@article{วิจิตราพันธ์_2021, place={Bangkok, Thailand}, title={ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่}, volume={29}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/244826}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อสำรวจความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว จำนวน 2,030 คน เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายน 2563 โดยใช้แบบสอบถามประเมินความเครียด ST5 และแบบประเมินซึมเศร้า 2Q และ 9Q วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและภาวะซึมเศร้า โดยใช้สถิติ unpaired t-test และ chi-square</p> <p><strong>ผล :</strong> ความชุกของความเครียดและภาวะซึมเศร้าของประชาชนเท่ากับร้อยละ 0.9 และ 1.5 ตามลำดับ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและภาวะซึมเศร้ากับ อายุ เพศ อาชีพ โรคประจำตัว และลักษณะการทำงานที่เสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ในขณะที่ประวัติไปในพื้นที่เสี่ยงโควิด-19 การเป็นผู้แยกสังเกตอาการ/ผู้กักกันตัว การเป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค และการมีญาติเข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค/ติดเชื้อโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่พบความสัมพันธ์กับความเครียด  </p> <p><strong>สรุป :</strong> กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงการสัมผัสเชื้อโควิด-19 โดยตรง พบว่าสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า ควรมีการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าในประชากรกลุ่มนี้และให้การดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น</p>}, number={1}, journal={วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย}, author={วิจิตราพันธ์ ธนาสิทธิ์}, year={2021}, month={มี.ค.}, pages={12–21} }