TY - JOUR AU - อุดมอิทธิพงศ์, ดุษฎี AU - โล่เสถียรกิจ, พลภัทร์ AU - สวนชัง, อรภรณ์ AU - แก้วยศ, กฤตนัย AU - อยู่ถิ่น, เกยูรมาศ PY - 2020/01/02 Y2 - 2024/03/28 TI - คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา JF - วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา JA - วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา VL - 13 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/212086 SP - 31-42 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>&nbsp; <strong>: </strong>เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา</p><p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> &nbsp;<strong>:</strong>&nbsp; การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 164 คน เก็บข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามไปให้พยาบาลทั้งหมดในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่ตรงตามเกณฑ์ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 – เดือนมกราคม พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ</p><p><strong>ผล</strong>&nbsp; <strong>:</strong>&nbsp; พยาบาลสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 164 คน ยินดีตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 100.0 มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 39 ปี ร้อยละ 53.1 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 52.4 &nbsp;สถานภาพโสด ร้อยละ 48.2 ส่วนใหญ่ไม่มีบุตร ร้อยละ 64.0 เป็นผู้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 75.0 ปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 53.7 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานเป็นกะ/หอผู้ป่วยใน ร้อยละ 70.7 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 68.3 ออกกำลังกาย ร้อยละ 70.7 มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 20,000 - 40,000 บาท ร้อยละ 56.7 ใ1 เดือนไม่มีปัญหาในการทำงาน ร้อยละ 78.6 ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 68.3 โดยมีองค์ประกอบคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 99.4 ส่วนองค์ประกอบคุณภาพชีวิต ด้านจิตใจ-ด้านร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 87.8 พบความคิดเห็นเพิ่มเติมที่ต้องการมากที่สุด คือ สวัสดิการบ้านพัก ค่าตอบแทน รถรับส่ง ร้อยละ 7.3 ส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต ร้อยละ 6.1 และด้านสิ่งแวดล้อมร้อยละ 4.5 ตามลำดับ</p><p><strong>สรุป</strong>&nbsp; <strong>:</strong>&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนช่วยเหลือ และเพื่อที่จะจัดสวัสดิการให้ได้อย่างเหมาะสม ในการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพให้ดีขึ้น และคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพให้ยั่งยืนต่อไป</p> ER -