TY - JOUR AU - กัลยาศิริ, รัศมน AU - ศรีสุขล้อม, สกล PY - 2020/12/15 Y2 - 2024/03/29 TI - แคนนาบิสกับโรคจิตเวช : ปัจจัยเสี่ยงและประโยชน์ทางการแพทย์ JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 28 IS - 4 SE - บทความปริทัศน์ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/240771 SP - 360-374 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคจิตเวชที่สัมพันธ์กับการใช้แคนนาบิสและประโยชน์ทางการแพทย์</p><p><strong>วิธีการ:</strong> คัดเลือกเอกสารทางวิชาการย้อนหลังไป 30 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ที่เกี่ยวกับผลจากกัญชาต่อโรคจิตเวช โดยใช้คำสืบค้น คือ cannabis, marijuana, psychosis, psychiatric disorders, risk factors และ protective factors จากฐานข้อมูล PubMed, ScienceDirect และ SpringerLink คัดเลือกบทความที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและโรคจิตเวชที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันและมีความหลากหลายทางบริบท จากชื่อบทความ บทคัดย่อ และเนื้อความ รวมทั้งเนื้อหาทางชีววิทยา ชีวเคมี ระบาดวิทยา การแพทย์ และกฎหมาย</p><p><strong>ผล:</strong> สืบค้นได้ 1,940 บทความ คัดเลือกมาวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 77 บทความ ผลพบว่าแคนนาบิสเป็นพืชที่มีสาร Δ-9-THC และสาร CBD เป็นสารหลัก โดยสาร Δ-9-THC เป็นสารที่ก่อให้เกิดความมึนเมา และสาร CBD อาจช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากสาร Δ-9-THC ได้ ทั้งนี้การใช้กัญชาอย่างต่อเนื่อง การใช้ในปริมาณมาก การเริ่มใช้ตั้งแต่อายุยังน้อย และระดับความรุนแรงของการใช้กัญชา อาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ และโรคจิตจากการใช้กัญชา ในทางกลับกัน สาร CBD อาจสามารถนำมาป้องกันและรักษาโรควิตกกังวลและโรคจิตได้ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องศึกษาถึงความคุ้มค่า และเทียบเคียงประสิทธิผลกับยารักษาที่มีอยู่</p><p><strong>สรุป:</strong> ความสัมพันธ์ของกัญชากับโรคจิตเวชนั้น ยังต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอีกมากในอนาคต ทั้งความเสี่ยงในการเกิดโรคจิตเวชและโอกาสการนำไปใช้สำหรับโรคจิตเวช</p> ER -