TY - JOUR AU - ศรีโกไสย, สุนทรี AU - หมื่นชัย, พัชรี AU - คําฟู, ชฎาพร AU - ทวีวัฒนปรีชา, ศิริวรรณ AU - สายพานิชย์, รัตนา PY - 2023/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - ความตรงและความเชื่อถือได้ของดัชนีชี้วัดความเครียดผู้ปกครองของเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 12 ปี JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 28 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/238958 SP - 56-71 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: ตรวจสอบความตรงและความเชื่อถือได้ของดัชนีชี้วัดความเครียดผู้ปกครองฉบับภาษาไทย</p><p><strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> พัฒนาเครื่องมือฉบับภาษาไทย โดยใช้ข้อคำถามจาก Parenting Stress Index-Fourth Edition-Short form (PSI-4-SF) ต้นฉบับภาษาอังกฤษที่มี 36 ข้อ ขั้นตอนแรก แปลเครื่องมือและประเมินความเข้าใจในความหมายและความเหมาะสมของภาษา ขั้นตอนที่สอง ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ในกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองเด็กพิเศษและผู้ปกครองเด็กปกติ 510 คน ตรวจสอบคุณภาพของข้อคำถาม ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค</p><p><strong>ผล</strong>: ข้อคำถามในดัชนีชี้วัดความเครียดของผู้ปกครองมีอำนาจจำแนกดี 36 ข้อ ข้อคำถามที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมทั้งฉบับ r≥0.3 มี 33 ข้อ และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยเข้าใกล้จุดกลางของช่วงคะแนน 5 คะแนน มี 33 ข้อ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟ่าของครอนบาคมีค่า 0.88 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจมี 6 องค์ประกอบ ที่มีค่าไอเกนมากกว่า 1 ได้แก่ ผู้ปกครองมีแนวโน้มของโรคซึมเศร้า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก พฤติกรรมของเด็ก การแสดงอารมณ์ของเด็ก ความคาดหวังของผู้ปกครอง และทัศนคติของการเป็นพ่อแม่ น้ำหนักองค์ประกอบมีค่า 0.40-0.75 ร้อยละของความแปรปรวนที่สามารถอธิบายได้เท่ากับ 49.3 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลที่ใช้พิสูจน์คือ parental distress (PD), parent-child dysfunctional interaction (P-CDI) และ difficult child (DC) ตามต้นฉบับ พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p><p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ดัชนีชี้วัดความเครียดของผู้ปกครองมีความตรงเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับทฤษฎี และมีความเชื่อถือได้ในระดับสูง จึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือวัดความเครียดของผู้ปกครอง และประเมินผลลัพธ์การปฏิบัติเพื่อจัดการความเครียดของผู้ปกครอง</p><p>หมายเหตุ :<br />1) ผู้แต่งมีการแจ้งแก้ไขเฉพาะส่วนของภาคผนวก เนื่องจากข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์การเผยแพร่เครื่องมือ full scale (22-09-21) <br />2) ผู้แต่งมีการแจ้งแก้ไขส่วนผล ในหน้า 63 เนื่องจากข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์การเผยแพร่ (22-12-28)<br />3) ผู้แต่งมีการแจ้งแก้ไขรายละเอียดขออนุญาตแปลเครื่องมือจากเจ้าของลิขสิทธิ์ส่วนบุคคล และลิขสิทธิ์ของบริษัท ในหน้า 60 และ 67 (23-08-31)</p> ER -