TY - JOUR AU - วราอัศวปติ, โกศล AU - ลำใย, วรท AU - โพธิ์โน, กิตต์กวี AU - ตันติรังสี, นพพร AU - จันทะโม, ปราณี PY - 2022/06/06 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของการบำบัด start over and survive (SOS) ต่อการลดการเสพซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตที่มีปัญหาการใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีน JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 30 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/253216 SP - 87-99 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อทดสอบผลของการบำบัด start over and survive (SOS) ต่อการลดการเสพซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตที่มีปัญหาการใช้เมทแอมเฟตามีน</p><p><strong>วิธีการ :</strong> เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ประเมินผลก่อนบำบัดและหลังบำบัดครบ 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตระยะแรกจำนวน 44 คนที่มีปัญหาการใช้เมทแอมเฟตามีนและเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในระหว่างเดือนสิงหาคม 2562 - สิงหาคม 2563 กลุ่มทดลอง 23 คนได้รับการบำบัด SOS ประกอบด้วยการบำบัดรายบุคคลสำหรับผู้ป่วยใน 5 ครั้ง การพบปะญาติผู้ป่วย 1 ครั้ง การบำบัดติดตามผู้ป่วย 4 ครั้ง และการติดตามญาติ 2 ครั้ง กลุ่มควบคุม 21 คน ได้รับการบำบัดยาเสพติดตามปกติ ประเมินการเสพซ้ำโดยวัดปริมาณเมทแอมเฟตามีนในเส้นผมด้วยวิธี gas chromatography-mass spectrometry ก่อนเข้าบำบัดและหลังจากบำบัดครบ 3 เดือน</p><p><strong>ผล :</strong> กลุ่มทดลองมีการลดการเสพซ้ำใน 3 เดือน (ร้อยละ 91.3) มากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 9.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ<sup>2</sup> = 29.427, p &lt; .001) กลุ่มทดลองมีการลดลงของปริมาณเมทแอมเฟตามีนในเส้นผมใน 3 เดือน (-16.7ng/mg , SD = 15.2) มากกว่ากลุ่มควบคุม (16.0 ng/mg, SD = 15.1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -7.154, p &lt; .001)</p><p><strong>สรุป :</strong> การบำบัด SOS สามารถลดการเสพซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตระยะแรกที่มีปัญหาการเสพติดเมทแอมเฟตามีน โดยควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อขยายผลในการประยุกต์ใช้ในบริบทอื่น ๆ</p> ER -