วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned <p><strong>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ (</strong><strong>Journal of Nursing and Therapeutic Care)</strong></p> <p><strong><span class="font-weight-bold" data-v-4fadc455="">ISSN:</span> 2985-1432 (Online)</strong></p> <p>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ชื่อเดิม: วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ </p> <p>และเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาอังกฤษ <strong>จากเดิม "Journal of Nursing and Health Care" </strong></p> <p><strong>เป็น “Journal of Nursing and Therapeutic Care”</strong></p> <p>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ (Journal of Nursing and Therapeutic Care) เป็นของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สำนักงานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางของบุคลากรวิชาชีพการพยาบาลฯ การดูแลสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้และแนวปฏิบัติจากงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความอื่นๆที่น่าสนใจ <strong>เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งทางวิชาชีพการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ</strong> ดังนั้นจึงใคร่ขอเชิญชวนให้พยาบาลทุกท่านและผู้ที่เกี่ยวข้องที่สนใจส่งบทความมาเผยแพร่ในวารสารนี้ กองบรรณาธิการยินดีรับเรื่องที่ท่านส่งมาและยินดีสรรหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเขียน มาให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงต้นฉบับให้ได้คุณภาพอย่างสมบูรณ์แบบ</p> <p>ตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ทุก ๆ 3 เดือน</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม</p> <p>ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน</p> <p>ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม</p> th-TH jnatned@gmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร. จันทร์ทิรา เจียรณัย) jnatned@gmail.com (ภานุมาศ หาญสุริย์) Thu, 11 Apr 2024 10:30:12 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยทำนายการเข้าถึงระบบบริการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270142 <p>การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเข้าถึงการบริการรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน มารับบริการที่โรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 104 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามการรับรู้สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบเครือข่ายการส่งต่อ การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93, .92 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของการเข้าถึงระบบบริการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน อยู่ในระดับมากที่สุด การรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน เป็นปัจจัยพยากรณ์ที่ดีที่สุด และมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt; .01) รองลงมา คือการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน และปัจจัยทั้งสองร่วมพยากรณ์การเข้าถึงการบริการรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ได้ร้อยละ 47.30 ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน และการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน กับกลุ่มเสี่ยง สมาชิกในครอบครัวกลุ่มเสี่ยง และชุมชนที่มีกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งประชาชนทั่วไป อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบการบริการรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันได้อย่างทันเวลาและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น </p> วันเพ็ญ ปลั่งเนียม, เอื้องอรุณ สรโยธิน, อังสินี กันสุขเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270142 Tue, 21 May 2024 00:00:00 +0700 ผลการใช้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนกลางและภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชโดยได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269343 <p>การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนกลางและภาวะหนาวสั่นเก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช โดยได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ที่หน่วยงานวิสัญญีโรงพยาบาลอุดรธานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 29 ราย โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการอบอุ่นร่างกายด้วยผ้าห่มเป่าลมอุ่นร่วมกับการอุ่นสายน้ำเกลือ ตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัดจนถึงระยะหลังผ่าตัดส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการอบอุ่นร่างกายในระยะก่อนผ่าตัดด้วยผ้าห่มขนหนูสำหรับผู้ป่วย ระยะผ่าตัดและหลังผ่าตัดใช้ผ้าห่มเป่าลมอุ่นให้สารน้ำอุณหภูมิห้องตลอดการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมอบอุ่นร่างกาย ที่ผู้วิจัยประยุกต์จากโปรแกรมอบอุ่นร่างกายของสาธร หมื่นสกุล และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการผ่าตัด การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและ ข้อมูลการผ่าตัดโดยใช้สถิติ พรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของอุณหภูมิแกนและภาวะหนาวสั่นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย Mann Whitney U test และ สถิติ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 44.90 และ 44.76 ปี ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย 22.21 และ 22.83 ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 72.28 และ 72.31 นาที ปริมาณสารน้ำเฉลี่ย 898.10 และ 899.97 ปริมาณการเสียเลือดเฉลี่ย 121.48 และ 122.00 มิลลิลิตร ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าระหว่างผ่าตัดอุณหภูมิแกนของกลุ่มทดลอง (36.70 องศาเซลเซียส) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (36.40 องศาเซลเซียส) และเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าอุณหภูมิแกนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะหนาวสั่นเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <em>p &lt;</em> .05 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมอบอุ่นร่างกายมีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง จึงควรประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดอื่นต่อไป</p> จิตราวดี ศรีศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269343 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการตัดสินใจเลือกเสียชีวิตที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270276 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการตัดสินใจเลือกเสียชีวิตที่บ้านสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยที่ต้องการดูแลผู้ป่วยประคับประคองในวาระสุดท้ายที่บ้าน จำนวน 12 ครอบครัว เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและผู้ดูแลแบบบันทึกการสนทนาโดยผู้วิจัย เทปบันทึกการสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Content analysis และ Thematic analysis</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการตัดสินใจเลือกเสียชีวิตที่บ้านสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง จำนวน 12 ครอบครัว แบ่งได้ 3 แบบ ดังรายละเอียด 1) ตัดสินใจเลือกการดูแลที่บ้าน แม้รู้ว่าต้องใช้ ความพยายามและอดทนอย่างมาก 2) ตัดสินใจโดยมีการเตรียมพร้อมเสียชีวิตที่บ้านและรู้สึกมีความสุขในการได้ดูแล และ 3) ตัดสินใจเลือกการดูแลที่บ้านแม้ครอบครัวไม่มีประสบการณ์การดูแลมาก่อน ข้อมูลที่ได้นำไปพัฒนาเพื่อออกแบบบริการที่ เหมาะสม คือสนับสนุนเพื่อให้ผู้ดูแลตัดสินใจโดยมีการเตรียมพร้อมเสียชีวิตที่บ้านและรู้สึกมีความสุขในการได้ดูแล ได้แก่ การสื่อสาร การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง การเตรียมบ้านและผู้ดูแล การประสานงานเพื่อการจัดการอาการที่มีประสิทธิภาพ มีระบบการดูแลที่บ้านการดูแลผู้ดูแลเพื่อคลายความกังวล </p> แพงพรรณ ศรีบุญลือ, รัตนาภรณ์ ศิริเกต, ศรีเวียง ไพโรจน์กุล Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270276 Wed, 12 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269383 <p>การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหัวใจสำคัญของการให้บริการทางด้านสุขภาพและสร้างมาตรฐานในการให้บริการ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความปลอดภัย ในหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาในบุคลากรทางการพยาบาลของหอผู้ป่วยจำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการจัดการความปลอดภัย 6 ด้าน ตามกรอบแนวคิดของระบบบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้วิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคโดยมีค่าเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 29 ปี เป็นพยาบาลวิชาชีพร้อยละ 60 ผู้ช่วยพยาบาลร้อยละ 15.56 พนักงานช่วยเหลือคนไข้ ร้อยละ 24.44 มีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 5.4 ปี ไม่เคยเข้าการอบรมการบริหารความเสี่ยงร้อยละ 51.11 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นการจัดการความเสี่ยงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกการจัดการความปลอดภัยรายด้านพบว่าทั้ง 6 ด้านมีระดับคะแนนความคิดเห็นอยูในระดับมาก โดยมีคะแนนสูงสุดคือ ด้านการค้นหาความเสี่ยงรองลงมาคือ ด้านการกำหนดกลยุทธ์และมาตรการป้องกันความเสี่ยง ด้านระบบรายงานอุบัติการณ์ ด้านการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า ด้านการประเมินประสิทธิผลของระบบ และด้านการประสานงานระบบที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ จากการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลมาออกแบบการจัดการความปลอดภัยในหอผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมส่งผลให้มีการจัดการความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพต่อไป </p> จันทร์เจ้า กาดโคกกรวด, จินตนา ตาปิน, ชลศานต์ รอดจากเข็ญ, ชดาภา จรูญทองแถม Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269383 Wed, 08 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยที่รอดชีวิต จากโรคหลอดเลือดสมองในเขตเมือง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270451 <p>การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลทำนายของปัจจัยส่วนบุคคลและภูมิหลังภาระการดูแล คุณภาพชีวิต ต่อศักยภาพการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแล 256 คน ในเขตเทศบาลนครรังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและภูมิหลัง 2) ภาระการดูแล 3) คุณภาพชีวิต และ 4) ศักยภาพการดูแล ค่าความตรง 0.97, 1.0 และ 0.92 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.93, 0.92 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Pearson’s product moment correlation, Chi-Square test และ Stepwise multiple regression</p> <p>ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.36 ปี มีระดับการศึกษาประถมศึกษามากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ รายได้ครอบครัวต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน เกี่ยวข้องเป็นสามีภรรยามากที่สุด มีโรคประจำตัว 2 โรคขึ้นไปมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง มีปัจจัยเสี่ยงโรคอ้วน รับประทานเค็มและหวาน และไม่ออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ มีระยะเวลาดูแลผู้ป่วย 1-5 ปี และต้องดูแลทุกวัน ปัญหาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ผู้ดูแลหนักใจมากที่สุดคือ การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง ปัญหาจิตใจ และการพูดสื่อสารไม่เข้าใจ ภาระการดูแลระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี และศักยภาพการดูแลของผู้ดูแลโดยรวมระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำนายศักยภาพการดูแลคือ คุณภาพชีวิต และจำนวนบุตร โดยร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 19.30 (<em>p</em> &lt; .001) ผลการวิจัยทำให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มีประสิทธิภาพต่อไป</p> สุนทรา เลี้ยงเชวงวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270451 Mon, 24 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269796 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยแบ่งเป็น 3ระยะได้แก่ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง 2) การพัฒนารูปแบบและการดำเนินกิจกรรมการดูแลสุขภาพ 3) การประเมินผลของการใช้รูปแบบเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) ตัวแทนจากผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายในชุมชน จำนวน 32 คน 2) กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 30 คน 3) ผู้ดูแลที่เข้าร่วมในการทดลองรูปแบบจำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 92 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพแบบประเมินระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ pair t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบที่พัฒนามี 4 องค์ประกอบได้แก่ การจัดเตรียมแผนการดูแลการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนและภาคีเครือข่ายการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้านการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรมการดูแลอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบพบว่า ผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงมีการรับรู้ภาวะสุขภาพสูงขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.01) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเพิ่มคุณภาพการดูแล ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่มีภาวะพึ่งพิง ได้เนื่องจากมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเฉพาะการนำผู้อายุที่มีจิตอาสามาเป็นผู้ดูแลและการได้รับสนับสนุนจากภาคีที่เกี่ยวข้อง ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอ</p> ปภาดา ชมภูนิตย์, พิมพ์นิภา บุญประเสริฐ, รัชดาภรณ์ แม้นศิริ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269796 Thu, 09 May 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานบางประการกับการรับรู้และความคาดหวังผลลัพธ์ของผู้ป่วยต่อการทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270596 <p>การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานบางประการ กับการรับรู้และความคาดหวังผลลัพธ์ของผู้ป่วยต่อการทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่จะได้รับการทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจครั้งแรก ที่มารับบัตรนัดนอนโรงพยาบาลที่ศูนย์ประสานงานผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 385 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์การรับรู้และความคาดหวังผลลัพธ์ต่อการทำหัตถการสวนหัวใจ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.96 และ 0.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 62.08 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพ โรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน การรับรู้ของผู้ป่วยต่อการทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ความคาดหวังผลลัพธ์ของผู้ป่วยต่อการทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจอยู่ในระดับสูง ปัจจัยพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้และความคาดหวังผลลัพธ์ของผู้ป่วยต่อการทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจโดยรวม ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนของครอบครัว อาชีพ และสิทธิการรักษา ดังนั้น ควรมีการออกแบบหรือพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลผู้ป่วยก่อนการทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีข้อมูล เพียงพอที่จะตัดสินใจในการทำหัตถการสวนหัวใจ</p> อริญชย์ เมตรพรมราช, ศุภางค์ สุปะติ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270596 Wed, 12 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ต่อความฉลาดทางอารมณ์ของ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269822 <p>วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 และ 2) ศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์จาก 2.1)เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์กลุ่มทดลองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมและ 2.2) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรม ฯ ขึ้น เพื่อพัฒนาครบองค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ดี เก่ง และสุข ของกรมสุขภาพจิตกระบวนการกลุ่มประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎียึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้จากประสบการณ์ โปรแกรมมี 10 กิจกรรม เข้ากลุ่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย จากผู้ที่มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ต่ำกว่าปกติถึงเกณฑ์ปกติได้จำนวน 26 คน แล้วแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 13 คน เครื่องมือในการวิจัยมี 1) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ หาความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.91 และ 2) โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ หาความตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 – 1.00 </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับ EQ ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปกติ มากที่สุด ร้อยละ 50.30 และรองลงมาอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ ร้อยละ 35.86 ความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความฉลาดทางอารมณ์หลังการเข้าร่วมโปรแกรมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ประโยชน์ที่ได้สามารถส่งเสริมการใช้โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ดังกล่าวกับนักศึกษาพยาบาลหรือนักศึกษาที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันให้มีความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มมากขึ้นเพื่อประสิทธิภาพในการปรับตัวต่อการเรียนในวิชาชีพพยาบาลต่อไป</p> ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน, สัมฤทธิ์ ขวัญโพน Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269822 Wed, 12 Jun 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลต่อความรอบรู้ ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270927 <p>การวิจัยกึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่ม เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลต่อความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 62 คน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่และคลินิกหมอครอบครัวปทุม ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบตามลำดับ โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 31 คน กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มอย่างง่าย ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับการเสริมสร้างความรอบรู้ด้วยโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลฯ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามกรอบแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับประชาชนไทย ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขผ่านการประเมินความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เฉลี่ยทั้งฉบับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Wilcoxon signed Rank test และ Mann-Whitney U Test </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับไม่เพียงพอ หลังการเข้าร่วมโปรแกรมพบว่ากลุ่มทดลองมีระดับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับเพียงพอ ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบยังมีระดับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับไม่เพียงพอ และ หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยรวมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> บุญชัย ภาละกาล, ไขนภา มิ่งชัย, อรนิตย์ จันทะเสน Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270927 Wed, 19 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีศึกษา : ตำบลจอมทอง จังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269983 <p>การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการตนเองในการป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 30 คน ที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในตำบลจอมทอง จังหวัดพิษณุโลก วิธีดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบสนับสนุน การจัดการตนเอง และระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของระบบสนับสนุนการจัดการตนเอง รวมระยะเวลาดำเนินงานวิจัยทั้งหมด 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกผลการตรวจร่างกาย ประกอบด้วย ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนัก รอบเอว และดัชนีมวลกาย ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.8 นอกจากนั้นยังมีแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.7 และแบบทดสอบความรู้ตรวจสอบความตรงโดยใช้ วิธีคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 มีค่าเท่ากับ 0.7 ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยชุดความรู้ผ่านแอปพลิเคชั่น แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพและความรู้ประจำวัน โดยเครื่องมือดังกล่าวมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.8 ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะถูกวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติ Paired t-test และ Wilcoxon Signs test. ในการวิเคราะห์คะแนนความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและผลการตรวจร่างกาย</p> <p>จากผลการศึกษาประสิทธิผลระบบสนับสนุนการจัดการตนเองพบว่า ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิก รอบเอว น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก ระดับน้ำตาลในเลือด ความรู้และพฤติกรรม การดูแลสุขภาพโดยภาพรวมก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาพฤติกรรมรายด้านเกี่ยวกับอารมณ์มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> พิมพ์นิภา บุญประเสริฐ, ปภาดา ชมภูนิตย์, สายทอง นวลจีน, รัชดาภรณ์ แม้นศิริ, ปริมประภา ก้อนแก้ว, วัชระ เกี๋ยนต๊ะ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269983 Mon, 20 May 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง: การประยุกต์ใช้แนวคิด สบช.โมเดล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270965 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงต่อความรู้เกี่ยวกับโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 34 คน ตามเกณฑ์การคัดเข้าที่กำหนดไว้ กลุ่มทดลองได้รับคู่มือการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงโดยประยุกต์ใช้แนวคิด สบช.โมเดล ที่ดำเนินการจำนวน 5 สัปดาห์ จัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง และ 30 นาทีในสัปดาห์ที่ 5 ขณะที่ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามมาตรฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคและแบบวัดพฤติกรรม การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาคุณภาพเครื่องมือโดยการคำนวณค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 1.00 ในทุกเครื่องมือ ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.78 และแบบวัดพฤติกรรมในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองทดสอบความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค เท่ากับ 0.86 มีการวัดที่ระยะก่อนการทดลอง หลังเสร็จสิ้นการทดลองสัปดาห์ที่ 1 และ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square Independent t-test และ Repeated measure ANOVA</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และพฤติกรรมการป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ บุคลากรทางด้านสุขภาพควรมีการประยุกต์ใช้แนวคิด สบช.โมเดล เพื่อประเมินระดับสี และจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองแต่ละสีเพื่อให้สามารถปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างเหมาะสม และควรมีการศึกษาในรูปแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม รวมทั้งการติดตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในระยะยาวต่อไป</p> สุภาวดี นพรุจจินดา, ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์, สุนิสา จันทร์แสง, จตุพงษ์ พันธ์วิไล Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270965 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ต่อการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของมารดาที่มารับบริการในคลินิกเด็กดี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรุงเทพมหานคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270115 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ในการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ระยะเวลารับบริการ และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดามีบุตรอายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 9 เดือน มารับบริการในคลินิกเด็กดี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน 144 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 72 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ในการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมร่วมกิจกรรมตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจในการรับบริการ ซึ่งทดสอบหาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .91 และ .90 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.83 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paired sample t-test และ independent sample t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ในการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ในการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และมีความพึงพอใจในการรับบริการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่มีระยะเวลาเฉลี่ยในการรับบริการน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โปรแกรมนี้ช่วยให้มารดามีความรอบรู้ในการใช้คู่มือฯ ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริมพัฒนาการบุตรที่บ้านได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง สามารถตรวจพัฒนาการบุตรด้วยตนเองได้ถูกต้องก่อนมารับบริการ ทำให้ระยะเวลารับบริการในขั้นตอนตรวจพัฒนาการลดลงได้</p> ศุภศิตา ไทยถาวร, มณฑาทิพย์ เหตานุรักษ์, พัชราภรณ์ พงค์เขียว, บุณยอร สิริกาญจน์ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/270115 Wed, 12 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมบริการของบุคลากรทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิดสร้างสุขด้วยสติในองค์กร โรงพยาบาลหนองบัวลำภู https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269244 <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมบริการของบุคลากรทางการพยาบาล 2) พัฒนารูปแบบในการแก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ 3) ศึกษาประสิทธิผลที่ได้จากการใช้รูปแบบฯ วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน การวิเคราะห์สภาพปัญหา การพัฒนารูปแบบ ทดลองใช้ และประเมินประสิทธิผลรูปแบบโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลในพยาบาล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน เป็นบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลหนองบัวลำภูที่ผ่านการอบรมสร้างสุขด้วยสติในองค์กร ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2564 – สิงหาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ดังนี้ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต ชุดคำถามประเมินประสิทธิผลการโครงการสร้างสุขด้วยสติในองค์กร ของภาวิณี เพชรสว่าง แบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรมพยาบาล ของสภาการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ประเด็น และเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณ เปรียบเทียบระดับสติจำแนกตามความถี่ในการฝึกสติวิธีต่าง ๆ อายุ ประสบการณ์ฝึกสติโดยใช้สถิติ One-way ANOVA เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียด ก่อนและหลังพัฒนา ด้วย Wilcoxon signed-rank test ประเมินผลแบบวัดสติ การมีเมตตาต่อผู้อื่น ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม ความผูกพันต่องาน ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนาด้วย Paired t test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาพฤติกรรมบริการมีสาเหตุจากความเครียดสะสม ขาดสติสื่อสาร ขาดความตระหนักคุณค่า ในตนรูปแบบการพัฒนาฯ ประกอบด้วยสติในตน สติในทีม และสติในการขับเคลื่อนพันธกิจองค์กร ขั้นตอนการดำเนินงานครบวงจร มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ของผู้บริหาร การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน การนำไปใช้หลังอบรม ภายหลังการใช้รูปแบบ ฯ พบว่าความเครียดของบุคลากรทางการพยาบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและภายหลังการใช้รูปแบบ ฯ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมี ระดับคะแนนสติ การมีความเมตตาต่อผู้อื่น ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และความผูกพันต่องาน ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมจริยธรรมของบุคลากรทางการพยาบาลหลังการใช้รูปแบบ ฯ สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> พัชรี ฤทธิสุนทร, กัลฐิพร ชัยประทานพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269244 Wed, 08 May 2024 00:00:00 +0700