TY - JOUR AU - ชุนงาม, นครินทร์ PY - 2020/12/15 Y2 - 2024/03/29 TI - สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 28 IS - 4 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/243050 SP - 348-359 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาระดับสุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา หาความสัมพันธ์ของสุขภาพจิตกับภาวะหมดไฟในการทำงาน และปัจจัยทำนายภาวะหมดไฟในการทำงาน</p><p><strong>วิธีการ:</strong> ประชากรแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา สุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 185 คน ส่งแบบสอบทางไปรษณีย์ ประกอบด้วยแบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต (TMHI-55) และแบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข วิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้สถิติถดถอยพหุแบบ stepwise เพื่อหาปัจจัยทำนาย</p><p><strong>ผล:</strong> อัตราการตอบกลับร้อยละ 60.5 กลุ่มตัวอย่างเพศชาย ร้อยละ 51.8 อายุเฉลี่ย 29.24 ปี คะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ยอยู่ในระดับเท่ากับคนทั่วไปทั้งภาพรวมและแต่ละด้าน ภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ในระดับสูงร้อยละ 43.7 การลดความเป็นบุคคลในระดับสูงร้อยละ 45.5 และความสำเร็จส่วนบุคคลในระดับสูงร้อยละ 100 สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานในเชิงลบ โดยสุขภาพจิต การเป็นแพทย์เฉพาะทาง และความพึงพอใจในการทำงานสามารถทำนายภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ และการลดความเป็นบุคคลได้ร้อยละ 50.5 และ 45.5 ตามลำดับ ในขณะที่สุขภาพจิต เพศหญิง และชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ทำนายภาวะหมดไฟด้านความสำเร็จส่วนบุคคลได้ร้อยละ 45.5</p><p><strong>สรุป:</strong> แพทย์ส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟในการทำงานแต่ละด้านในระดับสูง ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องสามารถทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ได้ การพัฒนาแนวทางการป้องกันและการดูแลช่วยเหลือภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ควรเป็นหนึ่งในความสำคัญของการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข</p> ER -