TY - JOUR AU - ศักดิ์ทอง, พรรณทิพา AU - ระลึกฤาเดช, รวิกานต์ PY - 2021/09/10 Y2 - 2024/03/29 TI - คุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาในผู้ป่วยนอกโรคซึมเศร้าชาวไทย JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 29 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/247579 SP - 239-48 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยา และหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยากับตัวแปรด้านประชากรและด้านคลินิกของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า</p><p><strong>วิธีการ </strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยนอกโรคซึมเศร้าที่โรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 138 คน ได้รับการเลือกแบบเจาะจง ระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2562 ประเมินคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาด้วยเครื่องมือ &nbsp;Patient-Reported Outcomes Measure of Pharmaceutical Therapy (PROMPT) ประกอบด้วย 16 ข้อ 8 มิติ ได้แก่ การได้รับข้อมูลยาและโรค ความพึงพอใจต่อประสิทธิผลของยา ผลกระทบของการใช้ยาและอาการข้างเคียง ผลกระทบทางจิตใจของการใช้ยา ความสะดวกของการใช้ยา การมียาให้ใช้และการเข้าถึงการใช้ยา ความสัมพันธ์ทางการรักษา และคุณภาพชีวิตการใช้ยาโดยรวม วิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุตัวแปรเพื่อหาปัจจัยที่ทำนายคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยา</p><p><strong>ผล </strong><strong>: </strong>ค่าเฉลี่ยคะแนนมิติของคุณภาพชีวิตการใช้ยาอยู่ระหว่าง 58 - 80 คะแนน (ระดับปานกลางถึงดีเลิศ) มิติที่ได้คะแนนต่ำสุดและสูงสุด ได้แก่ การได้รับข้อมูลยาและโรค และการมียาให้ใช้และการเข้าถึงการใช้ยา ตามลำดับ ผู้ป่วยอายุน้อย เพศหญิง มีระดับการศึกษาต่ำ มีภาระทางการเงิน ใช้ยาจำนวนมาก มีอาการข้างเคียงจากยา และมีการควบคุมโรคที่ไม่ดี สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการใช้ยาที่ไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p><p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ข้อมูลยาและโรคแก่ผู้ป่วย และให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยา เช่น ภาระทางการเงิน จำนวนยาที่ใช้ต่อวัน อาการข้างเคียงจากยา และการควบคุมโรคของผู้ป่วย</p> ER -