วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss <p> <strong> วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ</strong> เป็นวารสารรายหกเดือนหรือครึ่งปี กำหนดการออกวารสาร ฉบับ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม). วารสารมีนโยบายการเผยแพร่บทความที่มีคุณภาพด้านสุขภาพและสาธารณสุข ซึ่งนิพนธ์โดยพยาบาล แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ฯลฯ ซึ่งปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สาธารณสุขชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อม และบทความด้านการพยาบาลทั่วไป ทฤษฎีการพยาบาลและการวิจัยการพยาบาลขั้นสูงและการพยาบาลเฉพาะทาง โดยมีผู้นิพนธ์จากทั้งภายในและภายนอกสถาบัน รับบทความประเภท บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือ และบทวิจารณ์บทความ</p> <p> บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ <span style="text-decoration: underline;"><strong>โดยทุกบทความผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบันที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะการดำเนินการปกปิดชื่อของผู้วิจัย แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ (<u>double-blinded review system </u>) อย่างน้อยจำนวน 2 ท่าน โดยตั้งแต่วารสารปีที่ 10 ฉบับที่ 2 วารสารมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 3 ท่านทุกบทความ และเผยแพร่ 2 ครั้งต่อปีในเดือนมกราคมและกรกฎาคม</strong></span></p> <p> บทความวิจัยที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ<strong><span style="text-decoration: underline;">จะต้องผ่านการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในคนและมีเลขที่รับรองก่อนตีพิมพ์</span></strong></p> th-TH <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> <p>&nbsp;&nbsp; อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด</p> thun716@gmail.com (ผศ.ดร.ยงยุทธ แก้วเต็ม) natcha.c@bcnlp.mail.ac.th (นางสาวณัชชา ไชยวงค์ ) Thu, 01 Feb 2024 11:03:03 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บชนิดไม่รุนแรง กับบทบาทพยาบาลฉุกเฉิน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267684 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้ทราบถึงความสำคัญในการประเมินผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ชนิดไม่รุนแรง 2) แนวทางการดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ชนิดไม่รุนแรง ที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน โดยมีการนำแนวคิดมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ชนิดไม่รุนแรง ที่ต้องได้รับการดูแลในห้องฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการเกิดสมองบาดเจ็บในระยะทุติยภูมิ </p> <p>การดูแลที่เป็นสาระสำคัญของการดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ชนิดไม่รุนแรง ที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน ประกอบด้วย พยาธิสรีรวิทยาภายหลังเกิดการสมองบาดเจ็บ การจำแนกระดับความรุนแรง สมรรถนะและบทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ชนิดไม่รุนแรง ได้แก่ การประเมินผู้ป่วย การเฝ้าระวังและการติดตามอาการเปลี่ยนแปลง การจัดการอาการทรุดลง การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องฉุกเฉิน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากสมองบาดเจ็บในระยะทุติยภูมิได้อย่างเหมาะสม</p> ภูมินทร์ ดวงสุริยะ, สุชาติ เครื่องชัย, พิริพัฒน์ เตชะกันทา Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267684 Thu, 30 May 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของสื่อการสอนชนิดโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อ ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/265032 <p class="Default" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 36.0pt;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt;">การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อการสอนชนิดโมชันกราฟิกสำหรับการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ณ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 98 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้</span><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; color: windowtext; letter-spacing: .1pt;">รับชม</span><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; letter-spacing: .1pt;">สื่อโมชันกราฟิก 49 คน และกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติ 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย</span><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt;"> 1) สื่อโมชันกราฟิก เรื่อง การป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด 2) แบบวัดความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ และ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อ สถิติที่ใช้เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงวิเคราะห์คือ </span><span style="font-size: 16.0pt;">dependent t<span lang="TH">-</span>test, independent t<span lang="TH">-</span>test <span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับชมสื่อโมชันกราฟิกมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span>p&lt;<span lang="TH">.001) 2) ภายหลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับชมสื่อโมชันกราฟิกมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span>p&lt;<span lang="TH">.001) จะเห็นได้ว่าสื่อโมชันกราฟิกมีประสิทธิผล สามารถช่วยเพิ่มพูนความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อในระหว่างที่ได้รับเคมีบำบัด เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน </span></span></p> นิดา เมตจิตกุล, สกุลมาศ วชิรโสภณกิจ, นิตยา ปักราช Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/265032 Thu, 01 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบคัดแยกผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/266637 <p>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ของระบบคัดแยกผู้ป่วย 2) พัฒนาระบบคัดแยกผู้ป่วย 3) ประเมินผลลัพธ์ของระบบคัดแยกผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนา ระยะที่ 3 นำไปทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินจำนวน 30 คน ระยะที่ 4 ประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) กระบวนการคัดแยก แบบบันทึกการคัดแยก แนวปฏิบัติในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน 2) แนวคำถามการสนทนากลุ่มและการประชุมหลังปฏิบัติงาน 3) แบบประเมินความรู้ พฤติกรรม<span style="text-decoration: line-through;">ใน</span>กระบวนการคัดแยก แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t- test และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ปัญหา โรงพยาบาลทุกแห่งใช้เกณฑ์การคัดแยก 5 ระดับ มีกระบวนการคัดแยก แบบบันทึกและแนวทางปฏิบัติในการคัดแยกไม่ครบทุกแห่ง ต้องการระบบคัดแยกที่มีความปลอดภัยและใช้เหมือนกันทุกแห่ง 2) ระบบคัดแยกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย กระบวนการคัดแยก แบบบันทึกการคัดแยก และแนวปฏิบัติในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน 3) ผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ พฤติกรรมในกระบวนการคัดแยกเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) มีความพึงพอใจต่อระบบคัดแยกในระดับมากที่สุด จากการประชุมหลังปฏิบัติงาน ระบบคัดแยกผู้ป่วยมีกระบวนการที่ช่วยค้นหาผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินเร็วขึ้น ไม่พบผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ แบบบันทึกการคัดแยกมีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอ มีแนวปฏิบัติช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น ควรนำระบบคัดแยกผู้ป่วยไปใช้เพื่อการคัดแยกที่รวดเร็ว มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น จัดให้มีพยาบาลคัดแยกโดยเฉพาะและ อบรมการคัดแยกผู้ป่วยเพื่อเพิ่มสมรรถนะพยาบาลคัดแยก</p> <p> </p> สุรัตน์ สุขสว่าง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/266637 Thu, 01 Feb 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้อิสระแห่งตนต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานใน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267771 <p> การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลของโปรแกรมส่งเสริมความเป็นอิสระแห่งตนของผู้สูงอายุโรคเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานโรงพยาบาลห้างฉัตร จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มใช้ขนาดของบล็อคเท่ากับ 6 ทำให้ได้จำนวน 10 บล๊อค และทำการสุ่มตามบล๊อคไปเรื่อยๆ โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานของโรงพยาบาล กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแห่งตน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.85 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ และสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) และกลุ่มทดลองมีระดับฮีโมโกลบิน เอวันซีหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) ดังนั้นการสนับสนุนความเป็นอิสระแห่งตนส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่ดีและควบคุมระดับฮีโมโกลบินเอวันซีได้ดี โดยผ่านกิจกรรมการให้ความรู้ การฝึกทักษะร่วมกับให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจการเลือกวิธีการรับประทาน และควบคุมอาหารตามความต้องการของตนเอง รวมถึงเลือกชนิดการออกกำลังกายตามความชอบและความสามารถของตนเอง ซึ่งสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้กับหน่วยบริการสุขภาพที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้</p> <p> </p> พิกุล อุทธิยา, พชร วิวุฒิ, สุชาติ เครื่องชัย Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267771 Wed, 07 Feb 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้แนวปฏิบัติการนวดปากร่วมกับการดูแลแบบแกงการูโดยมารดาในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใส่สายให้อาหารต่อพฤติกรรมการดูดนมมารดา โรงพยาบาลลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267474 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองวัดผลสองกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้แนวปฏิบัติการนวดปากร่วมกับการดูแลแบบแกงการูโดยมารดา ต่อพฤติกรรมการดูดนมมารดาในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใส่สายให้อาหาร กับกลุ่มที่ได้รับการนวดแบบการพยาบาลตามมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ ทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลลำปาง จำนวน 70 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 35 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดแบบเจาะจง โดยกลุ่มควบคุมได้รับการนวดแบบการพยาบาลตามมาตรฐาน กลุ่มทดลองได้รับแนวปฏิบัติการนวดปากร่วมกับการดูแลแบบแกงการูโดยมารดา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดระหว่างกลุ่มทดลอง (Mean= 1.74 ,S.D.=0.51) และกลุ่มควบคุม (Mean= 1.48 ,S.D.=0.56) ซึ่งสูงกว่าแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ &lt;.05 2) ค่าเฉลี่ยจำนวนวันใส่สายให้อาหารระหว่างกลุ่มทดลอง (Mean =5.3 , S.D.=1.83) และกลุ่มควบคุม (Mean = 8.6, S.D.=3.81) ซึ่งดีกว่าและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ &lt;.05 ดังนั้นพยาบาลควรนำแนวปฏิบัติการนวดปากร่วมกับการดูแลแบบแกงการูโดยมารดาไปใช้ เพื่อให้ประสิทธิภาพการดูดกลืนของทารกดีขึ้น ลดจำนวนวันใส่สายให้อาหารลดลง ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างมารดากับทารก</p> อนงค์พร อุปสิทธิ์, จุฑาทิพย์ เดชเดชะ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267474 Fri, 02 Feb 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/265816 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ กับความรอบรู้พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคเรื้อรังมาอย่างน้อย 6 เดือนในเขตตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 231 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้ออยู่ในช่วง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.92 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ในช่วง 0.25-0.44 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังมีความรอบรู้พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมในระดับมาก ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง 1-5 ปี การรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในภาวะปกติ ความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอยู่ในกลุ่มติดสังคม และผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง การรับรู้ภาวะสุขภาพและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างกันมีความรอบรู้พฤติกรรมสุขภาพต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นเพศ สถานภาพสมรส การรับรู้ภาวะสุขภาพในการมองเห็น กระดูกพรุน การนอนและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน</p> <p> ข้อเสนอแนะ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสาธารณสุข ผู้นำชุมชน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถวางแผนและจัดทำกิจกรรมในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยจัดกลุ่มตามอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง การรับรู้ภาวะสุขภาพและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ครอบคลุมทุกด้านต่อไป </p> <p> </p> มัณทนา สุพรรณไพบูลย์, นภาพร ตูมน้อย, ปริทรรศน์ วันจันทร์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/265816 Thu, 28 Mar 2024 00:00:00 +0700 แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานหมอประจำบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/266937 <p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานหมอประจำบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี <em>จำนวนประชากร </em><em>174 คน </em>คำนวณกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ โดยใช้สูตรของ Cohen จำนวน 139 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า .05 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.98 ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์เพียรสัน และการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับแรงจูงใจ และระดับการปฏิบัติงานหมอประจำบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2.40 (S.D.= .27) และค่าคะแนนเฉลี่ย 2.47 (S.D.= .45) ตามลำดับ โดยพบว่า แรงจูงใจภาพรวมมีความสัมพันธ์ระดับสูงการปฏิบัติงานหมอประจำบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี (r = .815, p-value = &lt; .001) และพบว่าปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง ปัจจัยจูงใจด้านการยอมรับนับถือ ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ สามารถร่วมในการพยากรณ์และมีผลต่อการปฏิบัติงานหมอประจำบ้าน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 96.9 (R<sup>2</sup>=0.969)</p> น้อมจิต ศรีราช, สุพัฒน์ กองศรีมา, นครินทร์ ประสิทธิ์; พีรยุทธ แสงตรีสุ, ณัฐพร นิจธรรมสกุล, ภูวนาถ ศรีสุธรรม, อัมภาวรรณ นนทมาตย์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/266937 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้รูปแบบการดูแลแบบผสมผสานในการจัดการอาการปวดและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267477 <p> ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง ทำให้สูญเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลแบบผสมผสานในการจัดการอาการปวด และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเมืองปอน เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมสามารถจัดการอาการปวดได้อย่างเหมาะสม และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ รูปแบบการดูแลแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การนวดเข่า แช่เท้า พอกเข่าด้วยสมุนไพร และการแช่น้ำพุร้อนที่อุณหภูมิ 38 – 42 องศาเซลเซียส คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามการประเมินผลคือ แบบประเมินอาการปวดและแบบบันทึกปริมาณการรับประทานยาแก้ปวด และแบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired Samples T-Test</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดูแลแบบผสมผสานสามารถลดระดับอาการปวด โดยมีค่าเฉลี่ย pain score ก่อนรับบริการแบบผสมผสานเท่ากับ 7.12 (SD.=1.78) ค่าเฉลี่ย pain score หลังรับบริการแบบผสมผสานเท่ากับ 5.27 ( SD.=1.88) ลดการใช้ยาแก้ปวดในหนึ่งเดือนอย่างมีนัยสำคัญที่ p &lt; .01 โดยค่าเฉลี่ยจำนวนการใช้ยาแก้ปวดต่อเดือน ก่อนรับบริการแบบผสมผสานเท่ากับ 26.16 (SD.= 34.36) หลังรับบริการแบบผสมผสานเท่ากับ 16.86(SD.=24.93) นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มความสามารถในการเดิน และเพิ่มความสามารถในการนั่งยองได้มากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ p &lt; .05 ดังนั้นผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมที่มีข้อจำกัดในการใช้ยาแก้ปวด สามารถดูแลแบบผสมผสานจะทำให้อาการปวดลดลง และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น</p> <p><strong> </strong></p> <p> </p> <p> </p> <p><strong> </strong></p> พรชัย อ่อนสด Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267477 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/268190 <p>การวางแผนจำหน่ายเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยในการดูแลและจัดการกับตนเองได้ภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล การศึกษาเชิงพัฒนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือดในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่ ประกอบด้วย ทีมพัฒนาเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ จำนวน 5 คน และทีมผู้ปฏิบัติ เป็นพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แนวปฏิบัติในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ แบบตรวจสอบการปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย และแบบบันทึกข้อมูลอุบัติการณ์โดยเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความเป็นปรนัยจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา แบบตรวจสอบการปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายของพยาบาลวิชาชีพ เท่ากับ 1.0 และค่าความเชื่อมั่นของแบบตรวจสอบการปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายของพยาบาลวิชาชีพ เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าคะแนนการปฏิบัติตามแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด ภายหลังการพัฒนาคุณภาพ ระยะแรกรับและระยะอาการคงที่ปฏิบัติถูกต้องและครบถ้วน ร้อยละ 100.00 ส่วนระยะจำหน่ายปฏิบัติได้ถูกต้องและครบถ้วนร้อยละ 83.33 ไม่เกิดอุบัติการณ์การกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันและจำนวนวันนอนเฉลี่ยในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด ลดลงจากจำนวน 5.21 วันเป็น 4.80 วัน</p> <p> </p> ธิดาลักษ์ แก้วแจ่ม, ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/268190 Thu, 16 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำในผู้ที่เสพแอมเฟตามีน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/269561 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ ในผู้ที่เสพแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างคือผู้เสพแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดแบบผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลสันทราย ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2566 โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ตามคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่งานวิจัยกำหนดและผ่านการประเมินภาวะพุทธิปัญญา (Montreal Cognitive Assessment [MoCA]) มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 25 คะแนนขึ้นไป จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการฯ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ และประเมินโดยใช้แบบสอบถามความตั้งใจในการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำและแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันยาเสพติด ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และ .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่วัดซ้ำด้วยสถิติ Friedman test และเปรียบเทียบระหว่างคู่โดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการฯ มีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำและพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดในระยะก่อนทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีกับระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p> ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการช่วยเพิ่มความตั้งใจในการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีนและช่วยให้มีพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดที่ดีขึ้นด้วย ดังนั้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการให้การดูแลและให้การบำบัดแก่ผู้รับบริการกลุ่มนี้สามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้เพื่อการบำบัดสำหรับผู้เสพแอมเฟตามีนหรือสารเสพติดอื่นๆ</p> ปนัดดา ธีระเชื้อ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/269561 Thu, 02 May 2024 00:00:00 +0700 ความเครียด ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย โรคโควิด-19 ที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยติดเชื้อ โรงพยาบาลห้วยคต อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/266142 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความเครียด ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มารับการรักษาใน หอผู้ป่วยติดเชื้อโรงพยาบาลห้วยคต อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ได้รับการตรวจยืนยันด้วยวิธีการตรวจ RT-PCR จำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบประเมินความเครียดและแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าและวิเคราะห์ค่าความเที่ยงมีค่าเท่ากับ .86 และ .96 ตามลำดับ ประกอบด้วย 4 ตอน คือ ตอนที่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ตอนที่ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 3) แบบประเมินความเครียด และตอนที่ 4) แบบประเมินโรคซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดในผู้ป่วยโรคโควิด-19 แบ่งเป็น ความเครียดระดับน้อยร้อยละ 90.7 ระดับปานกลางร้อยละ 9.3 และพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียด ได้แก่ ปัญหาสังคม (<em>c</em><em>²</em> =17.250) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) และ ปัญหาครอบครัว (<em>c</em><em>²</em> =4.79) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p&lt;.05) ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคโควิด-19 พบร้อยละ 41.4 โดยแบ่งเป็นระดับน้อยร้อยละ 38.3 ระดับปานกลางร้อยละ 2.8 และพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ปัญหาสังคม (<em>c</em><em>²</em> =28.205) และปัญหาครอบครัว (<em>c</em><em>²</em> =18.531) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) ส่วนโรคประจำตัว (<em>c</em><em>²</em> =17.369) มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05)</p> นุชนารถ เกิดศรี, อัญสุรีย์ ศิริโสภณ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/266142 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยวัณโรคระยะเข้มข้น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/270306 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคในระยะเข้มข้นโดยเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 30 คน ถูกเลือกแบบเจาะจง จาก ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ อายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคในระยะเข้มข้น และ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1)ข้อมูลทั่วไป, 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยวัณโรค, 3) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับวัณโรค , 4) แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยวัณโรค และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างหลังการเข้าร่วมโปรแกรม แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบคุณภาพผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความแตกต่างของความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Dependent t-test</p> <p><strong> </strong> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย (70.00%) มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 57.90 ปี (SD.=16.09) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มากที่สุด (33.33%) มีสถานภาพสมรสมากที่สุด (60.00%) จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ (60%) มีจำนวน 4 คน (13.33%) มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคมาก่อน สูบบุหรี่ (20%) และ ดื่มเหล้า (63.33%) มีโรคประจำตัว (63.33%) หลังเข้าร่วมโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคระยะเข้มข้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แนอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และ พฤติกรรมการดูแลตนเอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคในระยะเข้มข้นมีความเหมาะสมในการใช้ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ และ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค แต่ทั้งนี้ควรส่งเสริมเพิ่มเติมในทักษะการตัดสินใจด้านสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป</p> ชุติมา สักลอ, ดลนภา ไชยสมบัติ, ลำดวน ใจมั่น Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/270306 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของประชาชนวัยทำงานใน พื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267442 <p>การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ เก็บข้อมูลในกลุ่มประชากรวัยทำงาน อายุ 15-59 ปี จำนวน 2,660 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ, แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ, แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson’s Product Moment Correlation </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้สุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและปฏิบัติตัวอยู่ในระดับดี (mean=3.28, S.D.=0.305) พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (mean=3.84, S.D=0.650) และความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในด้านการเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจ การตอบโต้ การตัดสินใจ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะสุขภาพ ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 61.54 และ 80.00 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า โดยภาพรวมประชาชนวัยทำงาน มีความตระหนักถึงความรอบรู้ พฤติกรรมสุขภาพและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม</p> วสันต์ จันทร์ศักดิ์, สุชาติ เครื่องชัย, ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ, ภูมินทร์ ดวงสุริยะ, วันวิสาข์ ชูจิตร Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267442 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพบริการของแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267323 <p>การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 204 คน และผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยในจำนวน 210 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบวัดการรับรู้และความคาดหวังคุณภาพการบริการ เครื่องมือมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกรับรู้คุณภาพบริการที่ได้รับจริงด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ด้านการตอบสนองการให้บริการ ด้านความมั่นใจในบริการ และด้านความเห็นอกเห็นใจและเข้าถึงจิตใจของผู้รับบริการต่ำกว่าคุณภาพการให้บริการตามความคาดหวัง 2) ผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยในมีการรับรู้คุณภาพบริการที่ได้รับจริงด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการสูงกว่าคุณภาพบริการตามความคาดหวัง ส่วนด้านด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ด้านการตอบสนองการให้บริการด้านความมั่นใจในบริการ และด้านความเห็นอกเห็นใจและเข้าถึงจิตใจของผู้รับบริการ รับรู้คุณภาพบริการที่ได้รับจริงต่ำกว่าคุณภาพบริการตามความคาดหวัง ผลการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลในการวางแผนและพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้รับบริการต่อไป</p> ปียเนตร จารภียะ, กุลวดี อภิชาติบุตร, อรอนงค์ วิชัยคำ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267323 Thu, 23 May 2024 00:00:00 +0700 ผลโปรแกรมการใช้อาหารเหนือยอดนิยมร่วมกับการเสริมสร้างสุขภาพวิถีพุทธ ต่อการควบคุม ระดับความดันโลหิตสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดแพร่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/269628 <p>โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยอาหารสุขภาพพื้นบ้านและสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมวิถีพุทธ เป็นวิธีการจัดการที่ถูกนำมาใช้เหมาะสมกับบริบทสังคมภาคเหนือตอนบน การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้อาหารเหนือยอดนิยมร่วมกับการเสริมสร้างสุขภาพวิถีพุทธต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย จำนวน 44 ราย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 ราย เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการใช้อาหารเหนือยอดนิยมร่วมกับการเสริมสร้างสุขภาพวิถีพุทธ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง และ 3) แบบบันทึกระดับความดันโลหิต ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับความดันโลหิตซิสโตลิคและความดันโลหิตไดแอสโตลิคต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นโปรแกรมการใช้อาหารเหนือยอดนิยมร่วมกับการเสริมสร้างสุขภาพวิถีพุทธ นำสู่การปฏิบัติตนในด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสมส่งผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในภาคเหนือของไทย</p> อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์, สายฝน อินศรีชื่น, โชคชัย พนมขวัญ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/269628 Thu, 30 May 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) ในการประเมินมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/269287 <p>การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิด 2 กลุ่มเปรียบเทียบคนละช่วงเวลา (Two group Interrupted time design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) ในการประเมินมารดาหลังคลอด และ 2) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) มารดาหลังคลอดทันที – 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดที่อยู่ในห้องคลอด โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลตามปกติตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2566 จำนวน 55 คน และกลุ่มทดลองที่ใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 55 คน 2) พยาบาลวิชาชีพห้องคลอดจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกแนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต แบบประเมินทักษะและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ประเมินความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญทางสูติกรรม จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าเท่ากับ 0.67-1.00 แบบบันทึกแนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) หาความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน 2 คน วิเคระห์ด้วยสัมประสิทธิ์โคเฮนแคปปา เท่ากับ 0.92 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบ Chi-square test และ Fisher’s exact test </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ในขณะที่กลุ่มควบคุมเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 5.45 พยาบาลวิชาชีพมีทักษะในการบันทึกผลการประเมินได้ถูกต้อง ร้อยละ 100 และให้การพยาบาลตามระดับสัญญาณเตือน ร้อยละ 82.72 และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.40, S.D= 0.59) จากผลการวิจัย ผู้วิจัยวางแผนนำแนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) ไปใช้ในหอผู้ป่วยพิเศษหลังคลอดในโรงพยาบาลเกาะคา เพื่อเพิ่มคุณภาพการพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น</p> รัตน์ดา อุดมธาดา, ภาณุมาศ คุณยศยิ่ง, รุ่งกาญจน์ วุฒิ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/269287 Sat, 08 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการพัฒนาคุณลักษณะพยาบาลด้านหัวใจความเป็นมนุษย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267408 <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาคุณลักษณะการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของเจตคติ และความตระหนักในคุณลักษณะการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล ระหว่างก่อน หลัง และระยะติดตามการเข้าร่วมอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 49 คน ใช้เวลาเก็บรวบรวมข้อมูล 5 เดือน เครื่องมือในการวิจัย คือ การพัฒนาคุณลักษณะการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในรูปแบบการอบรมจำนวน 3 วัน ส่วนเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเจตคติทางการพยาบาล และแบบสอบถามความตระหนักในคุณลักษณะการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า เจตคติทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการอบรมทั้งในระยะหลังการอบรม และระยะติดตามผล ส่วนความตระหนักในคุณลักษณะการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลหลังการอบรม มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการอบรม และระยะติดตามผล สำหรับความตระหนักในคุณลักษณะการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลด้านความสามารถ ความเชื่อมั่น และการมีสติรู้ชอบ ทั้ง 3 ระยะ ไม่แตกต่างกันกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับมากกว่า .05 แต่มีความเห็นอกเห็นใจ และความมุ่งมั่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า .05 การศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p> </p> ศันสนีย์ รัตนวราหะ, อาภากร เปรี้ยวนิ่ม, พัทธ์สิตา สิรินภัทรสิทธิ์, อริศยา วิชัยดิษฐ์, ราชัน เกษดา, มิตรา เกิดอินทร์, พรพิมล พรมนัส Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267408 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินสุขภาพด้วยตนเองของผู้สูงอายุ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/270139 <p>การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินภาวะสุขภาพด้วยตนเองของผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินสุขภาพด้วยตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในจังหวัดลำปาง จำนวน 420 คน ตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) ได้พื้นที่ตัวอย่างคือ ตำบลต้นต้อง และตำบลบ้านแม่ก๋ง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel ADL) แบบประเมินความเครียด (ST-5) และแบบประเมินสุขภาพด้วยตนเองทั้ง 12 ด้าน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (Indemean of Item Objective Congruence) เท่ากับ 0.92 และค่าทดสอบความเชื่อมั่นในการจำแนก (Interrater reliability) เท่ากับร้อยละ 86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณแบบนำเข้า</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อายุ 60-69 ปี ต้องการพึ่งพาผู้อื่นเล็กน้อย (mean=35.30, S.D. = 23) และมีระดับความเครียดเป็นบางครั้ง (mean = 69.12, S.D. = 0.45) โดยเมื่อหาปัจจัยทำนาย พบว่า ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพ พบว่า ภาวะสุขภาพของความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และระดับความเครียด สามารถทำนายความสามารถในการประเมินสุขภาพด้วยตนเองของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.116, β = -260, <em>p</em>&lt; .05 ตามลำดับ) การวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพได้ โดยผู้สูงอายุสามารถประเมินสุขภาพด้วยตนเองได้ โดยอ้างอิงจากการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานและการลดระดับความเครียด เพื่อเป็นการพัฒนายกระดับมาตรฐานการดูแลและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น</p> พัชร์นันท์ วิวรากานนท์, ฉวีวรรณ จิตต์สาคร, วนิดา อินทราชา, ตยารัตน์ พุทธิมณี Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/270139 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะสับสนเฉียบพลัน (Delirium) ในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/266845 <p>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดลองใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะสับสนเฉียบพลัน (Delirium) ในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลลำปาง โดยใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของชูคัพ (2000) ซึ่งมี 4 ระยะคือ 1) การค้นหาประเด็นปัญหา 2) การทบทวนและสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การนําแนวปฏิบัติไปทดลองใช้ และ4) การนําแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงไปใช้จริงในหน่วยงาน ในการศึกษาครั้งนี้จัดทำถึงระยะที่ 3 ผลการสืบค้นได้หลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งหมดผ่านการประเมินคุณภาพ ระดับความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ แล้วนำมาสังเคราะห์สร้างแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงของเนื้อหา มีค่าเท่ากับ 0.90 ประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติด้วย The Appraisal of Guidelines for Research &amp; Evaluation II โดยผู้ทรงคุณวุฒิอีก 3 ท่าน ผ่านเกณฑ์ประเมินโดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 86.65 และประเมินผลการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปทดลองใช้โดยพยาบาล 20 คน ด้วยแบบสอบถามความเป็นไปได้และความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1)ได้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุมีกระดูกสะโพกหัก จากหลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งหมด 23 เรื่อง มีสาระสำคัญ 3 หมวด 2) พยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกมีความคิดเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ได้จริง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean = 4.65, S.D. = 0.47) และ 3) ความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติทางคลินิกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.48, S.D. = 0.51) สรุปได้แนวปฏิบัติที่มีคุณภาพ สามารถนำไปปฏิบัติได้และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจ</p> <p><strong> </strong></p> จรวยพร ทะแกล้วพันธุ์, วิภา เอี่ยมสำอางค์ จารามิลโล, วาสนา มั่งคั่ง, ดวงรักษ์ สวัสดิภาพ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/266845 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700