TY - JOUR AU - สว่างศรี, วรินทิพย์ AU - หะสิตะเวช, นันทยุทธ AU - แย้มมา, ชลธิชา AU - รัตนตรัย, ณัฐปพน AU - จึงศิรกุลวิทย์, ดุษฎี PY - 2021/06/12 Y2 - 2024/03/29 TI - ความชุกของการรับรู้ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เขตกรุงเทพมหานคร JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 29 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/245881 SP - 114-124 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความเครียด และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในกรุงเทพมหานคร</p><p><strong>วิธีการ :</strong> เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลจาก “โครงการการดูแลจิตใจทางโทรศัพท์แก่ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในเขตกรุงเทพมหานคร” ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 29 พฤษภาคม 2563 จำนวน 898 คน เจ้าหน้าที่โครงการสัมภาษณ์ผู้ป่วยทางโทรศัพท์ด้วยแบบประเมินการรับรู้ความเครียด ประเมินภาวะซึมเศร้า (9Q) และแบบประเมินความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย (8Q) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ chi-square เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ</p><p><strong>ผล :</strong> ความชุกของการรับรู้ความเครียดในผู้ป่วยโรคโควิด 19 พบได้ร้อยละ 30.8 แบ่งเป็นการรับรู้ความเครียดจากปัจจัยด้านโรคโควิด 19 ด้านชุมชนและสังคม และด้านครอบครัว ร้อยละ 59.6, 38.6 และ 27.8 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ และสถานะการรักษาแบบผู้ป่วยใน ส่วนความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เท่ากับร้อยละ 16.5 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ เพศ และมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความเครียดมากกว่า 2 ด้านขึ้นไป</p><p><strong>สรุป :</strong> การรับรู้ความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ค่อนข้างสูง โดยสัมพันธ์กับเพศ นอกจากนั้นการรับรู้ความเครียดสัมพันธ์กับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ส่วนภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความเครียดมากกว่า 2 ด้านขึ้นไป อย่างไรก็ตาม หากนำไปใช้ในบริบทอื่นที่แตกต่างควรคำนึงถึงข้อจำกัดจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์</p> ER -