@article{วิชัยดิษฐ_ประเสริฐชัย_เหล่ารักษาวงษ์_2022, place={Bangkok, Thailand}, title={ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดชุมพร}, volume={30}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/255948}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>:</strong> เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> การสำรวจภาคตัดขวางในบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดชุมพร จำนวน 335 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินความยืดหยุ่นทางจิตใจ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงาน และแบบสอบถามภาวะหมดไฟในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, simple logistic regression และ multiple logistic regression</p> <p><strong>ผล :</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 85.4 อายุเฉลี่ย 37.7 ปี มีภาวะหมดไฟในการทำงานร้อยละ 12.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟได้แก่ อายุ ชั่วโมงการทำงาน ความยืดหยุ่นทางจิตใจ คุณภาพชีวิตการทำงานด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านโอกาสในการพัฒนาและการใช้ความสามารถของบุคคล และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว โดยผู้ที่ทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเพิ่มขึ้น 4.4 เท่า (95% CI = 2.21 - 8.79) เมื่อเทียบกับผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผู้ที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจด้านกำลังใจต่ำกว่าเกณฑ์มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเพิ่มขึ้น 3.1 เท่า (95% CI = 1.12 - 8.64) และผู้ที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจด้านการจัดการกับปัญหาต่ำกว่าเกณฑ์มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเพิ่มขึ้น 2.9 เท่า (95% CI = 1.06 - 8.13)</p> <p><strong>สรุป :</strong> บุคลากรทางการแพทย์ควรได้รับการจัดสรรชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจ และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงาน ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานควรได้รับการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพจิต เพื่อให้สามารถทำงานและเผชิญความเครียดได้อย่างเหมาะสม</p>}, number={3}, journal={วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย}, author={วิชัยดิษฐ กชามาส and ประเสริฐชัย อารยา and เหล่ารักษาวงษ์ ปกกมล}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={211–21} }