TY - JOUR AU - กลิ่นพิบูลย์, อัครเดช AU - ยอดกลาง, อรพิน AU - คณะไชย, วิภาดา AU - คําชมภู, จารุนันท์ AU - บุปผาเฮ้า, สาคร PY - 2020/02/05 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาโปรแกรมบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 28 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/225805 SP - 86-98 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลโปรแกรมบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย (problem-solving therapy program for psychiatric patients with suicidal ideations and behaviors: PST-PPS)</p><p><strong>วิธีการ</strong><strong>: </strong>ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะพัฒนาโปรแกรม และระยะทดสอบประสิทธิผลโปรแกรมในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตายแบบกลุ่มเดียวจำนวน 34 คน วัดผลก่อนและหลังทดลองทันทีและติดตามผล 1 และ 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ต้นแบบโปรแกรม PST-PPS แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหา แบบประเมินระดับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated measure ANOVA)</p><p><strong>ผล</strong>: โปรแกรม PST-PSS เป็นการบำบัดรายบุคคล มีเป้าหมายหลักเพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาและลดความคิดและพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย พบว่าสามารถเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา และลดความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตายหลังสิ้นสุดการบำบัด และหลังติดตาม 1 และ 3 เดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาสูงขึ้นกว่าก่อนบำบัดจาก 52.91 (95% CI=51.63-54.19)&nbsp; เป็น 60.88 (95% CI=60.26-61.50), 62.29 (95% CI=61.54-63.04) และ 62.58 (95% CI=61.84-63.32) ตามลำดับ และคะแนนเฉลี่ยระดับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายลดลงกว่าก่อนบำบัดจาก 19.11 (95% CI=15.51-22.72) เป็น 4.88 (95% CI=2.37-7.39), 2.55 (95% CI=1.71-3.40) และ 2.44 (95% CI=1.59-3.29) ตามลำดับ</p><p><strong>สรุป</strong>: โปรแกรม PST-PPS เหมาะสมในการใช้บำบัดผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย สามารถเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาและลดความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตายได้และคงทนอยู่ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับการจัดบริการจิตเวชแบบผู้ป่วยนอก</p> ER -