@article{แก้วบังเกิด_แนวบุตร_จันทรวิจิตร_2022, place={Khon Kaen, Thailand}, title={ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทยต่อดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และสมรรถภาพทางกาย ของบุคคลวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน}, volume={40}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/254558}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพที่เน้นการออกกำลังกายด้วยคีตะมวยไทยและร่วมกิจกรรมที่พัฒนาจากแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคลและอิทธิพลจากสถานการณ์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และเครื่องมือประเมินดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และสมรรถภาพทางกาย 5 รายการ (ความจุปอด ความอ่อนตัว แรงบีบมือ วิดพื้นและการงอตัว) เก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย Paired t-test และ Independent t-test</p> <p>            ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทย กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (p<.01) ค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอว (p<.001) น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยความจุปอด ค่าเฉลี่ยความอ่อนตัว ค่าเฉลี่ยการงอตัว มากกว่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น ควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อป้องกันและควบคุมภาวะน้ำหนักเกิน</p>}, number={2}, journal={วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ}, author={แก้วบังเกิด อุดมศักดิ์ and แนวบุตร สุภาพร and จันทรวิจิตร ยุวยงค์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={35–44} }