TY - JOUR AU - Tanaree, Athip AU - Assanangkornchai, Sawitree AU - Nontarak, Jiraluck PY - 2018/01/31 Y2 - 2024/03/29 TI - ตัววัดทางระบาดวิทยาเพื่อคำนวณภาระโรคความผิดปกติของพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติดในประเทศไทย JF - วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย JA - J Ment Health Thai VL - 26 IS - 1 SE - บทความปริทัศน์ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/142983 SP - 34-49 AB - <p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วัตถุประสงค์</strong> เพื่อหาตัววัดทางระบาดวิทยาที่เหมาะสมในการคำนวณภาระโรคความผิดปกติของพฤติกรรมดื่มสุรา (alcohol use disorders; AUD) และใช้สารเสพติด (drug use disorders; DUD)</p><p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วัสดุและวิธีการ</strong> ทบทวนวรรณกรรมจากฐานข้อมูล MEDLINE และ Google Scholar ที่ตีพิมพ์หลังปี ค.ศ. 1997 จากนั้นคัดกรองเรื่องจากการอ่านชื่อเรื่องและบทคัดย่อ สืบค้นหางานวิจัยฉบับเต็มของเรื่องที่เกี่ยวข้องและสังเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา</p><p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผล</strong> AUD และ DUD มีความชุกหนึ่งปีของโรคอยู่ในช่วงร้อยละ 0.2-4.6 และ 0.0-2.0 ระดับความรุนแรงของโรคส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับปานกลาง และรุนแรงมาก อายุที่เริ่มเกิดโรคอยู่ในช่วง 14.0-30.5 ปี และ 15.0-24.7 ปี ระยะเวลาที่มีภาวะบกพร่องทางสุขภาพอยู่ในช่วง 1.8-3.7 ปี และ 1.6-4.3 ปี และอัตราการหายรายปีร้อยละ 34-89 และ 5-45 ตามลำดับ ผู้ป่วย AUD มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ของการเสียชีวิต 1.8-4.6 เท่าของผู้ที่ไม่ได้เป็นโรค ส่วนผู้ป่วย DUD มีอัตราการเสียชีวิต 3.2-18.6 เท่าของประชากรทั่วไป</p><p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สรุป </strong>ตัววัดทางระบาดวิทยาเพื่อคำนวณภาระโรคความผิดปกติของพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติดชนิดที่มีการศึกษาในประเทศไทยที่เชื่อถือได้และมีระเบียบวิธีการวิจัยเป็นมาตรฐานโลก ได้แก่ ความชุกและอายุที่เริ่มเกิดโรค ส่วนตัววัดทางระบาดวิทยาอื่นๆ ได้แก่ สัดส่วนความรุนแรง ระยะเวลา อัตราการหาย และความเสี่ยงสัมพัทธ์ของการเสียชีวิต ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในประเทศไทยให้มากที่สุด</p> ER -