https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/issue/feed วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2025-04-24T10:58:16+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร. จันทร์ทิรา เจียรณัย jnatned@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ (</strong><strong>Journal of Nursing and Therapeutic Care)</strong></p> <p><strong><span class="font-weight-bold" data-v-4fadc455="">ISSN:</span> 2985-1432 (Online)</strong></p> <p>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ชื่อเดิม: วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ </p> <p>และเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาอังกฤษ <strong>จากเดิม "Journal of Nursing and Health Care" </strong></p> <p><strong>เป็น “Journal of Nursing and Therapeutic Care”</strong></p> <p>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ (Journal of Nursing and Therapeutic Care) เป็นของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สำนักงานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางของบุคลากรวิชาชีพการพยาบาลฯ การดูแลสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้และแนวปฏิบัติจากงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความอื่นๆที่น่าสนใจ <strong>เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งทางวิชาชีพการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ</strong> ดังนั้นจึงใคร่ขอเชิญชวนให้พยาบาลทุกท่านและผู้ที่เกี่ยวข้องที่สนใจส่งบทความมาเผยแพร่ในวารสารนี้ กองบรรณาธิการยินดีรับเรื่องที่ท่านส่งมาและยินดีสรรหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเขียน มาให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงต้นฉบับให้ได้คุณภาพอย่างสมบูรณ์แบบ</p> <p>ตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ทุก ๆ 3 เดือน</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม</p> <p>ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน</p> <p>ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/277655 ความสัมพันธ์ระหว่างการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์กับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และผลการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2025-03-12T12:06:04+07:00 กชกร เพียซ้าย kodchakon@sut.ac.th สิริกร ขาวบุญมาศิริ kanjana@sut.ac.th ปนัดดา เมินธนู kanjana@sut.ac.th ขวัญนรา ผะกาแย้ม kanjana@sut.ac.th ณัฐชยา หาสุข kanjana@sut.ac.th ศุภศร อินทรลี kanjana@sut.ac.th ธิติยา ลี้ภัยรัตน์ kanjana@sut.ac.th <p>ปัจจุบันมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในชีวิตประจำวันจนเป็นการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักศึกษา การติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนรอบข้างและผลการเรียนของนักศึกษา การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและผลการเรียนของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 395 คน เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ และ 2) แบบสอบถามการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1 และ 0.99 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.89 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาปริญญาตรีมีการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับเสี่ยงปานกลาง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระดับปานกลาง ผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง การเสพติดสื่อสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์ทางลบกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในระดับสูง (<em>r</em>= -0.642, <em>p</em> &lt; .001) แต่การเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการเรียน ดังนั้น การเสพติดสื่อออนไลน์ของนักศึกษาอาจมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลรอบข้างในโลกของความจริง แต่การติดสื่อสังคมออนไลน์ไม่ได้ส่งผลเสียต่อผลการเรียนของนักศึกษาแต่อย่างใด การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนจึงควรเพิ่มกิจกรรมให้นักศึกษา มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากขึ้นแต่อาจปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้มีการค้นคว้าหรือการส่งงานผ่านระบบออนไลน์จึงจะเป็นการใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ในการเรียนมากขึ้น</p> 2025-04-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ