https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/issue/feed วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2025-02-28T15:09:59+07:00 Asst.Prof.Yongyuth Kaewtem thun716@gmail.com Open Journal Systems <p> <strong> วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ</strong> เป็นวารสารรายหกเดือนหรือครึ่งปี กำหนดการออกวารสาร ฉบับ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม). วารสารมีนโยบายการเผยแพร่บทความที่มีคุณภาพด้านสุขภาพ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ซึ่งนิพนธ์โดยพยาบาล แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ฯลฯ ซึ่งปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สาธารณสุขชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อม และบทความด้านการพยาบาลทั่วไป ทฤษฎีการพยาบาลและการวิจัยการพยาบาลขั้นสูงและการพยาบาลเฉพาะทาง โดยมีผู้นิพนธ์จากทั้งภายในและภายนอกสถาบัน รับบทความประเภท บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือ และบทวิจารณ์บทความ</p> <p> บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ <span style="text-decoration: underline;"><strong>โดยทุกบทความผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบันที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะการดำเนินการปกปิดชื่อของผู้วิจัย แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ (<u>double-blinded review system </u>) อย่างน้อยจำนวน 2 ท่าน โดยตั้งแต่วารสารปีที่ 10 ฉบับที่ 2 วารสารมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 3 ท่านทุกบทความ และเผยแพร่ 2 ครั้งต่อปีในเดือนมกราคมและกรกฎาคม</strong></span></p> <p> บทความวิจัยที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ<strong><span style="text-decoration: underline;">จะต้องผ่านการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในคนและมีเลขที่รับรองก่อนตีพิมพ์</span></strong></p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/273906 ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของคนทำงานผลิตวัสดุก่อสร้าง ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 2025-01-03T15:02:00+07:00 มัณฑกานต์ เครือเตจ๊ะ munthakano@yahoo.com <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของคนทำงานผลิตวัสดุก่อสร้าง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 40 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน 1) โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบความตรงทางเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.76 - 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน คือ paired - t - test และ Wilcoxon Signed Rank Test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรมค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานที่มีความปลอดภัย มีค่าสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p &lt;.05) แสดงให้เห็นว่า การจัดโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่มีความปลอดภัย นำไปสู่การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้</p> 2025-03-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/274708 ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดต่อผลลัพธ์ทางคลินิก โรงพยาบาลสบปราบ จังหวัดลำปาง 2025-01-14T21:01:41+07:00 สุจิตรา วิมานศักดิ์ s.sujitrawiman2024@gmail.com สิทธิรัตน์ บุตรดี s.sujitrawiman2024@gmail.com <p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทักษะและความคิดเห็นของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพ และศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกจากการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลสบปราบ จังหวัดลำปาง ประชากร คือ 1) พยาบาลวิชาชีพ 21 คน 2) ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 36 คน เก็บข้อมูล 1 เมษายน- 30 มิถุนายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลสบปราบ 2) แบบประเมินระดับทักษะและความคิดเห็นการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 3) แบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหามีคะแนน IOC รายข้อ &gt; 0.5 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบ Paired t-test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ทักษะของพยาบาลวิชาชีพในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.70, S.D. = 0.11) และเห็นด้วยต่อการใช้แนวปฏิบัติปฏิบัติ (μ = 4.48, S.D. = 0.34) การประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกด้วย NEWS score พบว่า หลังการรักษาชั่วโมงที่ 6 ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ในการรักษาดีขึ้นกว่าในระยะแรกรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.01) ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่ได้รับการรักษาตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีอาการทุเลาสามารถกลับบ้านได้ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 75 ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลอื่น จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 25 และไม่มีผู้ป่วยที่เสียชีวิต ซึ่งดีกว่าผลการรักษาก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดได้อย่างมีมาตรฐาน</p> 2025-03-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง