TY - JOUR AU - ไล้สุวรรณชาติ, ปัญจรัตน์ AU - สุธีประเสริฐ, ธานินทร์ AU - บุญศิริลักษณ์, สุภาพร PY - 2022/06/06 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัจจัยทำนายการกลั่นแกล้งและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนในภาคกลางของประเทศไทย JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 30 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/252315 SP - 100-13 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการกลั่นแกล้งและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนในภาคกลางของประเทศไทย</p><p><strong>วิธีการ :</strong> เป็นการศึกษาภาคตัดขวางในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 418 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ด้วยแบบสอบถามด้วยตนเองออนไลน์ ประกอบด้วย แบบประเมินภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมก้าวร้าว สัมพันธภาพ ความภาคภูมิใจ และการการกลั่นแกล้งและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี</p><p><strong>ผล :</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย เพศหญิง และเพศทางเลือก ร้อยละ 31.1, 51.9 และ 17.0 ตามลำดับ อายุเฉลี่ย 14.9 ปี มีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งผู้อื่นและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ร้อยละ 51.2 และ 71.8 ตามลำดับ พบความชุกในเพศทางเลือกมากที่สุด ร้อยละ 57.7 และ 80.3 ตามลำดับ ปัจจัยที่ทำนายพฤติกรรมการกลั่นแกล้งผู้อื่นทางไซเบอร์ ได้แก่ ระยะเวลาที่เข้าถึงไซเบอร์มากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน สัมพันธภาพในครอบครัวระดับน้อยและระดับปานกลาง และภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ปัจจัยทำนายการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ได้แก่ ภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยและระดับปานกลาง</p><p><strong>สรุป :</strong> แนวทางเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนควรเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว และการดูแลภาวะซึมเศร้าของนักเรียน</p> ER -