วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht <p>วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นโดยกรมสุขภาพจิต มีนโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ คือ เป็นผลงานวิจัยและผลงานวิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือมีประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับประเทศ</p> <p>The Journal of Mental Health of Thailand is the official journal of the Department of Mental Health, Ministry of Public Health, Thailand. Its focus and scope is a new knowledge of research and academic work in mental health and psychiatry or useful in exchanging knowledge at the national level.</p> th-TH <p>-&nbsp;ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน</p> <p>-&nbsp;ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย</p> jmht.dmh@gmail.com (Athip Tanaree, M.D., Ph.D.) jmht.dmh@gmail.com (Phopthorn Wuttiharn) Sun, 20 Oct 2024 07:38:49 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การมีสุขภาวะที่ดีและครบถ้วนอย่างยั่งยืนของผู้สูงอายุไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/274319 <p> เดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีความหมายสำหรับผู้สูงอายุและงานสุขภาพจิต เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุสากล (international day of older persons) โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534 โดยในปี พ.ศ. 2567 นี้ได้กำหนดหัวข้อหลักไว้ว่า “สูงวัยอย่างสง่างาม: ความสำคัญของการเสริมสร้างระบบการดูแลและการช่วยเหลือทั่วโลก (ageing with dignity: the importance of strengthening care and support systems for older persons worldwide)”<sup>1</sup> ขณะเดียวกันสมาพันธ์สุขภาพจิตโลก (world federation for mental health: WFMH) ได้กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสุขภาพจิตโลก (world mental health day) โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1992 หรือ พ.ศ. 2535 โดยในช่วง 2 ปีแรก วันสุขภาพจิตโลกได้ส่งเสริมให้มีการตระหนักรู้ในเรื่องของสุขภาพจิตทั่วไป จนอีก 2 ปีถัดมา คือ พ.ศ. 2537 จึงได้เริ่มกำหนดให้มีหัวข้อหลักโดยเฉพาะของแต่ละปี สำหรับ พ.ศ. 2567 นี้ วันสุขภาพจิตโลกมีหัวข้อหลักว่า “สุขภาพจิตในที่ทำงาน (mental health in the workplace)”<sup>2</sup> และเมื่อ 2 ปีที่แล้ว คือ ปี พ.ศ. 2565 ได้มีหัวข้อหลักว่า “สร้างสุขภาพจิตและสุขภาวะสำหรับทุกคนเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก (make mental health &amp; wellbeing for all a global priority)” ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องสุขภาวะสำหรับทุกคน ดังนั้นในการประชุมวิชาการประจำปีจิตเวชศาสตร์ไทย ครั้งที่ 52 ประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 7 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นี้ จึงมีหัวข้อหลักว่า “let’s cultivate mental wellbeing for all” <em>...อ่านต่อในไฟล์บทความ...</em></p> พิเชฐ อุดมรัตน์, พ.บ. Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/274319 Sat, 21 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/272984 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>:</strong> เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาแนวปฏิบัติเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช</p> <p><strong>วิธีการ </strong><strong>: </strong>การวิจัยและพัฒนาระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2567 ตามกรอบการพัฒนาเทคโนโลยี ได้แก่ การสำรวจอัตรา ชนิด และสาเหตุความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยโดยการศึกษาย้อนหลังเวชระเบียนผู้ป่วยในจิตเวช การทบทวนวรรณกรรมเพื่อกำหนดกรอบแนวคิด การจัดทำต้นร่างแนวปฏิบัติ และการประเมินความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คนเพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item-objective congruence: IOC) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ</p> <p><strong>ผล</strong><strong> :</strong> ผู้ป่วยใน 884 คน พบความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยโรค 56 คน (ร้อยละ 6.3) เป็นความคลาดเคลื่อนชนิด wrong diagnosis 39 คน (ร้อยละ 69.6) และ missed diagnosis 17 คน (ร้อยละ 30.4) พบสาเหตุความคลาดเคลื่อนทั้งหมด 86 สาเหตุ สาเหตุที่พบมากที่สุด ได้แก่ ลักษณะอาการทางคลินิก (ร้อยละ 45.3) และความรู้และความคลาดเคลื่อนทางความคิดของบุคคล (ร้อยละ 38.6) ร่างแนวปฏิบัติเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชประกอบด้วยแนวทางแก้ไขสาเหตุจากลักษณะอาการทางคลินิก 9 ข้อ มุ่งเน้นการประเมินทางจิตเวช และแนวทางแก้ไขสาเหตุจากความรู้และความคลาดเคลื่อนทางความคิดของบุคคล 5 ข้อ ครอบคลุมการจัดกิจกรรมเรียนรู้จากข้อผิดพลาด การเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางความคิด และการลดอคติ แนวปฏิบัติฉบับปรับปรุงตามความเห็นผู้เชี่ยวชาญมีค่า IOC เฉลี่ยเท่ากับ 1</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>แนวปฏิบัติเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชพัฒนาขึ้นจากข้อค้นพบในการปฏิบัติงานจริง ประกอบด้วยแนวทางแก้ไขความคลาดเคลื่อนจากลักษณะอาการทางคลินิกและความรู้และความคลาดเคลื่อนทางความคิดของบุคคล มีความตรงเชิงเนื้อหาใช้ได้ เหมาะสำหรับใช้ในโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์</p> รักสุดา กิจอรุณชัย, พ.บ., สมชาย ตันศิริสิทธิกุล, พ.บ. Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/272984 Sun, 20 Oct 2024 00:00:00 +0700 หลักสูตรการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ให้คำปรึกษาในระบบศาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/271390 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อพัฒนาและทดสอบความเป็นไปได้ของหลักสูตรการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ให้คำปรึกษาในระบบศาล</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> การวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์บริบทและความต้องการพัฒนาหลักสูตรโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมโดยใช้เทคนิค appreciation influence control (AIC) 2) การพัฒนาหลักสูตรการให้คำปรึกษาพื้นฐานและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และ 3) การทดสอบความเป็นไปได้ของหลักสูตรแบบกลุ่มเดียว 1 ครั้งในผู้ให้คำปรึกษาและนักจิตวิทยาศาลแขวงธนบุรี วัดระดับความรู้และความมั่นใจในการให้คำปรึกษาก่อนและหลังอบรมและประเมินผลการฝึกปฏิบัติโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Wilcoxon signed-rank test</p> <p><strong>ผล :</strong> ร่างหลักสูตรประกอบด้วย 8 หัวข้อการเรียนรู้ ใช้เวลาอบรม 2 วัน รวม 12 ชั่วโมง ใช้รูปแบบการบรรยาย การอภิปราย การสาธิต และการฝึกปฏิบัติ มีดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.96 การทดสอบในกลุ่มตัวอย่าง 12 คน เป็นผู้ให้คำปรึกษาของศาล 11 คนและนักจิตวิทยาของศาล 1 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และระดับความมั่นใจในการให้คำปรึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่าง 10 คนผ่านเกณฑ์การฝึกปฏิบัติการให้คำปรึกษา ทุกคนใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาที่หลากหลายและเหมาะสมกับจังหวะและสถานการณ์ หลักสูตรร่างสุดท้ายมีการปรับตามข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างโดยเพิ่มระยะเวลาการอบรมหัวข้อการเสพติดและปรับรูปแบบการฝึกปฏิบัติให้ยืดหยุ่นกับจำนวนผู้รับการอบรม</p> <p><strong>สรุป :</strong> หลักสูตรการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ให้คำปรึกษาในระบบศาลมีแนวโน้มช่วยผู้ให้คำปรึกษาในระบบศาลมีความรู้ ทักษะ และความมั่นใจในการให้คำปรึกษาผู้ต้องหาและจำเลย</p> วิชชุดา จันทราษฎร์, พ.บ. Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/271390 Fri, 25 Oct 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลกระทบของการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ที่มีต่อการกลั่นแกล้งผู้อื่นทางไซเบอร์ และอิทธิพลของตัวแปรส่งผ่านในคนไทยวัยผู้ใหญ่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/273479 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์กับการกลั่นแกล้งผู้อื่นทางไซเบอร์ และตรวจสอบอิทธิพลของตัวแปรส่งผ่านที่มีผลต่อการกลั่นแกล้งผู้อื่นทางไซเบอร์ของวัยผู้ใหญ่</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> การศึกษาแบบตัดขวางโดยการวิจัยเชิงสำรวจและในประชากรไทยอายุ 18 - 65 ปี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ได้แก่ แบบวัดการกลั่นแกล้งและการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ สุขภาวะทางจิต การรับมือความเครียด และความรู้สึกเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เส้นทาง</p> <p><strong>ผล :</strong> กลุ่มตัวอย่าง 463 คน เป็นหญิงร้อยละ 65.4 อายุเฉลี่ย 30.54 ปี การเป็นเหยื่อถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการกลั่นแกล้งผู้อื่นทางไซเบอร์ (r = .81, p &lt; .001) ความเครียด (r = .31, p &lt; .001) สุขภาวะทางจิต (r = -.44, p &lt; .001) และการปรับตัวต่อความเครียด (r = -.34, p &lt; .001) การวิเคราะห์เส้นทางพบว่าการกลั่นแกล้งผู้อื่นทางไซเบอร์ได้อิทธิพลจากการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และการปรับตัวต่อความเครียด การปรับตัวต่อความเครียดได้อิทธิพลจากสุขภาวะทางจิตและความเครียด และสุขภาวะทางจิตและความเครียดได้อิทธิพลจากการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ แบบจำลองมีค่าดัชนีความเหมาะสมพอดีอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (χ<sup>2 </sup>= 5.74, p = .13, χ<sup>2</sup>/df = 1.91, GFI = 1.00, AGFI = .98, SRMR = .01, RMSEA = .04, CFI = 1.00, และ NFI = 1.00)</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>สรุป :</strong> การถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการกลั่นแกล้งผู้อื่นทางไซเบอร์ในคนไทยวัยผู้ใหญ่ โดยมีสุขภาวะทางจิต ความเครียด และการจัดการต่อความเครียดเป็นตัวแปรส่งผ่าน</p> วรตม์ โชติพิทยสุนนท์, ปร.ด., พจ ธรรมพีร, ปร.ด. Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/273479 Fri, 15 Nov 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/272681 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตสังคมกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (serious mental illness with high risk to violence: SMI-V)</p> <p><strong>วิธีการ : </strong>การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์แบบทำนายในผู้ดูแลผู้ป่วย SMI-V ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลและผู้ป่วย ระดับความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง พลังสุขภาพจิต ความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วย ความตระหนักในบทบาทผู้ดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p><strong>ผล : </strong>กลุ่มตัวอย่าง 127 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 79.5 อายุเฉลี่ย 49.31 ปี ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.01, SD = 0.55) แรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วย ความตระหนักในบทบาทผู้ดูแล และพลังสุขภาพจิตสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการดูแลได้ร้อยละ 68.5 (R2 = .685, p &lt; .001)</p> <p><strong>สรุป : </strong>ผู้ดูแลควรได้รับบริการส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช ความตระหนักในบทบาทผู้ดูแล และพลังสุขภาพจิต เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วย SMI-V ได้อย่างเหมาะสม </p> พัทรินทร์ บุญเสริม, พย.ม., นุสรา เผ่าหัวสระ, พย.ม. Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/272681 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับของบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานเป็นกะในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/270709 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในบุคลากรที่ทำงานเป็นกะ</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานเป็นกะในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สายงานสนับสนุน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ลักษณะการปฏิบัติงานและแบบสอบถาม Athens insomnia scale (AIS) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก</p> <p><strong>ผล :</strong> กลุ่มตัวอย่าง 279 คน เข้าเกณฑ์ภาวะนอนไม่หลับ (AIS ≥ 7 คะแนน) ร้อยละ 59.1 (95% CI = 53.1 - 65.0) ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสภาวะนอนไม่หลับ ได้แก่ เวลานอนเฉลี่ยน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน (AOR = 7.51, 95% CI = 2.09 - 27.01) และ 4 - 6 ชั่วโมงต่อวัน (AOR = 3.47, 95% CI = 1.71 - 7.02) เมื่อเทียบกับมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน การทำงานที่หอผู้ป่วยเป็นหลัก (AOR = 2.84, 95% CI = 1.02 - 7.93) เวลาทำงาน 201 - 300 ชั่วโมงต่อเดือน (AOR = 2.72, 95% CI = 1.04 - 7.06) เมื่อเทียบกับไม่เกิน 200 ชั่วโมงต่อเดือน และการทำงานกะดึก 11 กะต่อเดือนขึ้นไป (AOR = 1.89, 95% CI = 1.01 - 3.55)</p> <p><strong>สรุป :</strong> บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงต่อภาวะนอนไม่หลับจากการปฏิบัติงาน ควรมีการทบทวนตารางการปฏิบัติงานและการสนับสนุนด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับในในบุคลากรกลุ่มนี้</p> พันธุ์ธัช ผลิโกมล, พ.บ., ศรวิทย์ โอสถศิลป์, พ.บ. Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/270709 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุจราจร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/270837 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาอุบัติการณ์โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (post-traumatic stress disorder: PTSD) ทั้งครบเกณฑ์วินิจฉัยและไม่ครบเกณฑ์วินิจฉัย (subthreshold PTSD) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิด PTSD ในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุจราจร</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> ศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุจราจร สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หลังเกิดอุบัติเหตุ 1 เดือนด้วยแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิด PTSD (2P) กรณีพบความเสี่ยงยืนยันวินิจฉัยด้วย clinician-administered PTSD scale for DSM-5 (CAPS-5) คำนวณอุบัติการณ์ PTSD และ subthreshold PTSD เป็นร้อยละ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิด PTSD ด้วยการถดถอยโลจิสติกพหุนาม</p> <p><strong>ผล :</strong> กลุ่มตัวอย่าง 137 คนได้รับการคัดกรองด้วย 2P พบมีความเสี่ยงต่อการเกิด PTSD 11 คน (ร้อยละ 8.0) ในกลุ่มนี้มี 9 คนได้รับการประเมินซ้ำด้วยเครื่องมือ CAPS-5 พบเป็น PTSD 4 คน (ร้อยละ 3.0) และ subthreshold PTSD 5 คน (ร้อยละ 3.7) อาการ PTSD ที่พบมากที่สุด คือ การผุดขึ้นของอาการ รองลงมาเป็นอาการหลีกเลี่ยง ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเกิดความเสี่ยงโรค PTSD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิง (AOR = 10.6, 95% CI = 2.7 - 54.5)</p> <p><strong>สรุป :</strong> ผู้ประสบอุบัติเหตุจราจรมีความเสี่ยงในการเกิด PTSD และแม้ไม่ครบเกณฑ์การวินิจฉัยก็มีอาการที่รบกวนการดำเนินชีวิตได้ ผู้ประสบอุบัติเหตุจราจรจึงควรได้รับการประเมินความเสี่ยงในการเกิด PTSD และการดูแลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น</p> ธุวชิต เกรียงตันติวงศ์, พ.บ., นพพร ตันติรังสี, วท.ด., ไกรวุฒิ เอี่ยมสุขวัฒน์, พ.บ., วลี รัตนวัตร์, พ.บ., นันทิยา ภูงาม, พย.ม., รุ่งนภา สีหานู, พย.บ. Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/270837 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700