วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned <p><strong>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ (</strong><strong>Journal of Nursing and Therapeutic Care)</strong></p> <p><strong><span class="font-weight-bold" data-v-4fadc455="">ISSN:</span> 2985-1432 (Online)</strong></p> <p>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ชื่อเดิม: วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ </p> <p>และเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาอังกฤษ <strong>จากเดิม "Journal of Nursing and Health Care" </strong></p> <p><strong>เป็น “Journal of Nursing and Therapeutic Care”</strong></p> <p>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ (Journal of Nursing and Therapeutic Care) เป็นของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สำนักงานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางของบุคลากรวิชาชีพการพยาบาลฯ การดูแลสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้และแนวปฏิบัติจากงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความอื่นๆที่น่าสนใจ <strong>เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งทางวิชาชีพการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ</strong> ดังนั้นจึงใคร่ขอเชิญชวนให้พยาบาลทุกท่านและผู้ที่เกี่ยวข้องที่สนใจส่งบทความมาเผยแพร่ในวารสารนี้ กองบรรณาธิการยินดีรับเรื่องที่ท่านส่งมาและยินดีสรรหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเขียน มาให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงต้นฉบับให้ได้คุณภาพอย่างสมบูรณ์แบบ</p> <p>ตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ทุก ๆ 3 เดือน</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม</p> <p>ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน</p> <p>ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม</p> สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สำนักงานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ th-TH วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2985-1432 ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับ การผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/271355 <p>การส่งเสริมการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัด เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยให้มีความปลอดภัย และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลครั้งเดียวหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพต่อการฟื้นสภาพของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง ในโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มละ 15 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องภายใน 72 ชั่วโมง รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการฟื้นฟูสภาพฯ และคู่มือการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความเจ็บป่วย แบบบันทึกติดตามอาการและการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วย และแบบประเมินการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด ซึ่งแบบประเมินการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ยู</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีการฟื้นสภาพในระดับมากที่สุด และกลุ่มทดลองมีคะแนนการฟื้นสภาพมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; .001) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพสามารถส่งเสริมการฟื้นสภาพของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องได้ ดังนั้นจึงควรไปขยายผลต่อพยาบาลและผู้ดูแลสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการส่งเสริมการฟื้นสภาพผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง</p> เจษฎา เจริญสิริพิศาล จารุณี จินาวงศ์ จินตภัค ประกอบ วโรดม เสมอเชื้อ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-03 2024-08-03 42 3 e271355 e271355 ผลของการดูแลผู้ป่วยประคับประคองในวาระสุดท้ายที่บ้านต่อผลลัพธ์การดูแล และภาระของญาติ : โรงพยาบาลระดับเหนือตติยภูมิ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/272904 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านต่อผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยเฉพาะ การบรรเทาความทุกข์ทรมานทางร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ รวมถึงการให้ข้อมูลและภาระการดูแลของญาติผู้ดูแล ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 32 ราย รูปแบบการดูแลประกอบด้วยการเยี่ยมบ้าน การติดตามโทรเวชกรรมทุกวัน ระบบให้คำปรึกษา 24 ชั่วโมง และคู่มือบันทึกสุขภาพที่บ้าน ดูแลต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยเสียชีวิต เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ฉบับใช้ถามผู้ดูแลของผู้ป่วยและแบบประเมินภาระการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน Zarit Burden ก่อนและหลังการเข้าร่วมวันที่ 3 และวันที่ 7 ดูแลต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยเสียชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยด้วยสถิติ Generalized linear models และMultiple comparison </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการดูแล ค่าคะแนนเฉลี่ยข้อมูลผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองน้อยกว่าก่อนทดลองในวันที่ 3 และวันที่ 7 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <strong>.</strong>05 และค่าคะแนนเฉลี่ยภาระการดูแลน้อยกว่าก่อนทดลองในวันที่ 7 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <strong>.</strong>05 ดังนั้น รูปแบบการดูแลผู้ป่วยประคับประคองในวาระสุดท้ายที่บ้านมีผลลัพธ์การดูแลที่ดี ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการทุกข์ทรมานทางร่างกาย จิตสังคมน้อยลง ญาติผู้ดูแลได้รับข้อมูลที่ดีขึ้นและมีคุณภาพการดูแลที่ดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้ภาระการดูแลของญาติผู้ดูแลลดลง</p> แพงพรรณ ศรีบุญลือ วริศยา แก่นนาคำ รัตนาภรณ์ ศิริเกต ศรีเวียง ไพโรจน์กุล Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-26 2024-09-26 42 3 e272904 e272904 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำกิจกรรม ของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในระยะฟื้นฟูสภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/273000 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในระยะฟื้นฟูสภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติจำนวน 22 คน และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองจำนวน 22 คน เครื่องมือในการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง ประกอบด้วย 5 กิจกรรมตามแนวคิดการจัดการตนเอง ได้แก่ 1) กิจกรรมการเตรียมความพร้อม และเรียนรู้กระบวนการจัดการตนเองที่ดี 2) กิจกรรมทบทวนความรู้ และปฏิบัติกระบวนการจัดการตนเอง 3) กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้าน 4) กิจกรรมติดตาม กระตุ้นเตือนอย่างต่อเนื่อง และ 5) กิจกรรมติดตามต่อเนื่อง โดยแต่ละกิจกรรมใช้เวลาประมาณ 20-50 นาที ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ และเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรม ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .95 และคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .90 ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมภายในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองมีค่าเท่ากับ 16 (S.D.=2.40) และ 43.18 (S.D.=1.46) ตามลำดับ โดยกลุ่มทดลองมีความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในระยะฟื้นฟูสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นสามารถนำเอาโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองไปใช้ในการให้การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยมีทักษะการจัดการตนเองที่ดีหลังผ่าตัด มีการฟื้นฟูสภาพหลังการผ่าตัดอย่างรวดเร็วจนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ปกติ รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะหลังผ่าตัด</p> แก้วใจ แสนพาน ทศพร ทองย้อย Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-20 2024-09-20 42 3 e273000 e273000 ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการจัดการอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จังหวัดอุบลราชธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/271502 <p>การวิจัยนี้เป็นแบบเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการจัดการด้านอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 194 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการจัดการอาหาร วิเคราะห์หาความตรงของเครื่องมือ ด้วยวิธีค่าสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of Item - Objective Congruence : IOC) เท่ากับ 0.86 และทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่มีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 ทักษะเกี่ยวกับการจัดการด้านอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ทักษะความรู้ความเข้าใจ ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการจัดการตนเอง ทักษะการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ผลการศึกษาดังกล่าว สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการจัดการอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไต ลดความรุนแรงและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่อไป</p> ลักขนา ชอบเสียง พรธิรา บุญฉวี หัทยา อุดมมา สำเร็จ เทียนทอง Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-03 2024-08-03 42 3 e271502 e271502 การพัฒนาแนวทาง AIR bundle เพื่อป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ จากการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองคาย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/271657 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้แนวทาง AIR bundle เพื่อป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำจากการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองคาย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะปฏิบัติการ มี 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตการณ์ และสะท้อนกลับ จำนวน 2 วงรอบ และ 3) ระยะประเมินผล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างคือ วิสัญญีพยาบาล 13 คน และผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั่วตัวร่วมกับการใส่ท่อช่วยหายใจ แบ่งเป็นกลุ่มก่อนและกลุ่มหลังใช้แนวทาง กลุ่มละ 220 คน เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ทั้ง ด้านความตรงเชิงเนื้อหา (ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1) และความเที่ยง ได้แก่ แนวทาง AIR bundle ที่พัฒนาขึ้น นวัตกรรม ยึดตรึงท่อช่วยหายใจ แบบประเมินความเป็นไปได้ในการใช้แนวทาง แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบบันทึกการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำและท่อช่วยหายใจหักพับงอรั่วหรือเลื่อนหลุด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความเป็นไปได้ในการใช้งานและความพึงพอใจ โดยสถิติบรรยาย เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป อุบัติการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำและท่อช่วยหายใจหักพับงอหรือเลื่อนหลุดก่อนและหลังใช้แนวทางโดยสถิติทดสอบไคสแควร์ และฟิซเชอร์เอ็กแซค</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) แนวทาง AIR bundle ที่พัฒนาขึ้น มี 3 กระบวนการ คือการประเมินความเสี่ยงและให้คำแนะนำ การใส่ท่อช่วยหายใจและการดูแลอย่างใกล้ชิดและการบันทึกข้อมูลและการถอดท่อช่วยหายใจอย่างปลอดภัย และ 2) ผลของการใช้แนวทางพบว่า แนวทางมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานระดับมากถึงมากที่สุด วิสัญญีพยาบาลพึงพอใจในการใช้แนวทางและการใช้นวัตกรรมยึดตรึงท่อช่วยหายใจระดับมาก อุบัติการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำและท่อช่วยหายใจหัก พับงอหรือเลื่อนหลุดน้อยกว่าก่อนใช้แนวทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงควรนำแนวทางที่พัฒนาไปใช้ในห้องผ่าตัดที่มีบริบทคล้ายกัน เพื่อลดอุบัติการณ์ใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำจากการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนได้</p> วาชินี ชินราช สมร ปัญญาสวัสดิ์ ณัฐวุฒิ มังษาอุดม Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-06 2024-08-06 42 3 e271657 e271657 ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ความเครียดและความดันโลหิตของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/271890 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ความเครียดและความดันโลหิตของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น ในปีการศึกษา 2566 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มทดลอง 24 รายและกลุ่มควบคุม 24 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมจากแนวคิด สบช. โมเดล ร่วมกับแนวคิดนาฬิกาชีวิต เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและปฏิบัติตัวตามปกติ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพสำหรับนักศึกษาพยาบาลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2566 ถึง 22 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา paired t-test และ independent t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; .05) และมีค่าเฉลี่ยความเครียดและค่าเฉลี่ยความดันโลหิตต่ำ กว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; .05) และ 2) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; .05) และมีค่าเฉลี่ยความเครียดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p </em>&lt; .05) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ บุคลากรสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในวัยรุ่น</p> กิรณา พูนวิเชียร ขวัญนุช จันดา กาญจนา โคตรพรม การคิด คิดการ กิตติพร จารมาตย์ เขมจิรา โคตรแสง สาคร อินโท่โล่ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-04 2024-09-04 42 3 e271890 e271890 ความรู้ แรงจูงใจ ปัญหาและความต้องการในการดูแลของผู้ดูแลเด็กสมองพิการในสถานการณ์ปัจจุบัน: การวิจัยผสมผสานแบบรองรับภายใน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/271271 <p>การศึกษาผสมผสานแบบรองรับภายในนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความรู้ แรงจูงใจ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดูแลและความต้องการในการดูแลของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้ดูแลเด็กสมองพิการจำนวน 29 คนที่ได้รับการรักษา ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ แรงจูงใจ การรับรู้ และสถานะสุขภาพของผู้ดูแล และความพึงพอใจของผู้ดูแลในกิจกรรมการดูแลและการปฏิบัติ และสถานะสุขภาพของ เด็กสมองพิการ รวมถึงคำถามปลายเปิดในการดูแลเด็กสมองพิการ ความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของเครื่องมืออยู่ที่ 0.67-1.00 และ 0.78-0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสร้างธีม เพื่อสนับสนุนผลการวิจัยเชิงปริมาณให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น <br />ผลการศึกษาพบว่าผู้ดูแลมีความรู้ในกิจกรรมการดูแลชีวิตประจำวันของเด็กสมองพิการน้อยที่สุด โดยเฉพาะการกำจัดเสมหะและสาเหตุของโรค แรงจูงใจในการดูแลเด็กสมองพิการอยู่ในระดับสูง การรับรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องมือ และงบประมาณ ที่จำเป็นในการดูแลอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ยังรับรู้ในระดับสูงว่าโรคของเด็กสมองพิการสามารถก่อให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพชีวิตทางกายและจิตใจของผู้ดูแล กิจกรรมการดูแลเด็กที่ปฏิบัติเป็นบางครั้งได้แก่ การให้ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน การฝึกการขับถ่าย การลืมให้ยาหรือให้ยาทันทีเมื่อนึกได้ ไม่พาไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากยา ความพึงพอใจต่อผลลัพธ์การดูแลเกี่ยวกับพัฒนาการอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม ความพึงพอใจของผู้ดูแลในการดูแลเด็กสมองพิการอยู่ในระดับสูง ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกสามารถจัดหมวดหมู่เป็นสี่กลุ่มได้แก่ ปัญหาในการดูแลเด็กสมองพิการ ความคาดหวังและ ความต้องการในการดูแลเด็กสมองพิการ ปัจจัยที่สนับสนุนการดูแล และแนวทางในการดูแลเด็กสมองพิการในอนาคต พยาบาลสามารถใช้ผลการศึกษานี้เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลเด็กสมองพิการที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็กสมองพิการและผู้ดูแลได้</p> แก้วกาญจน์ เสือรัมย์ อภิญญา รองเมือง อัฒชฎาพร การสะอาด อุไรวรรณ หงวนไธสง Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-04 2024-07-04 42 3 e271271 e271271 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกใน 24 ชั่วโมง ด้วยการพยาบาลทางไกล สถาบันราชประชาสมาสัย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/272032 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบ การดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกใน 24 ชั่วโมง ด้วยการพยาบาลทางไกล สถาบันราชประชาสมาสัย โดยศึกษาในหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึก การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการ 2) ดำเนินการพัฒนารูปแบบฯ 3) ทดลองและปรับปรุงรูปแบบฯโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย วิสัญญีพยาบาล จำนวน 3 คน พยาบาลหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึก จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 15 คน และผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกใน 24 ชั่วโมงที่หอผู้ป่วย จำนวน 25 คน 4) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบฯ ด้วยการเก็บข้อมูลโดยผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม 0.89 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวทางสนทนากลุ่ม เพื่อดำเนินงานตามรูปแบบ และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความพึงพอใจของรูปแบบ ได้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม 0.9 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า วิสัญญีพยาบาล และพยาบาลหอผู้ป่วยฯ สามารถติดต่อสื่อสารได้ภายใน 10 นาที ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลเบื้องต้นภายใน 15 นาที และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมา ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ พบว่า วิสัญญีพยาบาลและพยาบาลหอผู้ป่วยฯ มีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมและความพึงพอใจของรูปแบบโดยรวมในระดับมาก ประเด็นการติดต่อสื่อสารได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมงมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกประเด็น โดยสรุป รูปแบบนี้มีประโยชน์ต่อการดูแล ผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกใน 24 ชั่วโมง งานวิสัญญีมีการดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกตามมาตรฐาน และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการระงับความรู้สึกที่รุนแรงกับผู้ป่วยตามมา</p> <p> </p> สุจารี ถาวร รัตนพร สุขกลิ่น วนิดา ศิริมา Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-19 2024-09-19 42 3 e272032 e272032 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองแตกในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/272542 <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองแตกในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลร้อยเอ็ด กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่มคือ ผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลและสหวิชาชีพ 37 คน ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ป่วย 70 คนพร้อมผู้ดูแล แบ่งเป็น ระยะศึกษาสถานการณ์ 35 คน ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ 5 คน ใช้เป็นกลุ่มควบคุม 30 คน ระยะทดลองใช้แนวปฏิบัติ 5 คน ระยะประเมินผล 30 คน ดำเนินการวิจัย 4 ระยะคือ ศึกษาปัญหา พัฒนาแนวปฏิบัติทดลอง และประเมินผล เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติแบบสังเกตการใช้แนวปฏิบัติ แบบบันทึกภาวะแทรกซ้อน แบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ร้อยละ การเกิดภาวะแทรกซ้อนคะแนนความพึงพอใจ คะแนนการปฏิบัติ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ ด้วย Paired sample t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา </p> <p> ผลการวิจัย พบสถานการณ์ปัญหา 1) ด้านผู้รับบริการ เกิดภาวะแทรกซ้อน ครอบครัวเครียด กังวล 2) ด้านผู้ให้บริการขาดแนวปฏิบัติการพยาบาลและการวัดผลลัพธ์ กระบวนการพัฒนา ได้แก่ ปลูกฝังจิตวิญญาณการแสวงหาความรู้ ตั้งคำถามตามรูปแบบ PICO ค้นหาหลักฐานที่ดีที่สุด ประเมินคุณภาพหลักฐาน บูรณาการหลักฐานยกร่างแนวปฏิบัติ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ได้คะแนนคุณภาพแนวปฏิบัติ ร้อยละ 91 ได้แนวปฏิบัติการพยาบาล 2 ระยะ คือ วิกฤตฉุกเฉินและฟื้นฟูสภาพ ประเมินผลพบว่า กลุ่มทดลอง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระยะที่สอง ร้อยละ 53.33 ส่วนที่เกิดร้อยละ 46.67 แต่ควบคุมได้ การนำใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของพยาบาลอยู่ในระดับมาก คะแนนความรู้ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.05) </p> <p> </p> พรรณี แสงอินทร์ ปาณิสรา ทองมี สุพัฒตรา เปลือยหนองแข้ เพ็ญพิศ เพ็ชรสังหาร กิติยรัตน์ หาญลือ สุธารัตน์ แสนยะมูล Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 42 3 e272542 e272542 ประสบการณ์พยาบาลจิตอาสาในการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบองค์รวม โดยใช้แนวคิดการดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/271484 <p>การดูแลผู้สูงอายุในระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นสิ่งสำคัญในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยพยาบาลจะต้องวางแผนการดูแลทั้งในภาวะปกติ เริ่มป่วยวิกฤติส่งต่อและดูแลที่บ้าน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลของการส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมจำนวน 7 คน ตามแนวคิดของเนย์เลอร์ จากประสบการณ์ของพยาบาลจิตอาสา เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุได้ใช้ประโยชน์จากแนวคิดการพยาบาลระยะเปลี่ยนผ่านในการดูแลระยะยาว โดยมีพยาบาลจิตอาสาทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ให้การดูแลต่อเนื่องเพื่อให้สามารถดูแลพึ่งพาตัวเองได้อย่างอิสระและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุมากกว่าสองปี พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุขอปรึกษาปัญหาสุขภาพและปัญหาด้านร่างกายจากโรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ การจัดการทรัพย์สินและการทำพินัยกรรม ซึ่งพยาบาลจิตอาสาต้องใช้ความรู้และทักษะการประเมินภาวะสุขภาพ วางแผนการดูแลร่วมกับครอบครัว กำหนดเป้าหมายการดูแล เยี่ยมบ้านและที่โรงพยาบาล ให้คำปรึกษา สอนและฝึกทักษะ สนับสนุนสื่อการดูแลตนเองที่เหมาะสม ช่วยเหลือในการจัดการปัญหาเรื่องเงินและการทำพินัยกรรม โดยใช้การสื่อสารหลายช่องทาง ใช้ทักษะทางคลินิกประเมินผ่านระบบโทรศัพท์เปิดกล้องวิดิโอและประสานผู้เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉินที่บ้าน ผลการปฏิบัติงานพบว่า ผู้สูงอายุ 5 คนมีความสุขขึ้นและพึงพอใจมาก ที่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างอิสระ 1 คนเกิดภาวะแทรกซ้อนต้องมีคนดูแลฟื้นฟูสุขภาพ 1 คนเสียชีวิตในระยะฟื้นฟูหลัง สวนหัวใจ องค์ประกอบของการดูแลผู้สูงอายุในระยะเปลี่ยนผ่านสอดคล้องกับรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านของเนย์เลอร์</p> ปัทมา วาจามั่น ณัฐฐิตา เพชรประไพ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-02 2024-08-02 42 3 e271484 e271484 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง ของผู้ป่วยรอปลูกถ่ายไต: กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/271313 <p>ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงส่งผลต่อภาวะแปรปรวนของดุลเกลือแร่และกระดูกที่เกิดจากโรคไตเรื้อรัง ทำให้เกิดความผิดปกติของเกลือแร่และฮอร์โมน เช่น ภาวะพาราไทรอยด์สูงทุติยภูมิ ความผิดปกติของกระดูก และการสะสมตะกอนแคลเซียมในหลอดเลือด มีผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดงใด ๆ จนกระทั่งโรคดำเนินไปจนแก้ไขได้ยากเป็นภัยเงียบที่อันตรายอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยรอปลูกถ่ายไต ถ้าระดับฟอสเฟตในเลือดสูงต่อเนื่องจะส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนระยะยาวรุนแรงทำให้ผู้ป่วยถูกระงับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้ จนกว่าภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงจะได้รับการแก้ไข</p> <p>การควบคุมฟอสเฟตในเลือดให้ได้ตามเกณฑ์เป้าหมายจึงมีความสำคัญ ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวทีมสุขภาพต้องมีความเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงที่ส่งผลต่อการควบคุมฟอสเฟตในเลือดของผู้ป่วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงในผู้ป่วยรอปลูกถ่ายไต โดยการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์จำนวน 17 เรื่อง โดยใช้ PICO Framework และประเมินคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ของ The Joanna Briggs Institute Level of Evidence ผลการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์พบว่ามีปัจจัยหลัก 3 กลุ่มได้แก่ 1) ปัจจัยด้านผู้ป่วย 2) ปัจจัยด้านการรักษา และ 3) ปัจจัยด้านระบบสุขภาพ ซึ่งแต่ละปัจจัยมีทั้งปัจจัยทางบวกและปัจจัยทางลบ นอกจากนี้ยังนำเสนอการวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยรอปลูกถ่ายไต 2 ราย เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงที่เกิดในบุคคลจากสถานการณ์จริง ความรู้ที่ได้นำไปสู่การออกแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดรับกับสาเหตุจริง</p> สุกัญญา นิลจันทร์ นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-04 2024-08-04 42 3 e271313 e271313 มาตรฐานการศึกษาพยาบาลระดับโลก : ความเป็นเลิศด้านการสอน ผ่านกรอบมาตรฐานวิชาชีพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/274074 <p>การศึกษาพยาบาลเช่นเดียวกับสาขาอื่นในระดับอุดมศึกษาที่กำลังมุ่งเน้นการบรรลุความเป็นเลิศในการสอนด้านการพยาบาล เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของระบบการดูแลสุขภาพที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง กรอบมาตรฐานวิชาชีพ เช่น กรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษาของสหราชอาณาจักร (UKPSF) กรอบมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาของออสเตรเลีย (AHESF) และกรอบมาตรฐานวิชาชีพของประเทศไทย (THPSF) ได้ให้แนวทางสำหรับอาจารย์สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพการสอนผ่านการสะท้อนกลับ การพัฒนาวิชาชีพ และความร่วมมือระหว่างสาขาวิชา บทบรรณาธิการนี้นำเสนอ&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วิวัฒนาการของกรอบมาตรฐานเหล่านี้ในการศึกษาพยาบาลทั่วโลก โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภูมิภาคและผลกระทบต่อผลการเรียนการสอนและการเรียนรู้ทางคลินิก บทความนี้ยังบรรยายถึงวิธีการที่กรอบเหล่านี้สนับสนุนการนำแนวทางการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมาใช้และส่งเสริมแนวทางการศึกษาที่ครอบคลุม โดยการเน้นความหลากหลาย การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม และการสอนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์</p> <p>นอกจากนี้ บทความนี้ยังกล่าวถึงความท้าทายของการศึกษาพยาบาลในการนำกรอบเหล่านี้ไปใช้ เช่น ข้อจำกัดด้านทรัพยากร ความต้านทานทางวัฒนธรรม และการบูรณาการเทคโนโลยีด้านสุขภาพในหลักสูตร โดยเน้นถึงการสร้างนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการเรียนรู้ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี บทความนี้ยังอภิปรายทิศทางในอนาคตของมาตรฐานวิชาชีพในการศึกษาพยาบาล โดยเฉพาะการเรียนออนไลน์และการบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการฝึกอบรมด้านสุขภาพ การปรับตัวอย่างต่อเนื่องของกรอบมาตรฐานเหล่านี้มีความสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าผู้สอนพยาบาลมีความพร้อมในการให้การศึกษาที่มีคุณภาพสูงสำหรับนักศึกษาพยาบาล</p> จันทร์ทิรา เจียรณัย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-25 2024-09-25 42 3 1 7