@article{สมุทรสินธุ์_ศิลปกิจ_ชมชื่น_2022, place={Bangkok, Thailand}, title={ผลของการให้วิตามินดีในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี : การศึกษาแบบเปิด}, volume={30}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/252665}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาผลการให้วิตามินดีในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อาการหลงเหลืออยู่ ที่มีภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดีร่วมด้วย</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> ศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อายุ 18 - 60 ปี ระหว่างเดือน มิถุนายน - กันยายน 2564 ตรวจ 25-hydroxyvitamin D (total D) ก่อนและหลังรักษาด้วยวิตามินดี 2 ขนาด 20,000 ถึง 60,000 IU ต่อสัปดาห์ โดยไม่ปรับการรักษาด้วยยาอื่น ประเมินอาการซึมเศร้าก่อนและหลังการรักษา 8 สัปดาห์ด้วยแบบประเมิน Hamilton rating scale for depression (HAM-D17) และ patient health questionnaire (PHQ-9) ติดตามอาการไม่พึงประสงค์และระดับแคลเซียมหลังการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับวิตามินดีหลังการรักษาด้วยสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p><strong>ผล :</strong> ผู้ร่วมการวิจัย 49 คน เป็นหญิง 34 คน ป่วยครั้งแรกและป่วยซ้ำร้อยละ 65.3 และ 34.7 ตามลำดับ ระยะเวลาป่วยเฉลี่ย 2.94 ปี มีภาวะขาด พร่อง และวิตามินดีปกติ ร้อยละ 67.3, 24.5 และ 8.2 ตามลำดับ คะแนน PHQ-9 เฉลี่ย 7.29 HAM-D17 เฉลี่ย 10.41 หลังการรักษา 8 สัปดาห์ ผู้ป่วยคงอยู่ในการศึกษา 40 คน (ร้อยละ 81.6) มี 21 คน (ร้อยละ 52.5) อาการสงบ (HAM-D17 <7) พบคะแนนซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (PHQ-9 เฉลี่ย 1.88 และ HAM-D17 เฉลี่ย 7.85) พบภาวะขาด พร่อง และวิตามินดีปกติ ร้อยละ 32.5, 30.0 และ 37.5 ตามลำดับ ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ ระดับแคลเซียมปกติ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญ</p> <p><strong>สรุป :</strong> ร้อยละ 91.8 ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อาการหลงเหลือมีภาวะวิตามินดีต่ำกว่าปกติ หลังการรักษา 8 สัปดาห์พบว่า ร้อยละ 52.5 มีอาการซึมเศร้าสงบ ร้อยละ 37.5 มีภาวะวิตามินดีเป็นปกติ</p>}, number={1}, journal={วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย}, author={สมุทรสินธุ์ ไพฑูรย์ and ศิลปกิจ อรวรรณ and ชมชื่น รสสุคนธ์}, year={2022}, month={ม.ค.}, pages={1–12} }