@article{นาคเจริญ_บุตรแสน_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={ประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูความสามารถในการต่อสู้คดีรายบุคคลต่อความสามารถในการต่อสู้คดีของผู้ป่วยนิติจิตเวช}, volume={27}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/204137}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฟื้นฟูความสามารถในการต่อสู้คดีรายบุคคลต่อความสามารถในการต่อสู้คดีของผู้ป่วยนิติจิตเวช</p> <p><strong>วิธีการ: </strong>เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi–experimental research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยนิติจิตเวชที่ถูกนำตัวส่งมารับการประเมินทางนิติจิตเวชตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 จำนวน 20 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดโดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมจำนวนเท่าๆ กันโดยวิธีจับฉลาก สำหรับกลุ่มทดลองได้รับการฟื้นฟูความสามารถในการต่อสู้คดีตามโปรแกรมจำนวน 4 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการปฏิบัติกิจกรรมตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป โปรแกรมฟื้นฟูความสามารถในการต่อสู้คดีรายบุคคลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดความสามารถในการต่อสู้คดีของ Dusky ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และแบบประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ใช้สถิติ Independent t-test และสถิติ Pair t-test</p> <p><strong>ผล:</strong> พบว่าภายหลังการทดลอง  กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการต่อสู้คดีสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)  และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการต่อสู้คดีสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) </p> <p><strong>สรุป:</strong> ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูความสามารถในการต่อสู้คดีของผู้ป่วยนิติจิตเวช โดยจัดอบรมให้ความรู้และสนับสนุนให้นำโปรแกรมฟื้นฟูความสามารถในการต่อสู้คดีรายบุคคลไปใช้ในการฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วยนิติจิตเวชให้ไปต่อสู้คดีได้เร็วยิ่งขึ้น</p>}, number={2}, journal={วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย}, author={นาคเจริญ อุทยา and บุตรแสน ภาวินี}, year={2019}, month={ก.ค.}, pages={121–132} }