@article{พึ่งพงศ์_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={ความสามารถและการพัฒนาตนเองของนักจิตวิทยาคลินิกไทย}, volume={27}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/183778}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถด้านการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความสามารถด้านการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาลักษณะการพัฒนาตนเอง และ 4) ศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของนักจิตวิทยาคลินิกไทย</p> <p><strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> ประชากรที่ศึกษาได้แก่ นักจิตวิทยาคลินิกไทยทั้งหมดที่ปฏิบัติงานอยู่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักจิตวิทยาคลินิกทั่วประเทศที่ได้รับจดหมายขอความร่วมมือเข้าร่วมวิจัยและยินยอมตอบแบบสำรวจ จำนวน 303 ราย (self selected sample) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสำรวจความสามารถและการพัฒนาตนเองของนักจิตวิทยาคลินิกไทย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อสำรวจระดับความสามารถทางคลินิก และการพัฒนาตนเองตามบทบาทวิชาชีพ โดยเครื่องมือดังกล่าวผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และความเชื่อมั่นแบบวัดความสอดคล้องภายใน (reliability: internal consistency method) ของแบบสำรวจฯ สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยพหุคูณ (multiple regressions analysis)</p> <p><strong>ผล</strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการพัฒนาตนเองแต่มีความถี่ของการพัฒนาตนเองที่จำกัด โดยร้อยละ 55.3 มีประสบการณ์การฝึกอบรมน้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง คะแนนความสามารถเฉลี่ยด้านการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก และด้านความสามารถด้านการบำบัดรักษาทางจิตวิทยาอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้คะแนนฯ มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ทางคลินิก ความถี่ในการศึกษาผลงานวิชาการและงานวิจัยต่างประเทศ และการเข้าประชุมวิชาการสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> นักจิตวิทยาคลินิกไทยควรเพิ่มโอกาสพัฒนาตนเองให้มากขึ้นทั้งในด้านทักษะ องค์ความรู้ ตลอดจนประสบการณ์ทางคลินิก</p>}, number={1}, journal={วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย}, author={พึ่งพงศ์ ส่องโสม}, year={2019}, month={เม.ย.}, pages={1–14} }