@article{อัตชู_จำปามูล_2022, place={Khon Kaen, Thailand}, title={ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระยะกลาง ของพยาบาลวิชาชีพเครือข่ายบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น}, volume={40}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/257648}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบการพยากรณ์ (Predictive correlational design) เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความยึดมั่นผูกพันในงานและปัจจัยการจัดการหอผู้ป่วย ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระยะกลาง (IMC-TBI) ของพยาบาลวิชาชีพ เครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการดูแลผู้ป่วย IMC-TBI สังกัดกลุ่มงานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 13 โรงพยาบาล จำนวน 220 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ 2) ปัจจัยความยึดมั่นผูกพันในงาน 3) ปัจจัยการจัดการหอผู้ป่วย และ4) การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย IMC-TBI ของพยาบาลวิชาชีพ ความเชื่อมั่นของเครื่องมือส่วนที่ 2 3 และ 4 เท่ากับ 0.94, 0.94 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>            ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย IMC-TBI ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ ปัจจัยการจัดการหอผู้ป่วย ปัจจัยความยึดมั่นผูกพันในงานด้านความกระตือรือร้น และความจดจ่อใส่ใจ โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย IMC-TBI ได้ร้อยละ 42.10 (R<sup>2 </sup>= 0.421)</p>}, number={3}, journal={วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ}, author={อัตชู วินิจตรา and จำปามูล อภิญญา}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={5–14} }