@article{โอรัตนสถาพร_จำปาวัน_เคนไชยวงค์_อึ้งเจริญ_2021, place={Bangkok, Thailand}, title={ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรู้คิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดพร่องเล็กน้อย }, volume={29}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/247517}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมการรู้คิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดพร่องเล็กน้อย</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดพร่องเล็กน้อยจำนวน 66 คน  แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมการรู้คิด ซึ่งปรับมาจากกิจกรรมสุขสว่างของกรมสุขภาพจิต สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นจำนวน 6 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินระดับการรู้คิด ได้แก่ แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE–Thai 2002) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Independent Sample t-test และ Dependent Sample t-test</p> <p><strong>ผล :</strong> หลังได้รับโปรแกรมพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรู้คิด (M = 23.42 , SD = 3.56) มากกว่ากลุ่มควบคุม (M = 21.42, SD = 2.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการรู้คิดเพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (Pre M = 19.85, SD = 4.21; Post M = 23.42, SD = 3.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>สรุป :</strong> โปรแกรมการสร้างเสริมการรู้คิด สามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดพร่องเล็กน้อยมีระดับการรู้คิดโดยรวมที่สูงขึ้นได้ ควรมีการสนับสนุนให้ใช้โปรแกรมอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามผลในระยะเวลายาว</p>}, number={3}, journal={วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย}, author={โอรัตนสถาพร สุนทรี and จำปาวัน ฉัตรวรุณ and เคนไชยวงค์ สุพัตรา and อึ้งเจริญ รัชฎาภรณ์}, year={2021}, month={ก.ย.}, pages={189–200} }