TY - JOUR AU - อรุโณทอง, วชิราภรณ์ PY - 2021/09/10 Y2 - 2024/03/29 TI - ความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในวัยเด็กของมารดาและวิธีการในการเลี้ยงดูลูก JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 29 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/247567 SP - 215-28 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> :</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์รุนแรงในวัยเด็ก (adverse childhood experiences; ACEs) ของมารดากับทักษะในการเลี้ยงลูก รวมถึงปัจจัยป้องกันและปัจจัยเสี่ยงของการเลี้ยงดูลูกด้วยความรุนแรงในมารดาที่มี ACEs</p><p><strong>วิธีการ </strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษาแบบ cross sectional study ในมารดาที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ตอบแบบสอบถามด้วยตนเองจำนวน 4 ฉบับ คือ ข้อมูลพื้นฐาน เหตุการณ์รุนแรงในวัยเด็ก การจัดการพฤติกรรมเด็ก และการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก</p><p><strong>ผล</strong><strong> :</strong> จากมารดาจำนวน 519 คนที่ตอบแบบสอบถาม มี 150 คนมีประวัติ ACEs มารดาที่มีประวัติ ACEs มีปัญหาชีวิตสมรสมากกว่าและความเพียงพอของรายได้ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p = .001) หลังจากควบคุมปัจจัยการศึกษา รายได้ และความเพียงพอของรายได้ พบว่า มารดาที่มี ACEs มีสัมพันธภาพที่ดีกับสามีต่ำกว่า (AOR = 0.4) มีปากเสียงกับสามี (AOR = 2.04) ลงไม้ลงมือกับสามี (AOR = 2.57) สามีดื่มสุรา (AOR = 1.47) และใช้สารเสพติด (AOR = 18.8) มากกว่า มีทักษะการเลี้ยงลูกเชิงบวกต่ำกว่า (AOR = 0.55) และจัดการพฤติกรรมเด็กด้วยความรุนแรงมากกว่ากลุ่มที่ไม่มี ACEs &nbsp;(AOR = 3.74) ปัจจัยที่ลดการจัดการปัญหาพฤติกรรมเด็กด้วยความรุนแรงในกลุ่มมารดาที่มี ACEs คือ การอยู่กับสามีที่จดทะเบียน และอยู่ในครอบครัวที่สามารถปรึกษาหารือกัน หรือพึ่งพากันได้</p><p><strong>สรุป</strong><strong> : </strong>เหตุการณ์รุนแรงในวัยเด็กของมารดามีความสัมพันธ์กับชีวิตสมรสและทักษะการดูแลบุตร การอยู่กับสามีที่จดทะเบียน สามารถปรึกษาหารือกัน และพึ่งพากันได้ ลดโอกาสการใช้รุนแรงในการจัดการพฤติกรรมเด็กในมารดากลุ่มนี้</p> ER -