@article{ทองทัพ_แสวงเจริญ_2014, place={Khon Kaen, Thailand}, title={พฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทและการจัดการพฤติกรรมรุนแรงของครอบครัว}, volume={31}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/16964}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกพฤติกรรมรุนแรงต่อครอบครัวของผู้ป่วยจิตเภท ลักษณะพฤติกรรมรุนแรง  และการจัดการพฤติกรรมรุนแรงของครอบครัว เมื่อผู้ป่วยจิตเภทมีพฤติกรรมรุนแรงขณะอยู่ในครอบครัว ศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีประวัติรับยาที่โรงพยาบาลห้วยราช มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในอำเภอห้วยราช  ในช่วง 12   เดือนที่ผ่านมา จำนวน  102 คน โดยให้ ผู้ดูแลตอบแบบสอบถาม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 4 เมษายน 2556  ถึง  15  เมษายน 2556  โดยเครื่องมือผู้วิจัยสร้างขึ้นหาความตรงของเนื้อหา  และหาความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟ่าคอนบาชได้ ค่าอัลฟ่า = .78  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ความถี่ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1.         ความชุกพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภท ตามการรับรู้ของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทร้อยละ 40.20 (41 คน) ของกกลุ่มตัวอย่าง โดยพบว่าแสดงพฤติกรรมรุนแรงต่อผู้อื่นด้านจิตใจอารมณ์ร้อยละ 39.22 (40 คน)  ด้านการเงินและทรัพย์สิน ร้อยละ 24.51  (25 คน)  ด้านร่างกายร้อยละ 17.65  ( 18 คน) )  ด้านเพศร้อยละ  6.86 (7  คน)  มีพฤติกรรมรุนแรงต่อร่างกายตนเอง ร้อยละ 13.72 ( 14 คน)</p> <p>2.         ลักษณะพฤติกรรมรุนแรงต่อครอบครัว ผู้ป่วยจิตเภทมีพฤติกรรมรุนแรงสูงสุด  ตามการรับรู้ของผู้ดูแล  3 ลำดับ ดังนี้  ตวาด/ดุ/ด่าทอด้วยคำหยาบคาย/ส่งเสียงดัง  ร้อยละ 30.39 (31 คน)เขย่าประตู/เปิดประตูเสียงดัง ร้อยละ 20.59<strong> </strong>( 21 คน<strong>)</strong>และ<strong> </strong>แช่ง/ตำหนิแสดงท่าทีจะทำร้าย ร้อยละ 19.61<strong> </strong>( 20คน)</p> <p>3.         ลักษณะการจัดการพฤติกรรมรุนแรง  ที่มีการใช้มากที่สุด 3 ลำดับ คือ การพูดคุยด้วยเหตุผล ปลอบโยนให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยร่วมมือในการกินยา   คิดเป็นร้อยละ 92.68 ( 37  คน) อันดับสอง คือ  ให้ผู้ป่วยได้พูดคุยระบายความโกรธโดยไม่ถือสาหรือไม่โกรธคิดเป็นร้อยละ 80.49(33คน)  อันดับสามพูดหรือข่มขู่ผู้ป่วยเพื่อให้หยุดอาละวาด  คิดเป็นร้อยละ 58.54 (24คน)</p> <p>จากผลการศึกษาครั้งนี้  แสดงให้เห็นว่า  ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนยังคงมีปัญหาพฤติกรรมรุนแรงที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจัดการจากญาติและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อลดพฤติกรรมและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมรุนแรงต่อไป</p>}, number={4}, journal={วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ}, author={ทองทัพ ปัญญา and แสวงเจริญ กฤตยา}, year={2014}, month={มี.ค.}, pages={121–127} }