วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss <p> <strong> วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ</strong> เป็นวารสารรายหกเดือนหรือครึ่งปี กำหนดการออกวารสาร ฉบับ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม). วารสารมีนโยบายการเผยแพร่บทความที่มีคุณภาพด้านสุขภาพ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ซึ่งนิพนธ์โดยพยาบาล แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ฯลฯ ซึ่งปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สาธารณสุขชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อม และบทความด้านการพยาบาลทั่วไป ทฤษฎีการพยาบาลและการวิจัยการพยาบาลขั้นสูงและการพยาบาลเฉพาะทาง โดยมีผู้นิพนธ์จากทั้งภายในและภายนอกสถาบัน รับบทความประเภท บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือ และบทวิจารณ์บทความ</p> <p> บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ <span style="text-decoration: underline;"><strong>โดยทุกบทความผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบันที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะการดำเนินการปกปิดชื่อของผู้วิจัย แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ (<u>double-blinded review system </u>) อย่างน้อยจำนวน 2 ท่าน โดยตั้งแต่วารสารปีที่ 10 ฉบับที่ 2 วารสารมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 3 ท่านทุกบทความ และเผยแพร่ 2 ครั้งต่อปีในเดือนมกราคมและกรกฎาคม</strong></span></p> <p> บทความวิจัยที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ<strong><span style="text-decoration: underline;">จะต้องผ่านการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในคนและมีเลขที่รับรองก่อนตีพิมพ์</span></strong></p> Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang th-TH วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 1906-1919 <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> <p>&nbsp;&nbsp; อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด</p> ประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/268175 <p> การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการสอบภาคทฤษฎีรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 จำนวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลได้ระบุว่าการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง 1) มีวัตถุประสงค์ของการเรียนสอดคล้องกับรายวิชา 2) เป็นการพัฒนาความรู้และทักษะปฏิบัติทางการพยาบาล 3) เป็นการเรียนที่สนุก ไม่น่าเบื่อต้องตื่นตัวตลอดเวลา 4) มีการจำลองอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 5) มีเทคนิคการสอนการที่กระตุ้นการเรียนรู้ ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น 6) มีการสรุปผลการเรียนรู้การสะท้อนคิดและประสบการณ์เชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ 7) ส่งเสริมทักษะที่ไม่ใช่การปฏิบัติการพยาบาลได้แก่การทำงานเป็นทีมและการสื่อสาร และ 8) ส่งเสริมการตัดสินใจทางการพยาบาลและลดความวิตกกังวลขณะให้การพยาบาล นอกจากนั้นให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอุปกรณ์และขั้นตอนการดำเนินการทั้งด้านผู้เรียนและผู้สอน</p> <p> </p> ภารดี ชาวนรินทร์ สมฤดี กีรตวนิชเสถียร ฉัตรฤดี ภาระญาติ เจือจันทน์ เจริญภักดี ทิพพาพรรณ เดียวประเสริฐ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-28 2024-08-28 11 2 1 14 การประเมินระดับเสียงรบกวนและการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินการสัมผัสเสียงรบกวนของคนงานในโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267839 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับเสียงรบกวนในพื้นที่ในโรงสีข้าวชุมชนและประเมินการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินของคนทำงานในโรงสีข้าวชุมชน ข้อมูลส่วนส่วนบุคคล โดยใช้แบบสอบถาม วัดระดับเสียงรบกวนในพื้นที่ทำงานโดยใช้ Sound level meter และวัดสมรรถภาพการได้ยินโดยใช้ Audiometer ทำการเก็บตัวอย่างในระหว่างเดือนมกราคม -มิถุนายน พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ binary logistic regression</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับความดังเสียงรบกวนเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานของโรงสีข้าวชุมชนอยู่ในช่วงระหว่าง 85.2 – 93.5 เดซิเบล เอ กลุ่มตัวอย่างที่ทำงานในโรงสีข้าวชุมชน สูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน ร้อยละ 40.6 โดยสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินที่ความถี่ 4000 – 8000 Hz ร้อยละ 18.8 และ สูญเสียสมรรถภาพการได้ยินทั้งสองช่วงความถี่คือ สูญเสียสมรรถภาพการได้ยินที่ความถี่ 500 – 3,000 Hz และ 4000 – 8000 Hz ร้อยละ 21.8 และพบว่าการสูญเสียสมรรถภาพการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานในโรงสีข้าวปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินพบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI&nbsp; = 1.11-10.61)&nbsp; ในขณะที่กลุ่มที่รับสัมผัสเสียงรบกวน โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ ไม่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน</p> จักรกฤษ เสลา มงคล รัชชะ อนุ สุราช Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-29 2024-08-29 11 2 15 27 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาวัยรุ่น ต่อการรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/269250 <p> การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาวัยรุ่นในการให้นมแม่ ต่อการรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการให้นมแม่แก่ทารกเกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาวัยรุ่นที่คลอดทารกก่อนกำหนดจำนวน 28 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาวัยรุ่นในการให้นมแม่ แบบสอบถามพลังอำนาจมารดาวัยรุ่นและการรับรู้ความสามารถ และแบบประเมินพฤติกรรมการให้นมแม่ แก่ทารกเกิดก่อนกำหนด ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีความเที่ยงเท่ากับ .81 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของมารดาวัยรุ่นที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของมารดาวัยรุ่นที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดหลังการทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการให้นมแม่ของมารดาวัยรุ่นที่มีทารกเกิดก่อนกำหนด หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) หลังการทดลองค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการให้นมแม่ของมารดาวัยรุ่นในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาวัยรุ่น ต่อการรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการให้นมแม่ทารกเกิดก่อนกำหนดสามารถนำไปใช้ในการจัดการทางการพยาบาลเพื่อเพิ่มการรับรู้สมรรถนะของมารดาวัยรุ่นในการให้นมแม่แก่ทารกที่เกิดก่อนกำหนดได้</p> ไฉไล ผาเงิน ชัชชฎาภร พิศมร วรรณ์วิการ์ ใจกล้า อนงค์พร อุปสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-12 2024-10-12 11 2 28 45 ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ฟอกไตทางช่องท้อง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/271022 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกไตทางช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีอายุ 60 ปีจำนวน 100 คน ขึ้นไป รับการรักษาด้วยวิธีการฟอกไตทางช่องท้อง และเข้ารับบริการที่คลินิกฟอกไต 6 แห่ง ในจังหวัดพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางคลินิก และแบบวัดภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติไคสแควร์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่ฟอกไตทางช่องท้องมีคะแนนของภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับที่คาดว่าอาจจะเกิดภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 43.00 และเกิดภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 5<strong> </strong>พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ฟอกไตทางช่องท้อง คือ อายุ และการติดเชื้อในช่องท้อง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>rs=0.20</em>, p &lt; 0.05 และ <em>rs</em>=0.29, <em>p </em>&lt; 0.01) ตามลำดับ รายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (𝑥<sup>2</sup>=49.00, <em>p&lt;</em>.01) ผลการวิจัยนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะพึ่งพิงในการล้างไตทางช่องท้องและภาวะโรคร่วมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทยที่ฟอกไตทางช่องท้อง</p> <p> ข้อเสนอแนะ พยาบาลและบุคลากรด้านสาธารณสุขควรมีการพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อลดความรุนแรง การเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คัดกรองการเกิดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุที่ฟอกไตทางช่องท้องตั้งแต่เริ่มต้นการรักษาด้วยการฟอกไตทางช่องท้อง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง คือ อายุมาก มีประสบการณ์การติดเชื้อในช่องท้อง รายได้ต่อเดือนน้อย และมีภาวะพึ่งพิงในการล้างไตทางช่องท้อง เพื่อป้องกันการเกิดและลดความรุนแรงภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มนี้ในอนาคต</p> วาสนา กันคำ ชลธิมา ปิ่นสกุล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-22 2024-10-22 11 2 46 60 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมุทรปราการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/267105 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ ปัญหาการดำเนินงาน พัฒนาแนวปฏิบัติ และประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์สภาพการณ์และปัญหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาล ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากผู้บริหาร ดำเนินการเดือนกันยายน 2565 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">หน่วยงานมีแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามความรู้และประสบการณ์ ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ชัดเจน</li> <li class="show">แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ประกอบด้วย การประเมินข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ การประเมินอาการทางระบบประสาท การประเมินอาการผิดปกติอื่นที่อาจพบร่วมกับการบาดเจ็บที่ศีรษะ และการพยาบาลตามความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ</li> <li class="show">ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลใหม่ คือ คะแนนการปฏิบัติของพยาบาลที่ปฏิบัติถูกต้องในการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนการสังเกตปฏิบัติของพยาบาลที่ปฏิบัติถูกต้องในการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ พบว่าค่าคะแนนในการปฏิบัติหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 </li> <li class="show">ได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขยายแนวปฏิบัตินี้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการดูแลผู้ปาวยบาดเจ็บที่ศีรษะเพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแล คุณภาพชีวิตผู้ป่วย ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการ</li> </ol> จุฑามาศ สมร่าง สืบตระกูล ตันตลานุกุล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-01 2024-11-01 11 2 61 80 ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรกหลังคลอดของมารดาวัยรุ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/271966 <p> การศึกษาเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายปัจจัยที่เลือกสรรต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาหลังคลอดวัยรุ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 166 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากทะเบียนประวัติมารดาหลังคลอด รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 6 ฉบับประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบของวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ไคสแคว์ และสถิติถดถอยโลจิสติก</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาหลังคลอดวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (OR = 4.24, 95%CI = 1.61, 11.19, p =.004) รายได้ครอบครัว (OR = 2.59, 95%CI = 1.02, 6.57 p =.045) ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (OR = 2.43, 95%CI = 1.06, 5.57, p =.035) ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (OR = 3.36, 95%CI = 1.42, 7.97, p =.006) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (OR = 2.79, 95%CI = 1.19, 6.55, p =.019) และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง (OR = 3.47, 95%CI = 1.41, 8.58, p =.007) ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาหลังคลอดวัยรุ่นได้ 42% (Nagelkerke R2 = 0.42) การค้นพบนี้อาจช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพพัฒนากิจกรรมและกลยุทธ์ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวโดยการเพิ่มความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่</p> สุดกัญญา ปานเจริญ ชุติมา บูรณธนิต พรวิไล คล้ายจันทร์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-05 2024-11-05 11 2 81 97 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 - 70 ปี ในเขตความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครนนทบุรีที่ 2 สวนใหญ่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/271325 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-70 ปี ในเขตความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครนนทบุรีที่ 2 สวนใหญ่ โดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE Framework ของ Green &amp; Kreuter กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุระหว่าง 30-70 ปี จำนวน 403 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตร KR-20 มีค่าเท่ากับ 0.85 และวิธีอัลฟาของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าไคสแควร์ และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้และการรับรู้อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ประโยชน์การตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้อุปสรรคของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 42.18, 48.64, 52.85 และ 66.50 ตามลำดับ 2) ปัจจัยเอื้อด้านความสะดวกเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 67.00 3) ปัจจัยเสริมการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 39.36 4) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอหรือมีความถี่ในการตรวจเต้านมด้วยตนเองจำนวน 1 ครั้งต่อเดือนหรือมากกว่า ร้อยละ 30.63 5) อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) ปัจจัยความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.101, <em>p</em>&lt;0.05) และปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.127, <em>p</em>&lt;0.01) จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการวางแผนส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอและครอบคลุม</p> <p> </p> กัลยา ธัญญะวัน Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-05 2024-11-05 11 2 98 115 ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เข้าสู่เบาหวานระยะสงบ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง หน่วยงานคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเกาะคา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/273003 <p> การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เข้าสู่เบาหวานระยะสงบ ใช้วิธีกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด น้อยกว่าร้อยละ 6.5 และใช้ยาเบาหวานชนิดรับประทานที่มารับการรักษา ณ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเกาะคา อ.เกาะคา จ.ลำปาง จำนวน 29 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ผู้วิจัยพัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรม ส่วนที่ 2 คือเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ แบบบันทึกค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ค่าน้ำหนัก ค่ารอบเอว และค่าดัชนีมวลกาย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพ ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ค่าน้ำหนัก ค่ารอบเอว และค่าดัชนีมวลกายก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value เท่ากับ 0.001, 0.042, 0.001, 0.022 และ 0.010 ตามลำดับ) ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพ มีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ระยะสงบ นอกจากนี้บุคลากรสุขภาพควรมีการติดตามผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าสู่เบาหวานระยะสงบอย่างต่อเนื่อง โดยการเยี่ยมบ้าน หรือการติดตามในชุมชนวิธีอื่น เช่น วิธี 3 หมอ เพื่อให้ผู้ป่วยคงอยู่ในระยะสงบและป้องกันภาวะแทรกซ้อน</p> สมเพ็ชร ขัดทะเสมา ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-05 2024-11-05 11 2 116 133 ผลของการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความเข้มแข็งทางใจของผู้ใหญ่วัยทำงาน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/270986 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความเข้มแข็งทางใจของผู้ใหญ่วัยทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่วัยทำงาน ตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยวิธีการจับสลากเลือก 1 ตำบล จากทั้งหมด 17 ตำบล จำนวน 36 ราย กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ ซึ่งประกอบด้วย 10 กิจกรรม จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทีแบบจับคู่</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งทางใจของผู้ใหญ่วัยทำงานหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจสามารถเพิ่มความเข้มแข็งทางใจได้ ส่งผลดีต่อภาวะสุขภาพจิต และความผาสุก ดังนั้น สามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมในการดูแลสุขภาพจิตของผู้ใหญ่วัยทำงานให้สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้</p> นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ นิศานาถ ทองใบ กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ จุฑารัตน์ สว่างชัย กาญเขตร์ ทรัพย์สอาด Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-06 2024-11-06 11 2 134 147 การพัฒนาคุณภาพการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/272377 <p> ผู้ป่วยเด็กที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมักมีอาการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤตได้ง่ายและรวดเร็ว ตลอดเวลา ดังนั้นการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยเด็กจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การศึกษาเชิงพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โดยใช้วงจร พี ดี ซี เอ (PDCA) ของเดมมิ่ง เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน (plan) การปฏิบัติ (do) การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (check) และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (act) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษา ได้แก่ 1) แนวทางการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยโดยปรับปรุงจากเครื่องมือ ประเมินและเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยเด็กที่เริ่มมีอาการทรุดลง (Pediatric Early Warning Signs: PEWS) 2) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ และ3) แบบบันทึกอุบัติการณ์ภายในหอผู้ป่วย ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (content validity index: CVI) ของแบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในหอผู้ป่วย เท่ากับ 0.99 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (intraclass correlation coefficient : ICC) เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลมีการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวทางการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติของผู้ป่วยเด็กได้ถูกต้องครบถ้วน ร้อยละ 84.75 และไม่พบว่ามีรายงานผู้ป่วยเด็กเกิดอุบัติการณ์ ภาวะหายใจล้มเหลว การเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติโดยไม่ได้วางแผน และการเสียชีวิต ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในช่วงระยะเวลาการเก็บข้อมูล</p> <p> ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการ พี ดี ซี เอ (PDCA) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติของผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วย โดยทำให้ได้แนวทางในการดูแลผู้ป่วยเด็กก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติที่เหมาะสมและผู้บริหารควรส่งเสริมให้พยาบาลปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในระหว่างการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติของผู้ป่วยเด็ก</p> <p><strong> </strong></p> โสภิดา ตันหิง สมใจ ศิระกมล ชญาภา แสนหลวง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-07 2024-11-07 11 2 148 162 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/273451 <p> การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลลำปาง จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย คือ 1) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 2.1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2.2) แบบสัมภาษณ์ความรู้ในการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม 2.3) แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม 2.4) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาค่า IOC ระหว่าง .67 – 1.00 แบบสอบถามความรู้ มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร K-R 20 เท่ากับ .74 แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ สถิติ Wilcoxon signed Ranks Test </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยสูงอายุที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลตนเอง การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 พยาบาลสามารถใช้แนวทางในการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดพฤติกรรมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดที่ดี และสามารถกลับไปปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด</p> <p> </p> ศิริพร ไชยคำ พรรณี ไพศาลทักษิน Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-08 2024-11-08 11 2 163 176 ผลของโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง ต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานของพนักงานโรงงานทำไม้ ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลห้างฉัตร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/272646 <p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานของพนักงานโรงงานทำไม้ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลห้างฉัตร กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 36 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพ การสร้างแรงจูงใจ การสื่อสาร 2 ทาง การใช้สื่อที่หลากหลายและการเสริมแรงกลุ่มควบคุมได้รับบริการสุขภาพตามมาตรฐาน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคกล้ามเนื้อและกระดูก เครื่องมือวิจัยผ่านตรวจสอบคุณภาพด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.78 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการลดความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพของพนักงานโรงงานทำไม้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการลดความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพไม่แตกต่างกัน โดยสรุปโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานของพนักงานโรงงานทำไม้ได้ การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงควรเน้นการมีส่วนร่วม การจูงใจ และการสื่อสารข้อมูลสุขภาพด้วยวิธีการที่หลากหลาย</p> เรียงสอน สุวรรณ ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-03 2024-12-03 11 2 177 192 การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนสังคมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยด้วยภาคีเครือข่ายชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/274943 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operations Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การขับเคลื่อนระบบและกลไกสังคมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่ และเพื่อพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนสังคมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยด้วยภาคีเครือข่ายชุมชนด้านผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ภาคเครือข่ายหลักและเครือข่ายสนับสนุนในพื้นที่ต้นแบบในการขับเคลื่อนระบบและกลไกที่สนับสนุนสังคมผู้สูงอายุใน 8 พื้นที่จังหวัด ในเขตสุขภาพที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแนวทางการถอดบทเรียนการดำเนินการในพื้นที่ และแนวคำถามสนทนากลุ่ม ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการถอดบทเรียน และการสนทนากลุ่มโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการเพื่อเตรียมการเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่ผ่านมาเน้นการทำงานร่วมกับผู้สูงอายุการกกว่าการเตรียมแผนการรองรับการเปลี่ยนแปลง ดำเนินการผ่านข้อมูลชุมชน นำมาสู่การออกแบบ แต่ยังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มีการใช้เครื่องมือสื่อสารในกระบวนการทำงาน ข้อค้นพบเกี่ยวกับรูปแบบการขับเคลื่อนสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยด้วยภาคีเครือข่ายชุมชนนั้นมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำใช้ข้อมูลชุมชนและทุนทางสังคม การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การอาศัยระบบกลไกในพื้นที่ในการทำงาน และดำเนินการให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติคือ มิติสุขภาพ มิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และมิติเศรษฐกิจ กระบวนการทำงานจะต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนารูปแบบการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด</p> <p> ดังนั้นพัฒนารูปแบบการเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุจะต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการออกแบบแผนกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมเพื่อการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันของภาคีเครือข่ายทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของประเด็นร่วมกันมู่งสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป</p> เดชา ทำดี วิลาวัณย์ เสนารัตน์ ภัทรพรรณ ทำดี วไลรักษ์ รัติวนิช อมรรัตน์ สุริยะลังกา Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-11 2024-12-11 11 2 193 214 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการคิดเชิงบริหารเด็กปฐมวัย ต่อความรู้ และพฤติกรรมการส่งเสริมการคิดเชิงบริหารในครูผู้ดูแลเด็ก จังหวัดลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/270274 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย ต่อความรู้ และพฤติกรรมการส่งเสริมการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 26 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 13 คน โดยประยุกต์กรอบแนวคิดการพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพของ Nutbeam 6 ด้าน ร่วมกับแนวคิดด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย (EF) 5 ด้าน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านความคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก แบ่งเป็น 6 ระยะ ในเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งจัดอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านสื่อวิดิทัศน์ คู่มือการส่งเสริมความคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย และการพัฒนาทักษะการส่งเสริมด้านความคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้การส่งเสริมการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร Kuder Richardson (KR-20) เท่ากับ 0.82 2) แบบประเมินพฤติกรรมการส่งเสริมการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Mann Whitney U test, Wilcoxon Signed Rank test และ Friedman-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็กสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) และเมื่อติดตามผลหลังสิ้นสุดการใช้โปรแกรม และติดตาม 2 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นพยาบาลสามารถนําโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมกับบริบทของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กและโรงเรียนได้</p> ณิชกานต์ นาควิโรจน์ จิราพร เป็งราชรอง ศิริวรรณ ใบตระกูล จุฑาทิพย์ เดชเดชะ จิตอารี ชาติมนตรี Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-11 2024-12-11 11 2 215 234 พฤติกรรมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุ ของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุในอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/272862 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุในอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 45 – 59 ปี จำนวน 253 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้ออยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85, 0.78, 0.85, และ 0.89, ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ (X<sup>2</sup> = 18.06, p &lt; 0.001) และความเพียงพอของรายได้ (X<sup>2</sup> = 4.07, p = 0.04) ปัจจัยเอื้อ (r = 0.43, p &lt; 0.001) และปัจจัยเสริม (r = 0.59, p &lt; 0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ควรสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม ได้แก่ การเข้าถึงบริการและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และเพียงพอ การสนับสนุนให้ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมทั้งจากครอบครัว ชุมชน และบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มวัยก่อนสูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุที่เพิ่มขึ้น และเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีสุขภาวะเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพต่อไป</p> ชลิดา แก้วนอ พิสิษฐ์ ดวงตา ดาวรุ่ง คำวงศ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-16 2024-12-16 11 2 235 251 ความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/273266 <p> การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านเพศของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 คำนวณหากลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 264 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดความรอบรู้เรื่องเพศวิถีศึกษา และ 3) แบบวัดทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เครื่องมือผ่านการทดสอบคุณภาพด้านความตรงของเนื้อหาและความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าระดับความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาของนักศึกษาพยาบาลภาพรวมอยู่ในระดับดี และทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดี 8 ด้าน ได้แก่ ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิด ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทักษะการเข้าใจผู้อื่น และทักษะการจัดการกับความเครียด และมี 2 ด้านทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับพอใช้ ได้แก่ ทักษะตระหนักรู้ในตน และทักษะการจัดการกับอารมณ์ และ ทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาพยาบาลภาพรวมอยู่ในระดับดี </p> <p> ผลการศึกษานี้ให้ข้อมูลพื้นฐาน สำหรับอาจารย์พยาบาล บุคลากรสุขภาพ ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด เป็นแนวทางในการป้องกัน และส่งเสริมให้นักศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยได้อย่างมีความสุข เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เหมาะสม สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นพื้นฐานในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีคุณภาพต่อไป</p> <p> </p> ขจิต บุญประดิษฐ อรวรรณ ฤทธิ์มนตรี สุวิชญา วิริยะศิริกุล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-17 2024-12-17 11 2 252 263 ผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อโรคอุบัติใหม่ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแพร่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/274061 <div><span style="font-size: 0.875rem;"> การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์ 2) สร้างรูปแบบการจัดการ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้ออุบัติใหม่ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแพร่ แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าแผนก หัวหน้าทีมพยาบาล และแพทย์ในการคัดแยกผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 8 ท่าน ระยะที่ 2 ขั้นการออกแบบและพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จำนวน 2 ท่าน พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 2 ท่าน และอาจารย์พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญด้านเวชปฏิบัติฉุกเฉิน จำนวน 1 ท่าน ระยะ 3 การทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่คัดแยกผู้ป่วย จำนวน 13 ท่าน ระยะ 4 การประเมินประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หัวหน้างานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน หัวหน้าทีมพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานในการคัดแยกผู้ป่วย จำนวน 4 ท่าน และแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) รูปแบบการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้ออุบัติใหม่ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่คัดแยกผู้ป่วย จำนวน 13 ท่าน เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา มีค่าดัชนีความตรงเนื้อหาเท่ากับ 0.94 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.90 เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนมีนาคม 2565 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </span></div> <div> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้ออุบัติใหม่ ยังพบปัญหาจำนวนบุคลากร และครุภัณฑ์มีการจัดสรรไม่เพียงพอกับผู้ป่วย ด้านกระบวนการมีความหลากหลายของนโยบายในการคัดแยกผู้ป่วยทำให้การคัดแยกไม่ชัดเจนเกิดความคาดเคลื่อนในการคัดแยกผู้ป่วย และด้านผลลัพธ์รูปแบบการให้บริการยังไม่มีความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติในการคัดแยกผู้ป่วยส่งผลให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์มีการติดเชื้อจากการให้บริการผู้ป่วยด้วยโรคอุบัติใหม่ 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 2 แนวปฏิบัติ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติในการคัดแยกผู้มารับบริการ และแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อโรคอุบัติใหม่ และ 3) ผลความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้ออุบัติใหม่ความพึงพอใจในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (mean =4.83, SD.= 0.37) ข้อเสนอแนะ ควรนำรูปแบบการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อโรคอุบัติใหม่นี้ไปใช้ในการบริหารจัดการกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงอื่น และมีการกำกับการติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละหน่วยงาน</p> </div> นิกร จันภิลม ธนวรรธ์ ปานรวิกาลสกุล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-18 2024-12-18 11 2 264 283