TY - JOUR AU - ปัญโญวัฒน์, นิรุชา PY - 2022/08/23 Y2 - 2024/03/29 TI - สุขภาพใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 JF - วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น JA - วารสารศอ.7 VL - 14 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/255174 SP - 34-49 AB - <p>การวิจัยเรื่องสุขภาพใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการศึกษาแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง 223 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน วิเคราะห์ค่า IOC เท่ากับ 0.67 และความเที่ยงตรงแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.84 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่ให้ข้อมูลได้ดีที่สุด จำนวน 7 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 1พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564 ใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมาน Chi-square ในตัวแปรแจงนับ ใช้สถิติ Pearson Product Moment Correlation Coefficient ในตัวแปรต่อเนื่องและใช้สถิติ Stepwise Multiple Regression Analysis เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพใจ และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สุขภาพใจ (ระดับความสุข) ในประเด็นรู้สึกว่าชีวิตมีความสุข คิดเป็น ร้อยละ 67.3 รองลงมาคือรู้สึกภูมิใจในตนเอง คิดเป็นร้อยละ 65.9 ระดับความสุขพบว่า คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 27.76 (S.D. = 4.10) คะแนน การแปลผลคะแนนเฉลี่ยระดับความสุข อยู่ในระดับความสุขเท่าคนทั่วไป (Fair) คิดเป็นร้อยละ 47.1 โดยมีระดับความสุขมากกว่าคนทั่วไป (Good) คิดเป็นร้อยละ 38.6 และระดับความสุขต่ำกว่าคนทั่วไป (Poor) คิดเป็นร้อยละ 14.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพใจของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ, ฐานะทางการเงิน ส่วนรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวก (r = 0.196, p-value = 0.003) ปัจจัยความเครียด (ST5) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางเชิงผกผัน (r = -0.464, p-value &lt; 0.001) ปัจจัยสาเหตุของความเครียดในการทำงาน มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางเชิงผกผัน (r=-0.375, p-value &lt; 0.001) และปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ ได้แก่เพศ (หญิง) รายได้ต่อเดือนหน่วยงานที่สังกัด (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ) ความเครียด (ST5) สาเหตุของความเครียดในการทำงาน โดยปัจจัยทั้ง 5 สามารถพยากรณ์ ได้ร้อยละ 21.5-34.5 ข้อเสนอแนะบุคลากรควรมีสติและระมัดระวังในการในการใช้ชีวิตมากขึ้น อยู่ห่างไกลกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ ปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA อย่างเคร่งครัด ควรทำจิตใจให้มีความสุขในสถานการณ์โรคโควิด-19 มองสถานการณ์ตามความเป็นจริง และควรมีการสนับสนุนควรจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ สำหรับบุคลากรใช้โดยทั่วถึง</p> ER -