วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht <p>วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นโดยกรมสุขภาพจิต มีนโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ คือ เป็นผลงานวิจัยและผลงานวิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือมีประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับประเทศ</p> <p>The Journal of Mental Health of Thailand is the official journal of the Department of Mental Health, Ministry of Public Health, Thailand. Its focus and scope is a new knowledge of research and academic work in mental health and psychiatry or useful in exchanging knowledge at the national level.</p> Department of Mental Health th-TH วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 0859-497X <p>-&nbsp;ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน</p> <p>-&nbsp;ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย</p> บรรณาธิการแถลง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/272182 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติในปี พ.ศ. 2567 นี้เป็นครั้งที่ 23 ภายใต้หัวข้อ "คลื่นลูกใหม่ (S-Curve) สร้างสุขภาพจิตไทยในอนาคต (The New S-Curve of Mental Health)" มีกำหนดระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2567 ณ ไอคอนสยาม และ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร ขอเชิญชวนนักวิชาการและผู้ที่สนใจดูรายละเอียดได้ที่ <a href="https://www.somdet.go.th/23AIMHC/">https://www.somdet.go.th/23AIMHC/</a></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2567 นี้ มีบทความประเภทนิพนธ์ต้นฉบับทั้งหมด 7 เรื่อง แบ่งเป็นการศึกษาประเด็นสุขภาพจิตเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ตอนต้น เรื่อง <em>The influence of self-leadership on students’ academic burnout: the mediating role of study-life conflict </em>เรื่อง <em>การประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารในเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดทางอาญา </em>และเรื่อง <em>สุขภาวะทางจิต การรับรู้คุณค่าในตนเอง และความชื่นชอบศิลปินไอดอลเกาหลี ของแฟนคลับไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น </em>ประเด็นส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพจิต เรื่อง <em>ผลการทดสอบประสิทธิผลเบื้องต้นของโปรแกรมการบำบัดวิภาษวิธี พระศรี </em><em>Dialectical Behavior Therapy - Informed เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำในผู้ป่วยซึมเศร้าที่มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย </em>เรื่อง <em>ลักษณะสุขภาวะเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่มีโรคทางจิตเวช : การศึกษาเชิงคุณภาพ </em>และเรื่อง <em>ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานต่อความเข้มแข็งทางใจ ความเครียด ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ในผู้มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต</em> และประเด็นผู้สูงอายุ เรื่อง <em>ปัจจัยทํานายความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มสมาชิกของสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม</em></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผมและกองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้นิพนธ์ทุกท่านที่เชื่อมั่นและไว้วางใจส่งบทความเข้ามายังวารสาร &nbsp;และขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ช่วยพิจารณาตรวจสอบบทความ ทั้งนี้ ขอเชิญชวนทุกท่านอ่านบทความทางวารสารออนไลน์ <a href="https://www.tci-thaijo.org/index.php/jmht">www.tci-thaijo.org/index.php/jmht</a> และยังสามารถส่งบทความเพื่อเข้ารับการพิจารณาเผยแพร่ทางเว็บไซต์ดังกล่าวด้วย</p> อธิบ ตันอารีย์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 32 2 A A อิทธิพลของภาวะผู้นำตนเองที่มีต่อภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษา : บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของความขัดแย้งระหว่างการเรียนกับชีวิต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/268229 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตนเอง ความขัดแย้งระหว่างการเรียนกับชีวิต และภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย</p> <p><strong>วิธีการ : </strong>การศึกษาภาคตัดขวางแบบออนไลน์ ในนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทยจากการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือประกอบด้วย แบบวัดภาวะหมดไฟสำหรับนักศึกษา แบบวัดภาวะผู้นำตนเองแบบย่อ แบบวัดความขัดแย้งระหว่างการเรียนกับชีวิต และแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลการใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อบรรยายข้อมูลพื้นฐาน ทดสอบการสื่ออิทธิพลของตัวแปรโดยการใช้โปรแกรมทางสถิติ (PROCESS, Model 4)</p> <p><strong>ผล : </strong>กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามครบถ้วน 601 คน เป็นหญิงร้อยละ 62.9 อายุเฉลี่ย 20.17 ปี ภาวะผู้นำตนเองมีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะหมดไฟในการเรียน โดยมีอิทธิพลทั้งทางตรง (β = -.25, p &lt; .01) และทางอ้อมผ่านความขัดแย้งระหว่างชีวิตกับการเรียน (β = -.05, p &lt; .01) และพบว่าความขัดแย้งระหว่างชีวิตกับการเรียนมีบทบาทเป็นตัวแปรสื่อในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตนเองกับภาวะหมดไฟในการเรียน</p> <p><strong>สรุป : </strong>ภาวะผู้นำตนเองสามารถบรรเทาภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านการลดความขัดแย้งระหว่างการเรียนกับชีวิต</p> ภูดิส สมิทธิไกร ชูชัย สมิทธิไกร Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 32 2 88 98 ผลการทดสอบประสิทธิผลเบื้องต้นของโปรแกรมการบำบัดวิภาษวิธี พระศรี Dialectical Behavior Therapy - Informed เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำในผู้ป่วยซึมเศร้าที่มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/268242 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการบำบัดวิภาษวิธี พระศรี Dialectical Behavior Therapy - Informed (DBT-Informed) ต่ออาการซึมเศร้าและความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยซึมเศร้าที่มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> การวิจัยกึ่งทดลองในผู้ป่วยซึมเศร้าอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีประวัติพยายามฆ่าตัวตายภายใน 6 เดือนและรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพระศรี DBT-Informed รายบุคคล 9 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ วัดอาการซึมเศร้าด้วยแบบประเมิน 9Q ฉบับปรับปรุง (9Q-revision) วัดความคิดฆ่าตัวตายด้วยแบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทย (scale for suicidal ideation-Thai version 2014) ที่ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และการติดตามผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลัก intention-to-treat ใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Friedman test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนภายในกลุ่ม และสถิติ Mann-Whitney U test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่ม</p> <p><strong>ผล :</strong> กลุ่มตัวอย่าง 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน ทั้งสองกลุ่มมีลักษณะทั่วไป อาการซึมเศร้า และความคิดฆ่าตัวตายก่อนการทดลองไม่แตกต่างกัน หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนอาการซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล 1 เดือนต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีคะแนนอาการซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายต่ำว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล 1 เดือน</p> <p><strong>สรุป :</strong> โปรแกรมพระศรี DBT-Informed ช่วยลดอาการซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีประวัติพยายามฆ่าตัวตายได้ </p> ประภาส อุครานันท์ สิปณัฐ ศิลาเกษ ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร กมลทิพย์ สงวนรัมย์ สุพัตรา สุขาวห สุปราณี พิมพ์ตรา สุภาภรณ์ ทองเบ็ญจมาศ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 32 2 99 111 สุขภาวะทางจิต การรับรู้คุณค่าในตนเอง และความชื่นชอบศิลปินไอดอลเกาหลี ของแฟนคลับไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/268637 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะทางจิต การรับรู้คุณค่าในตนเอง และความชื่นชอบศิลปินไอดอล รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางจิตของแฟนคลับไอดอลเกาหลีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> การศึกษาภาคตัดขวางในผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจของไอดอลเกาหลี อายุ 20 - 40 ปี สุ่มแบบกลุ่ม ใช้แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดพฤติกรรมความชื่นชอบศิลปินไอดอล แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดสุขภาวะทางจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ independent t-test, one-way ANOVA, Pearson correlation และ stepwise multiple linear regression</p> <p><strong>ผล :</strong> กลุ่มตัวอย่าง 241 คน อายุเฉลี่ย 28.6 ปี (SD = 5.60) เป็นหญิงร้อยละ 80.5 พบความแตกต่างของสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในตัวแปรอายุ รายได้ อาชีพ การมีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เหตุผลชื่นชอบไอดอลเกาหลี และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับไอดอลเกาหลี สุขภาวะทางจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการรับรู้คุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .77, p &lt; .001) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะทางจิตกับความชื่นชอบไอดอลเกาหลี ปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิต ได้แก่ การรับรู้คุณค่าในตนเอง (ß = .72, 95% CI = .63, .81) และเหตุผลชื่นชอบไอดอลเพื่อหนีปัญหา (ß = -.11, 95% CI = -.20, -.02) โดยร่วมอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตได้ร้อยละ 57</p> <p><strong>สรุป :</strong> การรับรู้คุณค่าในตนเองและเหตุผลชื่นชอบไอดอลเพื่อหนีปัญหาสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะทางจิตของแฟนคลับไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ควรมีการส่งเสริมการรับรู้คุณค่าในตนเอง ทักษะทางสังคม และการรับมือกับปัญหาที่เหมาะสมในประชากรกลุ่มนี้</p> วริญญา เพริศพริ้ง บุรณี กาญจนถวัลย์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 32 2 112 122 ปัจจัยทํานายความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มสมาชิกของสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/268683 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้มีภาวะสมองเสื่อม</p> <p><strong>วิธีการ : </strong>การสำรวจภาคตัดขวางออนไลน์ในสมาชิกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและให้การดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างน้อย 6 เดือน ใช้แบบสอบถามข้อมูลผู้ดูแลและผู้มีภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินความพร้อมในการเตรียมตัวของผู้ดูแล แบบวัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้มีภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินความสุขใจ ความเหนื่อยหน่าย และความเหนื่อยล้าในการดูแล และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า Beck depression inventory-II ใช้สถิติ chi-square และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ และระบุปัจจัยทำนายความพร้อมในการดูแลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p><strong>ผล : </strong>กลุ่มตัวอย่าง 104 คน ร้อยละ 88.5 มีความพร้อมในการดูแลไม่เพียงพอ ความพร้อมในการดูแลมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับช่วงอายุของผู้ดูแล เพศของผู้มีภาวะสมองเสื่อม การสืบค้นข้อมูลการดูแลจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ ความสุขใจของผู้ดูแล และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้มีภาวะสมองเสื่อม การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณพบว่าปัจจัยทำนายความพร้อมในการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความสุขใจของผู้ดูแล (β = 0.509, p &lt; .001) และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้มีภาวะสมองเสื่อม (β = -0.181, p = .022) โดยมีความสัมพันธ์กันทางบวกและลบ ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุป : </strong>ผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมในการดูแล ความพร้อมในการดูแลมีความสัมพันธ์กับความสุขใจของผู้ดูแลและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้มีภาวะสมองเสื่อม ควรมีการสร้างเสริมความสุขใจและสมรรถนะการดูแลของผู้ดูแลและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้มีภาวะสมองเสื่อมตามความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม</p> กรกานต์ พึ่งน้ำ จิรากร กันทับทิม พิชยนันท์ วัฒนวิทูกูร Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 32 2 123 137 ลักษณะสุขภาวะเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่มีโรคทางจิตเวช : การศึกษาเชิงคุณภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/268160 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาลักษณะและมิติของสุขภาวะในบริบทการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่มีโรคทางจิตเวชในประเทศไทย</p> <p><strong>วิธีการ : </strong>การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลในเดือนมีนาคม ถึง เมษายน พ.ศ. 2566 จากการสนทนากลุ่มด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในคนไทยอายุ 18 - 59 ปี จาก 4 ภูมิภาค แต่ละภาคแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ที่มีโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว หรือโรคซึมเศร้าอย่างน้อย 2 ปีที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ 2) กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีรายได้สูงกว่ารายได้ขั้นต่ำ และ 3) กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ต่ำกว่ารายได้ขั้นต่ำ รวม 12 กลุ่ม กลุ่มละ 6 - 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผล : </strong>กลุ่มตัวอย่าง 115 คน อายุเฉลี่ย 41.1 ปี เป็นหญิงร้อยละ 67.0 ทั้งกลุ่มผู้ที่มีและไม่มีโรคจิตเวชมีความเห็นสอดคล้องกันว่าสุขภาวะที่ดี หมายถึง สถานะของการมีความสุข มีความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตในมิติต่าง ๆ มีอิสระในการตัดสินใจ และเป็นส่วนหนึ่งในสังคม การวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า สุขภาวะประกอบด้วย 8 มิติ ได้แก่ สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม จิตวิญญาณ การเงินและเศรษฐกิจ การงานและการเรียน และการเข้าถึงรัฐสวัสดิการที่ดี</p> <p><strong>สรุป : </strong>การฟื้นฟูสุขภาวะผู้ที่มีโรคจิตเวชจำเป็นต้องคำนึงถึงการดำเนินชีวิตในทั้ง 8 มิติของสุขภาวะ บนพื้นฐานของการตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ</p> ศุภเสก วิโรจนาภา กมลเนตร วรรณเสวก นพวรรณ ตันศิริมาศ ภัทรวรรธน์ สุขยิรัญ ฉัตรดนัย ศรชัย ณัฐกานต์ ใจบุญ รัตน์ดา นราภักดิ์ รัตติยาพร เบ็ญเจ๊ะมะ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 32 2 138 152 การประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารในเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดทางอาญา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/268721 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อสำรวจทักษะการคิดเชิงบริหารในเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดทางอาญา</p> <p><strong>วิธีการ : </strong>การสำรวจภาคตัดขวางในเด็กและเยาวชนอายุ 14 - 23 ปี ที่กระทำผิดทางอาญาในฐานความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในภาคใต้ ประเมินเชาวน์ปัญญา (IQ) โดยใช้แบบทดสอบ standard progressive matrices parallel version ประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารด้านการยืดหยุ่นทางความคิด การยั้งคิด และการวางแผนโดยใช้แบบทดสอบ Wisconsin card sorting test - 64 card version, Stroop color and word test และ tower of London - Drexel University ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)</p> <p><strong>ผล : </strong>กลุ่มตัวอย่าง 122 คน เป็นเพศชายทั้งหมด อายุเฉลี่ย 17.9 ปี (SD = 1.7) มีคะแนนเฉลี่ยด้านการยืดหยุ่นทางความคิดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (perseverative responses และ perseverative errors เท่ากับ 92.68 และ 91.39 ตามลำดับ) ส่วนด้านการยั้งคิด (Stroop interference score เท่ากับ -1.02) และการวางแผนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (total move score และ total correct score เท่ากับ 81.98 และ 86.26 ตามลำดับ) การวิเคราะห์ ANCOVA โดยควบคุมตัวแปร IQ ไม่พบความแตกต่างของทักษะการคิดเชิงบริหารทั้ง 3 ด้านระหว่างกลุ่มที่กระทำผิดทางอาญาในฐานความผิดทั้ง 3 กลุ่มและระหว่างกลุ่มที่กระทำผิดครั้งแรกและกระทำผิดซ้ำ</p> <p><strong>สรุป : </strong>เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดทางอาญาโดยเฉลี่ยมีความบกพร่องของทักษะการคิดเชิงบริหารด้านการยั้งคิดและการวางแผน ควรมีการพัฒนาโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กและเยาวชนที่เข้ารับการฝึกอบรมแบบควบคุมตัว</p> จารุนันท์ ชัยทอง ธนยศ สุมาลย์โรจน์ ฑิฆัมพร หอสิริ ณัชพล อ่วมประดิษฐ์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 32 2 153 165 ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานต่อความเข้มแข็งทางใจ ความเครียด ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ในผู้มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/268582 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อเปรียบเทียบพลังใจและปัญหาสุขภาพจิตระหว่างผู้มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตที่ได้รับบริการปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐาน (strength-based counseling: SBC) และการให้คำปรึกษาแบบปฐมพยาบาลทางใจ (psychological first aid: PFA)</p> <p><strong>วิธีการ : </strong>ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแบบบันทึกการให้คำปรึกษาผู้มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเป็นการดำเนินงานในระบบบริการปกติในเขตสุขภาพที่ 9 ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป ความเข้มแข็งทางใจ ความเครียด ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงฆ่าตัวตาย เปรียบเทียบคะแนนพลังใจและปัญหาสุขภาพจิตระหว่างก่อนและหลังได้รับคำปรึกษาโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มที่ได้รับ SBC และ PFA โดยใช้สถิติ independent t-test และเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนและหลังได้รับคำปรึกษาระหว่างกลุ่ม SBC และ PFA โดยใช้สถิติ independent t-test</p> <p><strong>ผล : </strong>กลุ่มที่ได้รับ SBC 141 คน อายุเฉลี่ย 41.1 ปี (SD = 16.3) กลุ่มที่ได้รับ PFA 47 คน อายุเฉลี่ย 22.1 ปี (SD = 5.8) หลังได้รับคำปรึกษากลุ่ม SBC มีคะแนนพลังใจสูงกว่าก่อนได้รับคำปรึกษาและมีคะแนนภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงฆ่าตัวตายต่ำกว่าก่อนได้รับคำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่ม SBC มีผลต่างของคะแนนพลังใจ ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงฆ่าตัวตายมากกว่ากลุ่ม PFA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลต่างคะแนนภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟและความเครียดไม่แตกต่างกัน</p> <p><strong>สรุป : </strong>การให้ SBC มีแนวโน้มได้ผลดีกับกลุ่มเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต โดยส่งผลให้พลังใจเพิ่มขึ้นและระดับปัญหาสุขภาพจิตลดลง โดยมีแนวโน้มเพิ่มพลังใจ ลดภาวะซึมเศร้า และลดความเสี่ยงฆ่าตัวตายมากกว่าการให้ PFA</p> เทอดศักดิ์ เดชคง ศรัณยพิชญ์ อักษร พาสนา คุณาธิวัฒน์ ชิดชนก โอภาสวัฒนา ขวัญเรือน อัศดรศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 32 2 166 175