> <p><strong>สรุป :</strong> การปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์สามารถเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นได้</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/268673 การพัฒนาการบำบัดการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการพยาบาลในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 2024-01-29T11:46:35+07:00 พีรดา เพิ่มความสุข loleejeng@gmail.com วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์ loleejeng@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการบำบัดการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการพยาบาลในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> รูปแบบการพัฒนาและวิจัย 7 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การวิจัยและรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ (2) การวางแผน (3) การพัฒนารูปแบบบำบัดเบื้องต้น (4) การทดลองภาคสนามเบื้องต้น (5) การทดสอบภาคสนามหลัก (6) การทดสอบภาคสนาม ด้วยรูปแบบกึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่างโรคซึมเศร้าที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน ติดตามความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายก่อน-หลังทดลอง 1 เดือน และ 3 เดือน และ (7) การเผยแพร่และการนำไปใช้</p> <p><strong>ผล : </strong>การบำบัดการฆ่าตัวตายฯ แบบรายบุคคล บูรณาการจาก 4 แนวคิด ได้แก่ สัมพันธภาพบำบัด การบำบัดความคิดและพฤติกรรม การบำบัดโดยการแก้ปัญหา และสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ประกอบด้วย 8 กิจกรรมใน 3 สัปดาห์ พบว่า ก่อนทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม หลังการทดลอง 1 เดือน และ 3 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการบำบัดการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการพยาบาลมีโอกาสป้องกันความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ 0.88 และ 0.86 เท่าของการพยาบาลตามปกติ</p> <p><strong>สรุป :</strong> การบำบัดการฆ่าตัวตายฯ สามารถป้องกันความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในได้</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/267064 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตมโนทัศน์และภาวะซึมเศร้าโดยมีการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าบนอินสตาแกรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน 2023-11-09T22:36:34+07:00 ธีรศักดิ์ สาตรา napawan.mhtech@gmail.com ศรีธิดา บัวเลิศ napawan.mhtech@gmail.com ฑิฆัมพร หอสิริ tikumporn.hos@mahidol.ac.th สิรินัดดา ปัญญาภาส napawan.mhtech@gmail.com เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา napawan.mhtech@gmail.com สนทรรศ บุษราทิจ napawan.mhtech@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตมโนทัศน์กับภาวะซึมเศร้าโดยมีการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าบนอินสตาแกรมเป็นตัวแปรส่งผ่านในวัยรุ่น</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> การศึกษาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุ 15 - 18 ปี ซึ่งมีบัญชีผู้ใช้อินสตาแกรม จำนวน 466 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามออนไลน์ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป มาตรวัด Piers-Harris Children’s Self-Concept Scale 2<sup>nd</sup> Edition มาตรวัด Upward comparison on Instagram Scale และมาตรวัด Center Epidemiologic Studies-Depressions Scale ฉบับภาษาไทย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรหลักด้วยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านโดยโปรแกรม PROCESS 3.4 ด้วยวิธี Bootstrapping กระบวนการสุ่มตัวอย่างซ้ำอย่างน้อย 5,000 ชุด ช่วงความเชื่อมั่น 95%</p> <p><strong>ผล : </strong>อัตมโนทัศน์มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้า (r = -0.764) และการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าบนอินสตาแกรม (r = -0.520) การเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าบนอินสตาแกรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้า (r = 0.546) การเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าบนอินสตาแกรมทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วนในความสัมพันธ์ระหว่างอัตมโนทัศน์และภาวะซึมเศร้า อัตมโนทัศน์และการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าบนอินสตาแกรมมีอิทธิพลในการทำนายภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 61.0</p> <p><strong>สรุป :</strong> วัยรุ่นที่มีอัตมโนทัศน์ในระดับต่ำอาจส่งผลมีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ซึ่งพฤติกรรมการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าบนสื่อสังคมเป็นปัจจัยเสริมให้มีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรส่งเสริมวัยรุ่นในยุคที่มีการใช้สื่อสังคมแพร่หลายให้มีอัตมโนทัศน์ทางบวกและลดการเปรียบเทียบตนเองกับคนที่ดีกว่าบนสื่อสังคมออนไลน์</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/266477 ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจด้วยโปรแกรมออนไลน์ต่อภาวะซึมเศร้าและความเข้มแข็งทางใจในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 2023-10-08T23:33:51+07:00 ปุณยนุช คณากรณ์ poonyanuch260315@gmail.com กิติกร พรมา poonyanuch260315@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจด้วยโปรแกรมออนไลน์ผ่าน แอปพลิเคชันไลน์ วิดีโอคอล ต่อภาวะซึมเศร้า และความเข้มแข็งทางใจในผู้ป่วยนอกโรคซึมเศร้าวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้าน้อยถึงปานกลาง</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> รูปแบบเป็นการวิจัยกึ่งทดลองในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา อายุ 20 - 59 ปี มีภาวะซึมเศร้าน้อยถึงปานกลาง ช่วง สิงหาคม พ.ศ.2565 - สิงหาคม พ.ศ.2566 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 48 ราย ได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้า (PHQ9) และความเข้มแข็งทางใจ จากนั้นกลุ่มทดลอง 24 ราย ได้รับโปรแกรมผ่านแอปพลิเคชันไลน์ วิดีโอคอล 5 สัปดาห์ กลุ่มควบคุม 24 ราย ถูกติดตาม 9 สัปดาห์ ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้า และความเข้มแข็งทางใจ หลังทดลองทันที และหลังทดลอง 1 เดือน เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้า และความเข้มแข็งทางใจ ก่อนทดลอง หลังทดลองทันที และหลังทดลอง 1 เดือน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน และสถิติที</p> <p><strong>ผล : </strong>ก่อนทดลองกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีภาวะซึมเศร้า และความเข้มแข็งทางใจ ไม่แตกต่างกัน หลังทดลองทันทีและหลังทดลอง 1 เดือน เฉพาะกลุ่มทดลองเท่านั้นที่มีภาวะซึมเศร้าลดลง ความเข้มแข็งทางใจเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มควบคุมมีภาวะซึมเศร้าลดลง ความเข้มแข็งทางใจเพิ่มขึ้น เฉพาะหลังทดลองทันทีอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าต่ำกว่า และความเข้มแข็งทางใจสูงกว่าเมื่อหลังทดลอง 1 เดือน</p> <p><strong>สรุป :</strong> โปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ ด้วยโปรแกรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์วิดีโอคอลในผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้าน้อยถึงปานกลาง สามารถลดภาวะซึมเศร้า และเพิ่มความเข้มแข็งทางใจได้</p> 2024-05-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา