@article{ขอผล_เร่งเร็ว_สิริยาวาณิช_วงศ์สุวรรณ_2021, place={Bangkok, Thailand}, title={ความชุกของภาวะความเครียดของประชาชน (solastalgia) ต่อสภาวะหมอกควัน ของชุมชนตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง}, volume={29}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/242582}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อประเมินภาวะ solastalgia จากการวัดระดับความเครียดของประชาชนต่อภาวะหมอกควัน ในพื้นที่ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง</p> <p><strong>วิธีการ :</strong> เป็นวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความเครียด (SPST - 20) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลพระบาทจำนวน 434 คน คัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามและแบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของความเครียดกับกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยค่าสถิติไคสแควร์</p> <p><strong>ผล :</strong> กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66.4 มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์หมอกควันในระดับมากและมากที่สุด และมีความเครียดอยู่ในระดับสูงและรุนแรงร้อยละ 36.8 และระดับปานกลางร้อยละ 47.7 ทั้งนี้ระดับความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับเพศหรืออายุ แต่มีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา อาชีพ และความวิตกกังวลต่อสถานการณ์หมอกควันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าหมอกควันจากไฟป่าเกิดจากการกระทำของคนและต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ผลกระทบที่ประชาชนได้รับมากที่สุดคือ สุขภาพกาย ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ รองลงมาคือผลกระทบด้านสุขภาพจิตจากความเครียด ความหดหู่ และวิตกกังวล</p> <p><strong>สรุป :</strong> ประชาชนในตำบลพระบาท จังหวัดลำปางเกิดภาวะ solastalgia จากการเกิดหมอกควันไฟป่า ควรมีการศึกษาเชิงลึกเพิ่มเติมเพื่อให้หาแนวทางการดูแลช่วยเหลือทางจิตใจที่เหมาะสม</p>}, number={1}, journal={วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย}, author={ขอผล สุพิมล and เร่งเร็ว ปิยธรณ์ and สิริยาวาณิช ภิชญาดา and วงศ์สุวรรณ สุวรรณ}, year={2021}, month={มี.ค.}, pages={45–55} }